fbpx

ลมวิงเวียน ลมสะแกเวียน บ้านหมุน

   1. หูชั้นนอก ประกอบ ใบหู ร่องหู และแก้วหู
   2. หูชั้นกลาง เป็นโพรงอากาศอยู่ถัดจากแก้วหูเข้าไป มีกระดูกค้อน ทั่ง โกลน เป็นตัวนำเสียง
   3. หูชั้นใน เป็นปลายปราสาทรับเสียงและทรงตัว ส่วนที่เป็นปลายประสาทรับเสียงมีรูปร่างเหมือนหอยโข่ง ภายในมี ของเหลวใส และมีเซลล์ประสาทไปตามเส้นประสาทหู ไปยังสมองเพื่อการรับ     รู้ต่อไป

         ปลายประสาทการทรงตัวมีรูปร่างเหมือนวงแหวน 3 วง ที่เชื่อมกันด้วยหัวแหวนและต่อไปยังลูกทรงกลมภายในวงหวน หัวแหวน และลูกทรงกลมเชื่อมต่อด้วยของเหลวใส ซึ่งอาบปลายประสาททรงตัวการก้มเงยหรือหันศีรษะซ้ายขวา จะกระตุ้นปลายประสาททรงตัวในวงแหวน ทำให้สมองรับรู้ว่ามีการหมุนศีรษะเอียงซ้ายขวา จำทำให้ก้อนหินปูนเม็ดเล็กๆ ซึ่งอยู่บริเวณปลายประสาทการทรงตัวไปยังก้านสมอง สมองน้อย และต่อไปยังสมองใหญ่ ให้รับรู้ว่ามีการเอียงของศีรษะ ในขณะเดียวกันสมองจะสั่งการให้กล้ามเนื้อ ตา คอ แขน และขา ปรับเพื่อให้การมองเห็นสิ่งแวดล้อมชัดเจน และมีการทรงตัวที่สมดุล

     ๑. โรคเวียนศีรษะจากหินปูนชันในเสื่อม
          ผู้ป่วยหลายรายมีประวัติการกระทบกระแทกก่อนเกิดอาการ คาดว่ามารหลุดของหินปูนเข้าไปแขวนลอยอยู่ในวงแหวน ทำให้ประสาทการทรงตัวรับข้อมูลผิดว่ามีการหมุนของศีรษะ นอกจากนี้อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดอุจจาระปัสสาวะ เหงื่อออก หัวใจเต้นเร็ว ผู้ป่วยโรคนี้จะไม่มีอาการหูอื้อ ไม่พบการสูญเสียการได้ยิน หรือเสียงผิดปกติหู เว้นรายการ ที่เป็นโรคหูอยู่ก่อนแล้ว รวมถึงไม่มีอาการทางระบบประสาท เช่น แขน ขา ชาหรืออ่อนแรง

      ๒. โรคมีเนียร์ (โรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ)
         เกิดจากการคั่งของของเหลวในหูชั้นใน ข้าใดข้างหนึ่ง หรือสองข้าง ทำให้เกิด 4 การ คือ ประสาทหูเสื่อม 1 มีเสียง ดังรบกวนในหู 1 แน่นหู 1 ร่วมกับอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุนซ้ำๆ โดยอาการทั้ง 4 อาจเกิดพร้อมกัน หรือ คนละช่วงเวลา อาการเวียนหมุนจะเกิดนาน 20 นาทีขึ้นไป จนถึง 1 วัน

     ๓.โรคเวียนศีรษะหมุนจากประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน
         มีอาการหูเสื่อมทันที โดยสังเกตในตอนเช้าหลังตื่นนอน มีเสียงดังในหูร่วมด้วยประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย จะมีอาการเวียนศีรษะหมุน เกิดจากไวรัสหรือความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน โรคนี้อาจดีขึ้นหรือหายได้สองในสามของผู้ป่วย

