fbpx

โรคกรดไหลย้อน เรอเหม็นเปรี้ยว

สมุฏฐานการเกิดโรค

          โรคกรดไหลย้อน แพทย์แผนไทยเรียกตามอาการว่า “เรอเหม็นเปรี้ยว” ซึ่งมีสาเหตุมาจากธาตุลมที่เกิดลมในไส้ ลมนอกไส้ หรือเกิดจากกำเดาย่อย คือ ไอความร้อนที่เกิดจากขบวนการย่อยอาหาร ซึ่งจะลอยสูงขึ้น และยังสะสมความร้อนในลำไส้ ไอน้ำย่อยหรือกำเดาย่อย ถ้าเกิดขึ้นมากเรียกกำเดาย่อยกำเริบทำให้มีอาการท้องอืดท้องเฟ้อ เรอเหม็นเปรี้ยว ตามมา เมื่อกรดไหลย้อนต้านแรงโน้มถ่วงของโรคขึ้นไปสมุฏฐานแห่งอาการจึงเกิดจากลมเป็นเหตุ แพทย์แผนไทยจึงดับลมโดยการดับไฟ ไม่มีไฟก็ไม่มีลมไปดันน้ำย่อยดีขึ้นบน การแก้ที่ไฟ คือ ไฟย่อยอาหาร ไฟอุ่นกาย ไฟอุ่นกาย ไฟร้อนจากตับ ทั้ง 3 ไฟ ให้ดับไฟ จากตับแล้วไฟย่อยอาหาร ไฟอุ่นกายจะดับตาม

ลักษณะอาการของโรค

ลมกองหยาบในศาสตร์การแพทย์แผนไทย     

          เป็นลักษณะอาการแห่งลมที่อยู่บริเวณช่องทางใหญ่ภายในตั้งแต่บริเวณปากตลอดลำคอ กระเพาะ ไส้น้อย ไส้ใหญ่ จึงปากทวารหนัก มีลักษณะเป็นลมมวลหยาบกระจายตัวอยู่ในช่องทางดังกล่าว บางครั้งมีอาการคลื่นไส้ ผะอืดผอมร่วมด้วย แล้วส่งผลต่อให้อืด เมื่ออืดสำแดงว่ามีกองลมล้นเกินระบบ ดันอวัยวะให้พองขึ้น เบียดดันอวัยวะใกล้เคียงกันด้วย อืดนั้นมาจากลมในไส้ก็ได้ ลมนอกไส้ก็ได้ หากเกิดแต่ลมในไส้ เหตุมาจากกำเดาย่อยและพัทธะปิตตะ เป็นต้นเหตุ ส่วนลมนอกไส้ เหตุมาแต่ไฟอุ่นกายเป็นต้นเหตุ กำเดาย่อยและกำเดาอุ่นกายจึงเป็นเหตุต้น ส่วนลมที่เกิดตามกำเดาเป็นเหตุตาม อืดที่จากลมเป็นเหตุท้าย และลมที่เกิดเป็นลมร้อนพัดตีขึ้นบน เราเรียกว่า “เฟ้อ” หมายลมนั้นดันขึ้นเฟ้อขึ้นบน เมื่อดันขึ้นเฟ้อก็จักออกปากเรียกว่า “เรอ” หากมีน้ำย่อยออกมาด้วย เราเรียก “เหม็นเปรี้ยว” คือน้ำย่อยออกปาก กลิ่นออกจมูก กลิ่นออกจมูก

          หลักสมุฏฐานวินิจฉัยอาการนี้คือ พัทธะปิตตะ/อะพัทธะปิตตะ กำเริบ ทำให้โกฏฐาสยาวาตา / กุจฉิสยาวาตากำเริบตาม ดันน้ำย่อยปิตตังตีขึ้นบน หมอไทยจักหาเหตุที่พัทธะปิตตะหรืออะพัทธะปิตตะนั้นกำเริบซึ่งมีเหตุต่างกัน แต่ปลายทางอาการเหมือนกัน

        กำเดาย่อย / ไฟย่อย/พัทธะปิตตะ กำเดาอุ่นกาย / ไฟอุ่นกาย / อะพัทธะปิตตะ

          ตั้งต้นหาเหตุที่เตโชธาตุเสียก่อนว่าสิ่งใดเป็นมูลเหตุให้เกิดอาหารทางเตโชพัทธะหรือเตโชอพัทธะกำเริบทำให้เกิดไฟอุ่นกายแลไฟย่อยกำเริบ เกิดกำเดา เกิดลมตามพัดดันน้ำย่อยตีขึ้นบน โดยพอประมวลเหตุได้ดังนี้

