fbpx

ตัวอย่างข้อสอบตัวแทน เรื่องจรรยาบรรณ

1. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตได้ขายประกันชีวิตให้นาง ข. และ นาง ข. ตกลงทําประกันชีวิต จึงได้กรอก รายละเอียดในใบคําขอเอาประกันชีวิต พอนาย ก. กลับบ้านจึงไปตรวจความเรียบร้อยในใบคําขอนั้น ปรากฏว่า นาง ข. ลืมลงชื่อในใบคําขอเอาประกันชีวิต นาย ก. จึงตัดสินใจลงชื่อแทน เพื่อยืนใบคําขอทําประกันชีวิตใน วันรุ่งขึ้น ถามว่า นาย ก. สามารถลงชื่อแทน นาง ข.ได้หรือไม่

1. นาย ก. สามารถลงชื่อแทนนาง ข. ได้เพื่อรักษาผลประโยชน์ผู้เอา ประกันภัย
2. นาย ก. สามารถลงชื่อแทนนาง ข. ได้ เพราะผู้เอาประกันภัยตกลงทําประกันชีวิตแล้ว
3. นาย ก. ไม่สามารถลงชื่อแทนนาง ข. ได้ เพราะผิดจรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิต แต่ไม่ผิดกฎหมาย
4. นาย ก. ไม่สามารถลงชื่อแทนนาง ข. ได้ นอกจากจะผิดกฎหมาย แล้ว ยังผิดจรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิต

2. นาย ก. และ นาย ข. เป็นเพื่อนกัน และมีอาชีพเป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท หนึ่ง จํากัด วันหนึ่งนาย ก. ได้ขายประกันชีวิตให้กับ นาย ค. และก็ทราบมาว่านาย ข. ก็เสนอขายประกันชีวิตให้กับ นาย ค. ด้วย แต่แบบ ประกันชีวิตที่นาย ข. เสนอขายไม่เหมาะสมกับนาย ค. นาย ก. ควรจะปฏิบัติอย่างไร

1. เลิกความคิดที่จะขายประกันชีวิตให้กับนาย ค. เพราะมีอาชีพเดียวกัน
2. ขายประกันชีวิตให้กับนาย ค. โดยเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสม
3. ขายประกันชีวิตให้กับนาย ค. โดยเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสม และแนะนํานาย ค. ว่าควรพิจารณาเลือกแบบการประกันชีวิตตามความต้องการของตนเอง
4. เลิกความคิดที่จะขายประกันชีวิตให้กับนาย ค. เพราะความเป็นเพื่อน

3. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง มีความสามารถในการหาประกันชีวิตได้ตรง ตามเป้าหมายของบริษัทเป็นประจําและต่อเนื่องมาโดยตลอดจนได้ชื่อว่าเป็นตัวแทนดีเด่นของบริษัททุกปี แต่แล้ว เหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดก็เกิดขึ้น นาย ก. ประสบอุบัติเหตุต้องนอนรักษาตัวอยู่เกือบ 2 เดือน ทําให้ไม่ สามารถออกไปหาประกันภัยได้ ภรรยานาย ก. ซึ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิต เกรงว่าสามีจะเสียงานและไม่ประสงค์ จะให้ผู้ทําประกันภัยต้องรอนานเพราะขาดการติดต่อ จึงได้ขอรายชื่อผู้ที่สนใจจะทําประกันภัยจากสามี และได้ช่วย หาประกันภัยให้กับสามีซึ่งนอนป่วย จนกระทั่งสามีหายและออกหาประกันภัยได้ตามปกติ ท่านคิดว่าการกระทํา ของสามีและภรรยาคู่นี้เป็นอย่างไร

1. ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อนร่วมอาชีพ
2. ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันภัย และเพื่อนร่วมอาชีพ
3. ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อบริษัทประกันภัย เพื่อนร่วมอาชีพและผู้เอาประกันภัย
4. ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อบริษัทประกันภัย

4. นาย ก. เป็นผู้เอาประกันภัย ซึ่งกรมธรรม์ได้ถึงกําหนดวันชําระเบี้ยประกันภัยตามที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์แล้ว จึงได้โทรศัพท์ไปบอก นาย ข. ผู้เป็นตัวแทนประกันชีวิตซึ่งเคยมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นประจําให้มาเก็บเบี้ย ประกันภัย และนาย ข. ตกลงรับว่าจะมาเก็บเบี้ยประกันภัยในวันรุ่งขึ้น แต่ นาย ข. ไม่ได้ไปตามนัด ถามว่า นาย ข. ผิดจรรยาบรรณ หรือไม่