      ๔. โรคเส้นประสาททรงตัวอักเสบ
          อาการรุนแรงแต่ไม่ร้ายแรง มีการอักเสบของเส้นประสาทการทรงตัว ผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะหมุนทันที และเป็นเวลานานหลายชั่วโมงหรือวัน แล้วค่อยดีขึ้น โดยไม่มีอาการทางสมอง ไม่มีการเสื่อม การได้ยิน ไม่มีเสียงในหู จะหายเป็นปกติใน ๑-๓ สัปดาห์

     ๕. ศีรษะหมุนจากประสาทสมองส่วนกลาง
          สมองส่วนกลางที่ควบคุมการทรงตัวอยู่ที่ก้านสมองและสมองน้อย (ซีรีเบลลัม) ความผิดปกติ บริเวณดังกล่าวจึงทำให้เกิดอาการศีรษะหมุนได้ ผู้ป่วยมักเป็นผู้สูงอายุ มีโรคระบบอื่นๆร่วมด้วยที่บ่อยๆ คือ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันสูง บางรายเป็นโรคไมเกรน ลมชัก เป็นต้น ผู้ป่วยมักมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ ชัก หมดสติ ชา ใบหน้า และรำตัว แขน ขา อ่อนแรง เห็นภาพซ้อน กลืน พูดลำบาก เดินเซ ภาวะอัมพฤกษ์-อัมพาต เนื้องอกในสมอง ฯลฯ

        สาเหตุแห่งโรคลมสะแกเวียน (บ้านหมุน)
   ๑. ธาตุจุติ (เดือน ๗,๘,๙)หรือเกิดในเดือน ๔,๕,๖
  ๒. กินอาหารแห้งไม่มีน้ำมัน อาหารรสเย็น อาหารเบาหรือของว่าง
  ๓. อาหารรสเผ็ดร้อน รสฝาด รสขม (ขาดรสเปรี้ยว ,รสหวานคุม)
  ๔. เสพกามมาก
  ๕. นอนไม่หลับ ตื่นบ่อยๆเวลากลางคืน นอนดึก อาบน้ำดึกแล้วนอน นอนห้องแอร์
  ๖. ฤดูร้อนเข้าฝน ฤดูฝนเข้าหนาว อากาศร้อนจัด-หนาวจัด
  ๗. ปัจฉิมวัย มักเป็นในอายุเริ่มเข้า ๕๐ ปี
  ๘. กาลวาตะเข้าเสมหะ ,ปิตตะเข้าวาตะ
  ๙. อารมณ์วิตกกังวล มีความเครียดเรื้อรัง
 ๑๐. อิริยาบถนั่งมากเกินไป
 ๑๑. อุบัติเหตุ กระทบกระแทก ตกช้าง ตกม้า ตกจากที่สูง
 ๑๒. พักผ่อนน้อย ทำงานมากไป ขาดการออกกำลังกาย
 ๑๓. มีพันธุกรรมโรคเรื้อรัง เช่น โรคทารัสซีเมีย โรคนิ่ว พาหะทาลัสซีเมีย โรคนิ่ว โรคเก๊า โรคกษัย โรคไทรอยด์เป็นต้น
 ๑๔. ดื่มน้ำน้อย ดื่มน้ำเย็น น้ำแข็ง (ขับพิษออกได้น้อย เลือดเป็นกรด)
 ๑๕. มีปัญหาโรคตับ เช่น ตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัส นิ่วยูริก พยาธิ หรือสารเคมี สารโลหะหนัก ดื่มสุราเป็นประจำ
 ๑๖. มีปัญหาเรื่องไตเสื่อม ฮอร์โมนเพศต่ำ ทำให้ระบบกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง ไม่ยืดหยุ่นดังเดิม
 ๑๗. มีภาวะโลหิตจาง เลือดข้นเลือดหนืดเพราะทานอาหารปนเปื้อน สารเคมี สารกันบูดมากเกินไป
 ๑๘. ส่วนใหญ่เป็นในผู้สูงอายุประมาณ ๕๐ ปี มีความเครียดสะสม ทำงานมากเกินไปพักผ่อนน้อย นอนไม่ค่อยหลับ ทำงานท่านั่งนานยืนนาน ก้ามเนื้อคอบ่าไหล่แข็งเกร็งเลือดลมไหลเวียนเบื้อง บนน้อย กินอาหารที่มีรสเค็ม ผงชูรส สารกันบูด สารเคมีปนเปื้อนมากไป กินน้ำน้อยเกินไป มีการตกตะกอนของนาวยูริกในหูชั้นใน ทำให้แรงดันหู ชั้นในสูง เป็นเหตุส่วนใหญ่ให้เกิดบ้านหมุน