สมุฏฐานปิตตะกำเริบ

  • เป็นผู้ปฏิสนธิธาตุไฟหรือธาตุลมเป็นต้นทาง ทำให้ไฟแรงตาม หรือลมแรงไฟตามเป็นวัฎฏะสัมพันธ์เนื่องกันตีน้ำย่อยันขึ้นบน
  • กินแต่ของเผ็ดร้อนเป็นประจำ ไฟย่อมแรงขึ้นลมแรงตามพัดน้ำย่อยตีขึ้นบน
  • ท้องร้องไม่กินเมื่อกินท้องไม่ร้อง น้ำย่อยออกเพราะร่างกายต้องการพลังงานแต่ไม่กิน น้ำย่อยไม่ออก เพราะร่างกายไม่ต้องการพลังงานแต่กินทำซ้ำซากเกิดภาวะกษัยล้นทันดันน้ำย่อยตีขึ้นบน
  • มีภาวะวิตกกังวลซ้ำซากเกิดกำเดาตามเกิดลมตามเกิดลมตามดันน้ำย่อยตีขึ้นบน
  • อิริยาบถนั่งเช่น นั่งทำงานนานๆ นั่งขับรถนานๆ นั่งเล่นเกมส์นานๆ นั่งนอนติดเตียงนานๆ มีการเคลื่อนไหวกายน้อยลมพัดดันลงไม่สะดวกตีกลับพัดขึ้นบนแทนดันน้ำย่อยตีขึ้นบน
  • กินแต่หวาน มัน เค็ม เป็นรสที่ทำให้เกิดความร้อนเกิดลมตามมาพัดตีน้ำย่อยขึ้นบน
  • ในช่วงก่อนแลระหว่างมีประจำเดือนเกิดกำเดาอุ่นกายขึ้นทำให้กำเดาอุ่นกายขึ้นทำให้เกิดลมในไส้ตีน้ำย่อยขึ้นบน
  • ท้องผูกบ่อยครั้งหรือมีกล่อนเถาภายในลำไส้ใหญ่มีการหมักหมมเกิดำเดามากลมมากดันปิตตังตีขึ้นบน
  • มีไข้กำเดาเกิดท้องอืดเกิดแรงผลักดันน้ำย่อยขึ้นบน
  • มีโบราณโรคเรื้อรังทางพัทธะปิตตะ / อพัทธะปิตตะย่อมทำให้กำเดามากลมมากลมมากดันปิตตังตีขึ้นบน
  • ทำงานในที่เย็นสลับกับที่ร้อน ลมรอนลมเย็นปะทะกันเกิดมวลลมหยาบพัดขึ้นบนดันน้ำย่อยตาม
  • กินแต่อาหารแสลงต่อโรคภัย อาหารขยะ อาหารอุตสาหรรมปนเปื้อน สารกันปูด ผงชูรส เครื่องดื่มเย็น อุตสาหกรรม อาหารถุง อาหารสกปรก เหล่านี้ล้วนเจือสารเคมีทางอุตสาหกรรมอาหารกินบ่อยเข้ากระทบต่อระบบต่อทางเดินอาหารเกิดกษัยเกิดอาการตามมา
  • กษัยกร่อนเถา เป็นต้นทางของกษัยปู กษัยล้น กษัยท้น กษัยจุก กษัยดาน ทำให้ลมดันน้ำย่อยตีขึ้นบน แปรเป็นลมทุนยักษ์วาโย ลมสูบพิษขึ้นลำไส้ ซึ้งเป็นอาการกรดไหลย้อน
  • ใส่เข็มขัดหรือเสื้อผ้ารัดรูปมากเกินไป ทำให้เกิดแรงดันในช่องท้องตีขึ้นบน
  • กินข้าวแล้วอยู่ในท่านอนทันที ทำให้ไฟย่อยกัดเยื่อบุหูรูดหลอดอาหารหย่อนทั้งสิ้นเกิดแต่ลมร้อนจากกำเดาเป็นเหตุ แต่มีอาการอืดที่ไม่เปรี้ยวเกิดแต่ลมร้อนน้อย(เย็น)ก็ได้มูลเหตุที่เกิดมาจากสมุฏฐานดังนี้

