วิธีคำนวณดัชณีมวลกาย

วิธีคำนวณหาดัชนีมวลกาย ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว / (ส่วนสูง)^ 2
น้ำหนัก : หน่วยเป็นกิโลกรัม
ส่วนสูง : หน่วยเป็นเมตร
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม และสูง 160 ซม.
ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว / (ส่วนสูงเมตร)^ 2
ดัชนีมวลกาย = 60 / (1.6) ^2 = 23.43
ซึ่งเมื่อเราได้ดัชนีมวลกาย (BMI) แล้วก็นำไปเทียบ เพื่อดูว่าค่าของเราตกอยู่ที่ช่วงไหน
ดัชนีมวลกาย ชาวเอเชีย
ต่ำกว่า 18.50 น้ำหนักต่ำกว่าปกติ
18.50-22.99 น้ำหนักเหมาะสม
23.00-24.99 น้ำหนักเกิน
25.00-29.99 อ้วน
30.00 ขึ้นไปอ้วนผิดปกติ
วิธีคำนวณอัตราส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก (WHR)
ความยาวเส้นรอบเอว ( หน่วยเป็น ซม.) / ความยาวเส้นรอบสะโพก (หน่วยเป็น ซม.)
ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีรอบเอว = 82 ซม. และรอบสะโพก = 90 ซม.
ความยาวเส้นรอบเอว (หน่วยเป็น ซม.) / ความยาวเส้นรอบสะโพก (หน่วยเป็น ซม.)
อัตราส่วนรอบเอวต่อสะโพก (WHR) = 82/90 = 0.91
ค่าที่ได้ ถ้าเกิน 0.85: แสดงว่ามีภาวะ อ้วนลงพุง
ค่าที่ได้ 0.76-0.84: แสดงว่าคุณกำลังใกล้เข้าสู่ภาวะลงพุง ควรเริ่มทำการเปลี่ยนแปลงตัวเองได้แล้ว
ค่าที่ได้ ตำกว่า 0.75: แสดงว่าคุณไม่มีความเสี่ยงทางด้านสุขภาพจากไขมัน
สำหรับคนไทยแล้วความยาวเส้นรอบเอว มาตรฐานคือ
สำหรับผู้ชาย ไม่ควรเกินกว่า 90 ซม.
สำหรับผู้หญิง ไม่ควรเกินกว่า 80 ซม.