1. ผิด เพราะแสดงถึงการขาดความรับผิดชอบในเรื่องการบริการ
2. ไม่ผิด เพราะ นาย ข. ไม่ได้โกหก ตั้งใจไปแต่เผอิญลืม
3. ไม่ผิด เพราะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัย และไม่ขาดความรับผิดชอบเรื่องการบริการ
4. ผิด เพราะทําให้ผู้เอาประกันภัยเสียผลประโยชน์ เนื่องจากทําให้กรมธรรม์ขาดผลบังคับ

5. นางสาว ก. ได้ทําประกันชีวิตตามคําชักชวนของนาย ข. ซึ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทแห่งหนึ่งมาเป็น ระยะเวลาหนึ่ง แต่ไม่ได้รับการบริการที่ดีจากนาย ข. จึงได้ไปปรึกษากับนาย ค. ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทประกัน ชีวิตอีกแห่งหนึ่ง โดยนาย ค. ได้แนะนําให้นางสาว ก. ยกเลิกกรมธรรม์ที่ทําไว้กับบริษัทเดิมแล้วมาทําประกันชีวิต กับบริษัทใหม่ที่นาย ค. เป็นตัวแทนประกันชีวิตอยู่ และได้เสนอที่จะให้บริการที่ดี ท่านคิดว่าข้อใดถูกต้องที่สุด

1. การกระทําของนาย ค. ผิดจรรยาบรรณ
2. การกระทําของนาย ข. ผิดจรรยาบรรณ
3. การกระทําของนาย ค. ไม่ผิดจรรยาบรรณ
4. การกระทําของนาย ข. และ นาย ค. ผิดจรรยาบรรณ

6. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง มีผลงานเพิ่มขึ้นทุกปี เพราะนาย ก. มี ความสามารถอธิบายถึงประโยชน์ของการประกันชีวิต และสิทธิประโยชน์ที่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับจากการทํา ประกันชีวิตกับทั้งยังเป็นผู้ติดตามให้บริการแก่ผู้เอาประกันภัยอย่างสม่ําเสมอ เพราะนาย ก. มีหลักในการทํางาน ที่ว่า เงินคืองานบันดาลสุข การรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยเป็นหน้าที่ที่สําคัญของการเป็นตัวแทน ประกันชีวิตที่ดี นาย ก. จะกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย โดยแจ้งทางสถานพยาบาลให้ทําเอกสาร การเบิกจ่ายเงินให้เต็มที่ตามสิทธิในสัญญาประกันภัย ท่านคิดว่านาย ก.

1. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดี แต่ไม่สมควรยึดถือเป็นตัวอย่าง
2. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ไม่ดี สมควรที่จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต
3. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดี เพราะช่วยรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย
4. เป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดี สมควรยึดถือเป็นตัวอย่าง

7. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิต ได้ชักชวน นาย ข. ทําประกันชีวิต และนาย ข. ได้ระบุให้ภรรยาน้อยเป็นผู้รับ ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ นาย ก. ได้นําเรื่องนี้ไปเล่าให้พี่สาวของตน ซึ่งเป็นภรรยาหลวง นาย ข. ฟัง นาย ก. กระทําผิดจรรยาบรรณอาชีพตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่

1. ผิด เพราะ นาย ก. ไม่ซื่อสัตย์กับ นาย ข.
2. ผิด เพราะ นาย ก. นําเรื่องซึ่งได้รับรู้มาจากใบคําขอเอาประกันชีวิตของ นาย ข. ไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่น
3. ไม่ผิด เพราะ นาย ก. พูดความจริงที่พึ่งเปิดเผยกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้
4. ไม่ผิด เพราะ นาย ก. นําความลับของ นาย ข. ไปเล่าให้พี่สาวฟัง

8. นาย ก. และ นาย ข. เป็นตัวแทนประกันชีวิตบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งมีความขัดแย้งกันในเรื่องตําแหน่งงาน ต่อมา นาย ก. ได้เสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตให้กับ นางสาว ค. และ นางสาว ค. ได้บอกว่าได้ซื้อกรมธรรม์ตามคํา ชักชวนของ นาย ข. แล้ว และทราบเรื่องความขัดแย้งจาก นาย ข.และ นาย ก. กลัว นางสาว ค. จะเข้าใจผิดฟัง ความข้างเดียว จึงได้เล่าเรื่องความขัดแย้งกันให้ทราบ จากการกระทําของ นาย ก. และ นาย ข. ท่านคิดว่าการ กระทําของ นาย ก.และ นาย ข. ผิดจรรยาบรรณหรือไม่