สมุฏฐานปิตตะหย่อน

  • อายุสมุฏฐานเข้าวัยวาตะขาลงจากปิตตะขาลง ลมเคลื่อนไหวได้น้อยเกิดอาการอืด
  • อยู่ในที่มีอากาศเย็นผิดปกติธรรมชาตินานๆก็เป็นเหตุให้ปิตตะหย่อนลมไม่เคลื่อนเกิดอาการอืด
  • มีอาการทางเสมหะกำเริบ ปิตตะหย่อนวาตะหย่อนก็เป็นเหตุได้เช่นกัน
  • มีอาการนอนติดเตียงเคลื่อนไหวน้อยปิตตะน้อยวาตะน้อยลมเคลื่อนน้อยเกิดอาการอืดหมอไทยยังแบ่งพัฒนาการของอาการนี้แยกออกได้เป็นสี่ลักษณะ
  • อาการเพียงท้องอืดจากลมร้อนก็ได้ลมเย็นก็ได้แต่ไม่เฟ้อจึงไม่เรอ (เข้าอืด) แค่ในไส้หรือนอกไส้
  • อาการท้องอืดเฟ้อแต่ไม่เรอ (เข้าเฟ้อ) ไปถึงอก
  • อาการท้องอืดเฟ้อเรอ (เข้าเรอ) ไปถึงคอ
  • อาการท้องอืดเฟ้อเรอเหม็นเปรี้ยว (เข้าเหม็นเปรี้ยว) ผ่านอกผ่านคอออปาก

๑ ลักษณะอาการอืด

  • เริ่มที่ไฟย่อยเกิดกำเดาย่อยเกิดลมในไส้ตามมาเป็นลมชนิดร้อนมวลออกหยาบมีลักษณะแผ่ออกทำให้เกิดอาการท้องอืดแน่นไปตามไส้น้อยไส้ใหญ่คือมีลมในไส้กำเริบ แต่ระบายออกได้น้อยด้วยติดกรีสังอาหารเก่าค้างในลำไส้ใหญ่อาหารใหม่ที่ย่อยไม่หมดในลำไส้น้อยและอาหารใหม่ในกระเพาะ ลมในไส้นั้นวิ่งเริ่มที่ปากบนถึงปากล่างคือทวารหนักหมายอันตัง (ระบบทางเดินอาหาร) แต่ถ้าเพียงอืดหมายว่าลมในไส้นั้นอยู่เพียงในไส้ใหญ่และกระเพาะอาหารยังไม่มีอาการเฟ้อดันขึ้นบน ด้วยแรงกำเดาย่อยส่งขึ้นบนนั้นยังไม่แรงมากนักเกิดเพียงอาการอืดมักมีเหตุมาแต่อาหารไม่ค่อยย่อยหรือมีกล่อนเถาในไส้ มีอาการท้องผูกเรื้อรัง
  • เริ่มที่กำเดาอุ่นกายหย่อนจากเสมหะกำเริบกำเดาย่อยมักหย่อนตามเมื่อไฟน้อยลมย่อมน้อยเคลื่อนไหวช้าทำให้เกิดอาการอืดในไส้ตามมา
  • อาการอืดจาลมในไส้กำเริบ (จักพัดขึ้นบนไปตามระบบอันตัง) จากมูลเหตุดั่งที่กล่าวข้างต้นไว้แล้ว
  • อาการอืดจากลมนอกไส้เกิดแต่เหตุอาทิความกำเริบหย่อนของธาตุดินในช่องท้อง (ที่ไม่เกี่ยวกับระบบอันตัง) ทำให้เกิดกำเดามากเมื่อกำเริบและกำเดาน้อยเมื่อหย่อนไปส่งผลต่อให้เกิดอาการท้องอืดจากลมร้อนหรือลมร้อนน้อยหากเกิดแต่ลมร้อนลมนี้จักแปรเป็นลมตีขึ้นบนได้