     สมุฎฐาน
          จากแผนผัง ปิตตะกำเริบส่งผลให้ลมในช่องท้องตีพัดขึ้นเบื้องสูง ทำให้ลมอุทธังคมาวาตาพัดกล้า และลมอโธคมาวาตาที่พัดลงกำเริบแรงจากเสมหะหย่อน ทำให้ลมกองละเอียดอันเป็นพิษ ลมอังคมังคานุสารีวาตา อันเป็นพิษไปกระทบเส้นลมปราณ อิทา-ปิงคลา, สหัสรังสี-ทวารี, จันทภูษัง-รุชำ, กาลทารี ละเส้นสุมนาก่อให้เกิดอาการลมวิงเวียน กำเริบหนักเข้ากลายเป็นลมสะแกเวียน (บ้านหมุนเหมือนลุกสะแกหมุนก่อนตกดิน ดังนั้นจากสมุฎฐานเหตุปิตตะกำเริบส่งผลกระทบให้อุระวาตะกำเริบเป็นลมตีขึ้นเบื้องบน และกลายเป็นลมกองละเอียดอันเป็นพิษ

     การวางยาในแบบรุ ล้อม รักษา และบำรุง
   ๑. หากแพทย์วินิจฉัยว่า ปิตตะกำเดากำเริบ ส่งผลให้วาตะกำเริบตาม แพทย์จักต้องวาง
          – ยาเขียวหอม ในยามสอง หัว, ท้าย และวาง
          – ยาหอมอินทจักร์ ในยามสาม หัว, กลาง ,ท้าย
   ๒. หากแพทย์วินิจฉัยว่า วาตะกองในไส้ – นอกไส้กำเริบ แล้วแปรขึ้นบนเป็นวาตะอุทธังคมาวาตา แพทย์จักต้องวาง
         –  ยาหอมเทพจิตร ไว้ก่อนอาหาร และวาง
         – ยาหอมอินทจักร์ ไว้หลังอาหารมันที

 

หากผู้ไข้มีอาการลมดีขึ้นบนอยู่เนืองๆ จนทรงตัวไม่อยู่ มีเสียงดังในแก้วหู ให้แพทย์วางนาตามลำดับ ดังนี้
   ตำรับยารุ           ยาเขียวหอม           เพื่อขับกำเดาออกมิให้แปรขึ้นบน
   ตำรับยาล้อม      ยาหอมเทพจิตร      เพื่อนำลมที่ขึ้นบนแล้วลงสู่เบื้องล่าง
   ตำรับยารักษา    ยาหอมอินทจักร์      เพื่อรักษาลมสองกองคือกองหยาบและกองละเอียด
   ตำรับยาบำรุง    ยาบำรุงโลหิต          เพื่อบำรุงโลหิตที่แห้งให้บริบูรณ์ดั่งเดิม