1. นาย ก. ไม่ผิดจรรยาบรรณ เพราะเป็นการพูดความจริงให้กับ นางสาว ค. ได้เข้าใจ
2. นาย ข. ผิดจรรยาบรรณ เพราะนําความลับอันไม่ควรเปิดเผยของบริษัทมาเปิดเผยให้ นางสาว ค. ได้ทราบ
3. นาย ก. และ นาย ข. ผิดจรรยาบรรณ เพราะ นําความลับอันไม่ควรเปิดเผยมาเปิดเผยให้นางสาว ค. ได้ทราบ
4. นาย ก. และ นาย ข. ไม่ผิดจรรยาบรรณ เพราะ เป็นการนําเรื่องส่วนตัวของตนเองมาเปิดเผยให้นางสาว ค. ได้ทราบ

9. นาย ก. ได้ขอทําประกันชีวิตผ่านนาย ข. ตัวแทนประกันชีวิต แต่บริษัทประกันชีวิตไม่รับ เนื่องจากป่วยเป็นโรค ร้ายแรง นาย ข. ได้บอกเรื่องนี้ต่อบุคคลภายนอกทราบ ท่านว่านาย ข. ผิดหลักจรรยาบรรณหรือไม่

1. ไม่ผิด เพราะเป็นความจริง หากเฝ้าดูใกล้ชิดก็รู้ว่าเป็นโรคร้ายแรง
2. ผิด เพราะเปิดเผยความลับของผู้เอาประกัน
3. ไม่ผิด เพราะนาย ก. ไม่ได้เป็นผู้เอาประกันภัย
4. ผิด เพราะทําให้นาย ก. เป็นที่รังเกียจต่อผู้ใกล้ชิด

10. ข้อใดที่ตัวแทนประกันชีวิตไม่ต้องเปิดเผยข้อความจริงเกี่ยวกับผู้เอาประกันภัย บริษัทได้ทราบ

1. ประวัติเคยต้องโทษจําคุก
2. ประวัติการเจ็บป่วยของบิดามารดา
3. อาชีพและรายได้
4. การถูกปฏิเสธหรือถูกเลื่อนการรับประกันชีวิตจากบริษัทประกันชีวิตอื่น

11. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตได้ชักชวนให้นาย ข. ทําประกันชีวิต ซึ่งนาย ข. เคยเป็นตํารวจมาก่อนแต่ใน ขณะที่ทําประกันชีวิต นาย ข. มีอาชีพเปิดร้านขายเครื่องเขียน นาย ก. ก็ไม่ได้แจ้งเรื่องนี้ให้กับบริษัททราบ ทําให้ บริษัทรับประกันชีวิตนาย ข. ในอัตราเบี้ยประกันภัยมาตรฐาน การกระทําของนาย ก. ผิดจรรยาบรรณหรือไม่

1. ผิด เพราะเป็นสาระสําคัญในการพิจารณารับประกันภัย
2. ผิด เพราะการแถลงเรื่องอาชีพทําให้บริษัทเพิ่มเบี้ยประกันภัย
3. ไม่ผิด เพราะการแถลงเรื่องอาชีพจะทําให้บริษัทเพิ่มเบี้ยประกันภัย เท่านั้นไม่ถึงกับไม่รับประกันภัย
4. ไม่ผิด เพราะไม่ใช่สาระสําคัญในการพิจารณารับประกันภัย

12. ในจรรยาบรรณของตัวแทนประกันชีวิต ข้อที่ให้เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัยในส่วนที่เป็นสาระสําคัญ เพื่อการพิจารณาการรับประกันภัย หรือเพื่อความสมบูรณ์แห่งกรมธรรม์นั้น คําว่า ในส่วนที่เป็นสาระสําคัญ หมายถึง

1. ทุกเรื่องที่ตัวแทนประกันชีวิตทราบ
2. ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับผู้เอาประกันภัย
3. ทุกเรื่องที่บริษัททราบ
4. ทุกเรื่องที่มีตามในใบคําขอ

13. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตได้ชักชวนให้นาย ข. ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทที่เพิ่งได้รับมรดกมา 3 ล้านบาท ให้ทํา ประกันชีวิตโดยชําระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียว เป็นจํานวนเงิน 8 แสนบาท และให้ภรรยาและบุตรเป็นผู้รับ ผลประโยชน์จาก นาย ก. กระทําเช่นนี้ ผิดจรรยาบรรณหรือไม่

1. ผิด เพราะนาย ก. แนะนําให้นาย ข. ชําระเบี้ยประกันภัยเกินความสามารถ
2. ไม่ผิด เพราะนาย ก. หวังดีกับนาย ข. ถ้าให้นาย ข. เก็บเงินไว้อาจใช้เงินหมด
3. ผิด เพราะนาย ก. แนะนําให้นาย ข. ชําระเบี้ยประกันภัยมากเกินไป ควรให้ชําระเป็นรายปีแทน
4. ไม่ผิด เพราะนาย ข. สามารถชําระเบี้ยประกันภัยได้ และยังเหลือเงินอีกมากพอสมควรไว้ใช้จ่าย