๒ .ลักษณะอาการอืดแล้วเฟ้อ

อืดคืออาการอึ้งอลอยู่ภายในหากอืดมากขึ้นๆ จักเกิดแรงดันขึ้นบนทำให้เฟ้อด้วยแรงลมที่เกิดแต่กำเดา 2 ลักษณะหนึ่งจากกำเดาย่อยทำให้เดลมในระบบอันตัง (ในไส้) เริ่มจากอืดต่อด้วยแรงลมในไส้พัดขึ้นแต่พัดขึ้นเพียงอกตามแรงกำเดาที่เกิดมีอาการอืดแน่นดันขึ้นบนในช่วงกระเพาะอาหาร อาการหยุดเพียงนั้นผู้ไข้จักมีอาการเรอออกมาแน่นท้องแน่นอกสองจากกำเดาอุ่นกายทำให้เกิดลมนอกไส้แต่อยู่ในช่องท้องเริ่มจากอืดเช่นกันแต่เป็นอืดนอกไส้ (ระบบอันตัง) แล้วดันขึ้นบนหมายเพียงอกทำให้เกิดอาหารแน่นเข้าอกแต่ไม่มีลมขึ้นจุกคอ

๓.  ลักษณะอาการอืดเฟ้อเรอ

อาการเช่นเดียวกับเฟ้อแต่แรงดันของลมในไส้มีมากกว่าเป็นอืด-เฟ้อ-เรอออกปาก แรงกำเดาทั้งสองชนิดมากกว่าเฟ้อแต่ไม่เรอถ้าเป็นลมในไสพัดขึ้นจักมีอาการเรอบ่อยครั้งถ้าลมนอกไส้จักมีอาการลมจุกคอกลืนไม่คายไม่ออกติดอยู่เพียงนั้น (เป็นอาการอันตราย)

 

 

๔. ลักษณะอืดเฟ้อเรอเปรี้ยว

เป็นอาการมากที่สุดของอาการทั้งหมดดังกล่าวไม่เพียงแต่ลมที่ดันขึ้นแต่นำปิตตัง (น้ำย่อย)ขึ้นมาด้วยเกิดอาการแสบร้อนเข้าอกเข้าคอบางรายเข้าเพียงอกบางรายดันขึ้นถึงคอออกปากสำแดงถึงภาวะกำเริบแรงของไฟย่อยกำดาย่อยแลลมพัดในไส้ (มิได้เกิดแต่ลมนอกไส้)เกิดแต่ลมในระบบอันตังเท่านั้น

ลมในไส้ อืด-เฟ้อ-เรอ-เหม็นเปรี้ยว ลมนอกไส้ อืด-เฟ้อแน่นเข้าอก-เฟ้อแน่นเข้าคอ-ลมตีขึ้นบนหมายศีรษะ

การตรวจวินิฉัยสี่อาการดังกล่าวหมอไทยจักต้องแยกว่าเกิดแต่ความร้อน(กำเดา)หรือเกิดแต่ความเย็น(ความร้อนน้อย)เสียก่อนจากนั้นจึ่งหาว่าเกิดแต่ลมในไส้ ฤาลมนอกไส้ลักษณะของอาการจักเป็นเครื่องแจ้งแก่หมอเองหากพบว่าเกิดแต่ลมร้อนในไส้ หมอต้องหาต่อว่าอาการที่เป็นเพียงไหนในสี่ลักษณะนั้น กำเดาที่เกิดเป็นกำเดาย่อยหรือกำเดาอุ่นกายเกิดแต่ไฟย่อยหรือไฟอุ่นกายมาจากพัทธะปิตตะหรืออพัทธะปิตตะ ลำดับการแก้รักษานั้นแตกต่างกันสิ้น

การรักษาโรค

การรักษาเหตุแด่เย็น

  • จุดไฟธาตุย่อย ไฟธาตุอุ่นกาย ให้ติดสว่างขึ้นด้วยการวางยาเพิ่มไฟย่อยรสร้อน (เช่น ยาธาตุบรรจบ)
  • วางยาเพิ่มลมกองลงล่าง (เช่น ยาปราบชมพูทวี ยาสหัสธารา)
  • ถ้าเป็นตำรับยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ให้วางยารสหอมร้อนหลังอาหารทันที เพื่อช่วยย่อยอาหาร (เช่น ยาหอมนวโกศ ยาหอมอินทรจักร)
  • วางยากลุ่มอาการปวดเมื่อยแต่เหตุลมลงล่างหย่อน เพื่อช่วยจุดไฟธาตุให้เกิดลมลงล่างมากขึ้น (เช่น ยากษัยเส้น ทานก่อนาหาร 3 เวลา)
  • การเวชปฏิบัติ ให้ใช้ทางร้อน เช่น การย่างยา การเผายา การประคบร้อน การอบร้อน เป็นต้น