     • The Semont maneuver โดยการให้ผู้ป่วยนอนตะแคงด้านหนึ่งแล้วรีบพลิกตัวไปอีกด้านหนึ่งทันที
     • The Epley maneuver โดยการเคลื่อนศีรษะไป 4 ทิศทาง
     • การบริหารที่เรียกว่า Brandt‐Daroff exercises สามารถทำได้เองที่บ้าน เพื่อทำให้เกิดความสมดุล ทำวัน ละหลายครั้งทำติดต่อกัน -3 สัปดาห์ ผู้ป่วยร้อยละ 80 จะตอบสนองต่อวิธีดังกล่าว   และอัตราการเกิดซ้ำเพียงแค่ ร้อยละ 5 หลังจากนั้นจะต้องปฏิบัติตัว ดังนี้
             ๑. หลังจากทำให้อยู่เฉยๆ 10 นาที เพราะอาจจะเกิดอาการบ้านหมุนได้ และไม่ควรขับรถ
            ๒. เวลาให้หนุนหมอนสูงประมาณ 45 องศา เป็นเวลาสองวัน ระหว่างวันพยายามให้ศีรษะตั้งตรงช่วงนี้ยังไม่ไป ทำผมหรือพบหมอฟัน งดการออกกำลังที่ต้องทำให้ศีรษะหันไปมา การโกนหนวดหรือสระผมศีรษะต้องตั้งตรง
           ๓. ภายในหนึ่งสัปดาห์หลังจากการเกิดเวียนศีรษะต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้เวียนศีรษะ
                  •  ใช้หมอนสองใบเวลานอน
                  •  ห้ามนอนตะแคงข้างที่ทำให้เกิดโรค
                  •  ห้ามเงยหน้าหรือก้มหน้า
                  •  หลีกเลี่ยงการหงายหน้าเช่น ท่าที่ใช้ถอนฟัน หรืทำผม งดการทำ sit‐up

       ๔. หลังจากหนึ่งสัปดาห์ให้ดำเนินชิวิตตามปกติ

ลำดับการวางยารักษา
     ตำรับยารุและตำรับยาล้อม                ให้วางพร้อมกันไปในยามเสมหะ-ปิตตะ / ปิตตะ-ปิตตะ / ปิตตะ
     ตำรับยาล้อมและตำรับยารักษา        ให้วางพร้อมกันอีกในยามวาตะ หัว, กลาง, ท้าย
     ตำรับยาบำรุง                                    ให้วางไว้ก่อนนอน

  ตำรับ “ยาหอมอินทจักร์” (รสสุขุม – ร้อน) ใช้แก้อาการดังนี้

     ๑. ลมต้นไข้-ลมปลายไข้ ที่ยังมีกำเดาแทรกอยู่ บังเกิดลมตามมา

     ๒. อาการลมตีขึ้นเบื้องบน เหตุแต่กำเดา ต้องใช้ร่วมกับยาหอมเทพจิตร

     ๓. อาการโลหิตร้อนจากไข้กำเดา ทำให้เนื้อตัวร้อน ให้ทานร่วมกับยาเขียวหอม

     ๔. อาการกระสับกระส่ายจากไข้กำเดา ให้ทานร่วมกับยาหอมแก้ลมวิงเวียน

     ๕. ช่วยบำรุงเลือดแลลม พร้อมหทยัง ให้ทานร่วมกับยาบำรุงโลหิต

 

              ตำรับน้ำกระสายยา
         เครื่องกระสายยา ขิงสด  ใบเตยหอมสด แกนสับปะรด  ผิวส้มเขียวหวาน เปลือกมะนาวสด  ทั้งหมดนำลงต้มแล้ว กรองแทรกน้ำตาลกรวด และน้ำมะนาว ใช้จิบต่างน้ำ และดื่มไปพร้อมกับยาทุกขนาน

ขอคุณข้อมูลจาก  สมาคมแพทย์แผนไทย ลำพูน

เรายินดีที่จะรับฟังความคิดเห็นของคุณ

แสดงความคิดเห็น

Logo
รายการเปรียบเทียบ
  • Total (0)
เปรียบเทียบ
0