14. นาย ก. มีรายได้จํานวนเงินเดือนละ 9,000 บาท แต่นาย ข. ซึ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิตเห็นว่านาย ค. ซึ่งเป็น บิดาของนาย ก. เป็นเศรษฐีพันล้าน จึงไปพบกับนาย ค. เพื่อเสนอน้ําประกันชีวิตให้กับนาย ก. โดยมีค่าเบี้ย ประกันปีละ 100,000 บาท ซึ่งมากกว่ารายได้ทั้งปีของนาย ก. ดังนี้ นาย ข. ผิดต่อจรรยาบรรณตัวแทนหรือไม่

1. ไม่มีข้อใดถูก
2. ไม่ผิด เพราะนาย ข. เห็นว่าจะเป็นการกระตุ้นให้นาย ก. ทํางานมากขึ้น
3. ไม่ผิด เพราะนาย ก. สามารถขอเงินจากนาย ค. ได้
4. ไม่ผิด เพราะนาย ค. เป็นผู้ชําระเบี้ยประกันภัยให้

15. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตแห่งหนึ่งได้ชักชวนให้นาย ข. ซึ่งมีอาชีพรับราชการทําประกันชีวิตพร้อมทั้ง สัญญาเพิ่มเติมค่ารักษาพยาบาล โดยบอกแก่นาย ข. ว่าเมื่อเจ็บป่วยจะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลทั้งจาก บริษัทและหน่วยงานของรัฐที่นาย ข. ทํางาน นับตั้งแต่วันที่สัญญาเพิ่มเติมเริ่มมีผลบังคับ ท่านจงพิจารณาว่า นาย ก. ประพฤติผิดจรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่

1. ผิด เพราะเสนอขายนอกเหนือเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์
2. ผิด เพราะจะทําให้ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถชําระเบี้ยประกันภัยในอนาคตได้
3. ไม่ผิด เพราะเสนอแบบการประกันชีวิตที่ตรงตามความต้องการของผู้เอาประกันภัย
4. ไม่ผิด เพราะผู้เอาประกันภัยต้องศึกษาแบบการประกันชีวิตที่ต้องการด้วยตนเอง

16. นาย ช.ช้าง เป็นตัวแทนประกันชีวิต ได้ชักชวนนาย ฉ.ฉิ่ง ทําประกันชีวิต และเพื่อเป็นการจูงใจให้นาย ฉ.ฉิ่ง ทํา ประกันชีวิต รวมทั้งให้ช่วยชักชวนเพื่อนๆ ให้ทําประกันชีวิตกับตนด้วย นาย ช.ช้าง จึงได้เสนอที่จะให้สร้อยคอ ทองคํามูลค่าสองสลึงแก่นาย ฉ.ฉิ่ง เป็นประเดิมและจะให้ทองแก่นาย ฉ.ฉิ่ง เป็นของกํานัลอีก หากนาย ฉ.นิ่ง สามารถชักชวนให้เพื่อนๆ มาทําประกันชีวิตผ่านตน โดยทองที่จะได้รับจะมีมูลค่าขึ้นอยู่กับจํานวนเงินเอาประกัน ชีวิต จากการกระทําดังกล่าวของนาย ช.ช้าง ในฐานะที่ท่านเป็นตัวแทนท่านคิดว่าข้อใดเป็นคําตอบที่ถูกต้อง

1. นาย ช.ช้าง ไม่ผิดจรรยาบรรณ เพราะไม่ได้เสนอลดเบี้ยประกันภัย
2. ทั้งนาย ช.ช้าง และนาย ฉ.ฉิ่ง ผิดจรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิต
3. นาย ช.ช้าง ผิดจรรยาบรรณ เพราะการเสนอให้ทองคําเพื่อเป็นการจูงใจให้ทําประกันชีวิตถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการลดค่าบําเหน็จฯ เพื่อจูงใจให้ทําประกันชีวิต
4. นาย ช.ช้าง ไม่ผิดจรรยาบรรณ เพราะเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อจูงใจให้มีการทําประกันชีวิตกับตนมากขึ้น

17. นาย ก. ต้องการทําประกันชีวิตเพื่อเป็นหลักให้แก่บุตรจํานวน 2 คน แต่นาย ก.มีเงินไม่เพียงพอกับค่าเบี้ย ประกันภัย นาย ก.จึงขอร้องให้นาย ข.ลดเบี้ยประกันภัยให้โดย นาย ข.ไม่ได้เป็นผู้ร้องขอ ดังนี้หากท่านเป็นนาย ข.ท่านจะทําอย่างไร

1. ข้าพเจ้าจะให้นาย ก.หาเงินค่าเบี้ยประกันภัยมาให้ครบ
2. ข้าพเจ้าจะรับทําประกันภัยโดยลดค่าบําเหน็จให้
3. ข้าพเจ้าจะให้นาย ข.ทําหนังสือยืนยันว่าข้าพเจ้ามิได้เป็นผู้ชักจูงให้ทําประกันภัยโดยลดค่าบําเหน็จให้แล้วจึงจะทําประกันภัยให้
4. ข้าพเจ้าจะไม่ทําประกันภัยให้เพราะเป็นการผิดจรรยาบรรณ

18. นาย ก. ได้กู้เงินจํานวนหนึ่งจากนาย ข. ต่อมานาย ข. ซึ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง เห็นว่า นาย ก. เป็นคนขยันขันแข็ง มีมานะอดทนในการประกอบอาชีพ เกิดความรู้สึกชอบในนิสัยดังกล่าว จึงไม่ คิดดอกเบี้ยเงินกู้จาก นาย ก. และได้แนะนําให้ นาย ก. นําดอกเบี้ยเงินกู้ที่ไม่ต้องจ่ายให้ตนนั้นไปซื้อการประกัน ชีวิตกับบริษัทที่ตนเป็นตัวแทนอยู่ ท่านคิดว่า นาย ข. ทําผิดจรรยาบรรณหรือไม่

1. ไม่ผิด เพราะไม่ลดค่าบําเหน็จเพื่อจูงใจให้ทําประกันชีวิต
2. ผิด เพราะ นาย ข. นําเงินไปชําระเบี้ยประกันภัยแทน นาย ก.
3. ผิด เพราะอาจทําให้กรมธรรม์ขาดผลบังคับ ถ้าหากผู้เอาประกันภัยไม่ชําระเบี้ยประกันภัย
4. ผิด เนื่องจากเป็นการเสนอลดค่าบําเหน็จ เพื่อจูงใจให้ทําประกันชีวิต

19. นางสาว ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทแห่งหนึ่ง ได้ชักชวนนาย ข. ทําประกันชีวิต นาย ข. ได้ตกลงทําประกัน ชีวิต และเขียนใบคําขอเอาประกันชีวิตด้วยความเป็นจริง และลงชื่อในใบคําขอฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในวันรุ่งขึ้นนางสาว ก. ได้เข้าบริษัทเพื่อนําใบคําขอฯ และเบี้ยประกันภัยงวดแรกของนาย ข. มาส่ง ปรากฏว่า บริษัทได้ออกแบบการประกัน ชีวิตแบบใหม่ซึ่งน่าสนใจกว่า นางสาว ก. จึงกลับไปหานาย ข. ใหม่และแนะนําให้นาย ข. เปลี่ยนแบบการประกันชีวิตเป็น แบบใหม่ การกระทําดังนี้ ถือว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณและศีลธรรมหรือไม่

1. ไม่ผิด เพราะกรมธรรม์ของนาย ข. ยังไม่ออก จึงยังถือว่าไม่เป็นการยกเลิกกรมธรรม์เก่าเพื่อซื้อกรมธรรม์ใหม่
2. ไม่ผิด เพราะเป็นการยกเลิกกรมธรรม์เก่าเพื่อซื้อใหม่แต่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้เสียผลประโยชน์
3. ผิด เพราะเป็นการยกเลิกกรมธรรม์เก่าเพื่อซื้อใหม่
4. ผิด เพราะจุดประสงค์ของนาย ข. ต้องการซื้อกรมธรรม์แบบเดิม

20. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท หนึ่ง จํากัด ต่อมานาย ข. ได้ชักชวนให้ย้ายบริษัทประกันชีวิตมาเป็น ตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท สอง จํากัด และ นาย ก. ได้แนะนําผู้เอาประกันภัยของบริษัท หนึ่ง จํากัด ให้ ยกเลิกกรมธรรม์เดิม เพื่อทําสัญญาประกันชีวิตใหม่กับบริษัท สอง จํากัด จงพิจารณาข้อความข้างล่างนี้ ข้อใด ถูกต้อง

1. นาย ก. กระทําเช่นนี้ถูกต้อง เพราะเป็นการช่วยให้บริษัท สอง จํากัด ขยายธุรกิจได้ดีขึ้น
2. การกระทําของนาย ก. เช่นนี้ไม่ถูกต้อง เพราะผิดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรง
3. ถูกทั้งข้อ ก. และ ค.
4. การกระทําของนาย ก. เช่นนี้ไม่ถูกต้อง เพราะทําให้ผู้เอาประกันภัยของบริษัท หนึ่ง จํากัด เสียผลประโยชน์

21. นายสมชาย ได้ทําประกันชีวิตไว้กับ บริษัท ก. จํากัด ต่อมานายสมชาย ได้สนิทสนมกับนางสาวสมศรีซึ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิต ของบริษัท ส. จํากัด เพื่อจะเอาอกเอาใจนางสาวสมศรี ซึ่งนายสมชาย ทราบจากการบอกเล่าของนางสาวสมศรี ว่าเดิมเคยเป็น ตัวแทนฯ ของบริษัท ก. แต่ได้ย้ายมาอยู่บริษัท ส. เพราะบริษัท ก. มีระบบการบริหารงานไม่ดี นายสมชายจึงบอกนางสาวสมศรี ว่า จะเลิกกรมธรรม์เดิมและทําใหม่กับบริษัทที่นางสาวสมศรีเป็นตัวแทนฯ ซึ่งนางสาวสมศรี ก็รับไปดําเนินการให้ด้วยความยินดีเพราะ ตนเองก็กําลังต้องการเป้าหมายยอดขายจากการกระทําดังกล่าวข้างต้น ท่านคิดว่าข้อใดเป็นการสรุปที่ถูกต้องที่สุด

1. นางสาวสมศรี ผิดจรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิต เพราะไม่ได้อธิบายให้ผู้ทําประกันชีวิตเข้าใจว่าจะเสียประโยชน์หากละทิ้งกรมธรรม์เดิม
2. นางสาวสมศรี ผิดจรรยาบรรณฯ เพราะกล่าวร้ายทับถมบริษัทประกันภัยอื่น
3. นางสาวสมศรี ผิดจรรยาบรรณฯ เพราะกล่าวร้ายทับถมบริษัทประกันภัยอื่น และรวมทั้งไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ของการเป็นตัวแทนประกันชีวิตที่ดีที่มีจรรยาบรรณในวิชาชีพที่จะต้องให้คําแนะนําที่ถูกต้องให้ผู้เอาประกันภัยอย่าละทิ้งกรมธรรม์เดิมอันจะทําให้ต้องเสียประโยชน์ในการทําประกันชีวิต
4. นางสาวสมศรี ไม่ผิดจรรยาบรรณตัวแทนฯ เพราะไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มชักชวนให้นายสมชายเลิกกรมธรรม์เดิมเป็นความต้องการของนายสมชายเอง

22. ปัจจุบันข้อมูลข่าวสารของธุรกิจประกันชีวิตมีปริมาณมากและทันกับสถานการณ์มากกว่าในอดีตมาก ทุกคน สามารถรับรู้ถึงสภาพธุรกิจของบริษัทประกันชีวิตได้จากสื่อ ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ต ตัวแทนประกันชีวิตได้ใช้ข้อมูลข่าวสารนี้มาเป็นปัจจัยในการหาประกันภัย ด้วยการเปรียบเทียบฐานะการเงิน รายได้ กับบริษัทอื่น โดยให้ลูกค้า สําคัญผิดในฐานะการเงินของบริษัทอื่น ท่านเห็นว่าการใช้ข้อมูลข่าวสาร ดังกล่าวของตัวแทนประกันชีวิต ถูกต้องหรือไม่อย่างไร

1. ถูกต้อง เพราะข้อมูลข่าวสารเหล่านี้เป็นข้อมูลเปิดเผยใครๆ ก็สามารถนําไปใช้ได้
2. ถูกต้อง เพราะเป็นความสามารถของตัวแทนประกันชีวิตที่รู้จักใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์
3. ผิดทุกข้อ
4. ถูกต้อง เพราะในการแข่งขันจําเป็นต้องให้ข้อมูลข่าวสารแก่ลูกค้าเพื่อการตัดสินใจ

23. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท หนึ่ง จํากัด นาย ก. ได้ชักชวนให้ นาย ข. ทําประกันชีวิตกับตน โดย บอกว่า บริษัท หนึ่ง จํากัด นั้นมีฐานะการเงินที่มั่นคง มีทรัพย์สินมากกว่าบริษัทประกันภัยอื่นๆ และเมื่อ เปรียบเทียบกับบริษัทประกันชีวิตทั้งระบบแล้ว บริษัท หนึ่ง จํากัด มีโอกาสที่จะล้มละลายน้อยที่สุด ซึ่งก็คือเป็น บริษัทที่ดีที่สุดนั่นเอง การกระทําเช่นนี้ เป็นการผิดจรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่

1. ผิด เพราะเอาความลับของบริษัทมาเปิดเผย
2. ไม่ผิด เพราะคนเราทุกคนมีสิทธิพูดภายในกรอบของกฎหมาย
3. ไม่ผิด เพราะไม่ได้กล่าวในเชิงทับถมบริษัทประกันชีวิตอื่น
4. ผิด เพราะเป็นการกล่าวในเชิงทับถมบริษัทประกันชีวิตอื่น

24. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท หนึ่ง จํากัดได้ไปขายประกันชีวิตให้กับนางสาว ข. ปรากฏว่านางสาว ข. เล่า ให้ฟังว่า นาย ค. ซึ่งเป็นตัวแทนฯ ของบริษัท สอง จํากัด ได้มาติดต่อขายประกันชีวิตให้กับตนและบอกว่า นาย ก. ไม่น่า ไว้วางใจ ชอบนําเบี้ยประกันชีวิตไปใช้โดยไม่นําส่งบริษัท นาย ก. ควรจะทําอย่างไร

1. ถ้าไม่ได้เป็นเช่นนั้นจริง ก็ไม่ควรเดือดร้อน
2. แจ้งตํารวจจับนาย ค. ข้อหาหมิ่นประมาท
3. แบบนี้ต้องนําเรื่องไม่ดีของนาย ค. เล่าให้นางสาว ข. ฟังบ้างเป็นการแก้แค้น
4. ชี้แจงเรื่องจริงแก่นางสาว ข. โดยไม่ต้องพูดพาดพิงถึงนาย ค. และให้นางสาว ข. ตัดสินใจเอง

25. นาย ก. และ นาย ข. นอกจากจะเป็นเพื่อนกันแล้ว ยังเป็นตัวแทนประกันชีวิตบริษัทเดียวกันด้วย ต่อมา นาย ก. ทราบว่า นาย ข. ได้ไปเรียนหลักสูตรเกี่ยวกับหลักการประกันชีวิตเพิ่มเติม ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับการขายประกันชีวิตเลย เมื่อพบปะกัน นาย ก. จึงได้ต่อว่า นาย ข. ที่เสียเวลาในการเรียนหลักสูตรดังกล่าว ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการเรียน 2 สัปดาห์เต็ม เพราะนอกจาก จะเสียเวลาในการทํามาหากินแล้วยังไม่ตรงกับวิชาชีพของตัวแทนประกันชีวิตที่ต้องเน้นเรื่องการขายเป็นหลัก จงพิจารณา ข้อความข้างล่างนี้ว่าข้อใดถูกต้องมากที่สุด

1. การกระทําของ นาย ข. นั้น ถูกต้อง เพราะเป็นสิทธิของนาย ข. ที่จะไปเรียนหรือทําอะไรก็ได้ตราบใดที่ไม่ทําให้ผู้เอา ประกันภัยเสียผลประโยชน์
2. การกระทําของ นาย ข. นั้น สมควร เพราะถือว่าตัวแทนประกันชีวิตที่ดีนั้น ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ในวิชาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ
3. การกระทําของ นาย ข. นั้นไม่สมควรเอาเยี่ยงอย่าง เพราะเสียเวลาในการทํามาหากิน ซึ่งขัดจรรยาบรรณและศีลธรรมของตัวแทนประกันชีวิต
4. การกระทําของ นาย ข. นั้นไม่ถูกต้อง เพราะนอกจากจะทําให้ไม่มีเวลาในการให้บริการลูกค้าแล้ว หลักสูตรที่เรียนก็ไม่ตรงกับความต้องการของตัวแทนประกันชีวิตที่เน้นเรื่องการขายเป็นหลัก

26. นาย ก. มีอาชีพเป็นตัวแทนประกันชีวิตมานานเกือบ 40 ปี เป็นผู้ที่มีความรู้ในเรื่องหลักการประกันชีวิต เทคนิคการขายและ ความรู้รอบตัวเป็นอย่างดีกับทั้งขยันเข้ารับการอบรมเป็นประจํา นาย ก. สามารถให้คําแนะนําในเรื่องการประกันชีวิต และวิธีการ ขายแก่เพื่อนตัวแทนประกันชีวิตที่มาขอคําปรึกษาได้ จนเป็นที่ชื่นชมและยกย่องในหมู่ตัวแทนประกันชีวิตด้วยกัน แต่มีอยู่เรื่อง หนึ่งที่นาย ก. มักจะหลีกเลี่ยงไม่ยอมศึกษาหรือเข้ารับการอบรม คือ เรื่องคอมพิวเตอร์เพราะนาย ก. มีเหตุผลว่าอายุมากแล้ว คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องยากและไม่มีความจําเป็นต้องใช้ ท่านคิดว่าความคิดของนาย ก. เป็นอย่างไร

1. ความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ไม่เกี่ยวกับวิชาชีพการเป็นตัวแทนประกันชีวิต
2. ผิดทุกข้อ
3. เป็นเรื่องไกลตัว สิ่งที่จําเป็นต้องรู้คือวิชาการประกันภัยและเทคนิคใหม่ ๆ เกี่ยวกับการขยายตลาด
4. เรียนแล้วไม่รู้เรื่องเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

27. นางสาวชบา เป็นตัวแทนประกันชีวิต นางสาวชบา เห็นว่าการเป็นตัวแทนขายประกันชีวิตต้องพูดเก่งด้วยจึงจะสามารถจูงใจ ลูกค้าได้ จึงได้ชักชวนนางสาวสร้อยทอง ไปสมัครเรียนที่โรงเรียนฝึกพูดแต่นางสาวสร้อยทอง ไม่สนใจโดยมองว่าไม่จําเป็นและ เสียเวลา นางสาวชบา จึงไปสมัครเรียนโดยลําพังจนได้รับประกาศนียบัตรรับรองคุณวุฒิและมีทักษะที่ดีขึ้น จงพิจารณาว่า ข้อความข้างล่างนี้ข้อใดถูกต้องที่สุด

1. นางสาวชบา ควรสนใจวิชาการประกันภัยและรายละเอียดต่าง ๆ ในกรมธรรม์มากกว่าเพื่อประโยชน์ในการอธิบายให้ผู้เอาประกันภัยเข้าใจ
2. นางสาวชบา มีความคิดถูกต้อง เพราะการเป็นตัวแทนฯ ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ตัวแทนฯจึงต้องหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ทั้งความรู้ทางวิชาการประกันชีวิตและความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. นางสาวชบา ควรเน้นเฉพาะการศึกษารายละเอียดกรมธรรม์และเทคนิคการขาย เพื่อเป็นตัวแทนขายประกันชีวิตที่มีประสิทธิภาพ
4. นางสาวสร้อยทอง ถูกต้อง เพราะตัวแทนประกันชีวิตต้องเน้นสนใจในเรื่องเทคนิคการขาย

28. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตซึ่งบริการลูกค้าของตนเองดีมาก แต่นาย ก. มีนิสัยเจ้าชู้ และมี ภรรยาหลายคน พฤติกรรมของนาย ก. นี้ผิดจรรยาบรรณและศีลธรรมของตัวแทนประกันชีวิตหรือไม่

1. ไม่ผิด เพราะเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวต้องแยกออกจากกัน
2. ผิด เพราะไม่ได้ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมประเพณีอันดีงาม
3. ผิด เพราะเมื่อมีพฤติกรรมเช่นนี้ ก็จะมีค่าใช้จ่ายมาก อาจเป็นผลก่อให้เกิดการทุจริตในเรื่องเงินได้
4. ไม่ผิด เพราะนาย ก. ยังให้บริการที่ดีแก่ลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ

29. นาย ก. เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท หนึ่ง จํากัด นาย ข. เป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัท สอง จํากัด นาย ก. และนาย ข. ได้ไปขายประกันชีวิตให้ นาง ค. เหมือนกัน นาง ค. ตกลงใจที่จะซื้อประกันชีวิตกับ นาย ข. อยู่แล้ว นาย ก. ทราบเรื่องจึงได้เสนอขายประกันชีวิตให้ นาง ค. ด้วยการให้ของแถม ถ้า นาง ค. ซื้อประกันชีวิต กับตน ถามว่าการกระทําของ นาย ก. ผิดหรือถูกจรรยาบรรณตัวแทนประกันชีวิต

1. ไม่มีข้อใดถูก
2. ถูก เพราะ เป็นความสมัครใจซื้อของ นาง ค.เอง
3. ถูก เพราะ เป็นการแข่งขันในด้านการขาย
4. ผิด เพราะนาย ก. ไม่ประพฤติตนอยู่ในคุณธรรมแห่งอาชีวปฏิญญาณ

30. การ “ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมประเพณีอันดีงาม” ถูกกําหนดให้เป็นข้อหนึ่งในจรรยาบรรณของตัวแทนประกันชีวิต ใน ข้อต่อไปนี้ท่านคิดว่าอะไรคือเหตุผลที่ถูกต้องและสําคัญที่สุดในการกําหนดจรรยาบรรณดังกล่าว

1. เพื่อให้ตัวแทนมีภาพพจน์ที่ดี เป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับจากบุคคลทั่วไป ทําให้มีโอกาสในการหาลูกค้าได้มากขึ้น
2. เพื่อให้ตัวแทนตั้งอยู่ในคุณธรรมและปลอดจากภัยพิบัติต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในการดําเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ
3. ที่กล่าวมาเป็นเหตุผลที่ถูกต้องทุกข้อ
4. เพราะการประกันภัยเป็นการขาย " คํามั่นสัญญา " ในอนาคต ความเชื่อมั่นไว้วางใจในตัวแทน เนื่องจากตัวแทนเป็นผู้ตั้งมั่นในศีลธรรมประเพณีอันดีงาม จึงเป็นคุณลักษณะที่สําคัญที่จะทําให้ตัวแทนก้าวหน้าในอาชีพ

All 30 questions completed!


ตัวอย่างข้อสอบตัวแทน เรื่องจรรยาบรรณ

Want more stuff like this?

Get the best viral stories straight into your inbox!
Don`t worry, we don`t spam
Logo
รายการเปรียบเทียบ
  • Total (0)
เปรียบเทียบ
0