การรักษาเหตุแต่ลมร้อน (กระทำได้ทั้งจากความร้อนและความเย็น)

  • หากเพียงอืดแต่ไม่เฟ้อ แลอืดเฟ้อแต่ไม่เรอ ให้ใช้การวางยารสร้อนช่วยย่อย เพื่อกระจายลมที่อัดอั้นอยู่
  • ให้เวชปฏิบัติหัตถบำบัดโกยลมออกจากช่องท้องลม หรือเผายาช่วงกลางท้อง
  • หากใช้วิธีเย็น
  • – ให้วางยารสเย็น เช่น ยาเขียวหอม ไว้ยามปิตตะ
  • – ให้วางยารสหอมร้อน เช่น ยาหอมนวโกฐ ไว้ยามวาตะก็ได้ แล้วใช้หัตถบำบัดช่วย
  • ถ้าอาการอืดเฟ้อเรอแต่ไม่เหม็นเปรี้ยว แลอืดเฟ้อเรอเหม็นเปรี้ยว เป็นลำดับอาการที่มากขึ้นแล้วให้ใช้ทั้งร้อนและเย็นช่วยกัน แต่คาบเวลาต่างกัน ดังนี้
  • – วางยารสเย็นไว้ยามแรกปลาย / ต่อด้วยยามสองกลางยาม / และท้ายยามสอง (๑๐.๐๐ น., ๑๒.๐๐น., ๑๔.๐๐ น.)เพื่อลดกำเดาอุ่นกายลง
  • – วางยาหอมรสร้อนช่วยย่อยไว้ทุกเวลาหลังหลังอาหาร เพื่อผ่อนลมในลำไส้จากการย่อยอาหารนั้น (เช่น ยาหอมนวโกศ ยาหอมอินทจักร)
  • – ยามสองเช้าให้พอกยาเย็นไปที่ส่วนบน เพื่อนำลมตีขึ้นบนลงล่าง ยามสามเช้าต้นยาม ให้เผายาบริเวณหน้าท้อง เพื่อกระจายลมในไส้

ภาวะอาการท้องอืดนั้นเกิดได้หลายเหตุ เป็นอาการธรรมดาของผู้ไข้ แต่ไม่ธรรมดาสำหรับหมอไทยเหตุเพราะอืดนั้นหากเกิดแต่เหตุที่ยกนังทำงานกำเริบหรือหย่อน จักสำแดงถึงภาวะกษัย แล้วอาจเกิดเพราะตับย้อยตับหย่อน ตับแข็ง ตับอ่อน ฝีในตับ ตับติดไข้พิษไข้กาฬ เป็นต้น หมอไทยจักหาเหตุต้นให้พบแล้วรักษาที่เหตุต้นนั้น ส่วนอาการอืดเฟ้อเรอเปรี้ยว เป็นปลายอาการ หมอไทยจักบรรเทาลง รักษาที่ต้นทาง บรรเทาที่ปลายาง หมอไทยกระทั่งนี้แล

 

ขั้นตอนการรักษาด้วยหลักการรุ ล้อม รักษา และบำรุง ดังนี้

  • รุ ลมในไส้และนอกไส้ รุระบบทางเดินอาหารให้สะอาด
  • ล้อม ไฟอุ่นกาย และไฟย่อยอาหาร
  • รักษา ตับให้เย็น รักษาอารมณ์ให้ใจเย็น
  • บำรุง ศอ/อุระ/คูถแสลด ที่เสียหายจากน้ำย่อย และบำรุงตับให้บริบูรณ์

ตำรับยาในบัญชียาหลักแห้งชาติ

  • รุ ยาหอมนวโกฏ (๙.๐๐ น., ๑๔.๐๐ น., ๑๘.๐๐น.)
  • ล้อม ยาหอมเทพจิตร (๙.๐๐ น., ๑๔.๐๐ น., ๑๘.๐๐ น.)
  • รักษา ยาหอมทิพย์โอสถ (๙.๐๐น., ๑๔.๐๐น., ๑๘.๐๐น.)
  • บำรุง ยาบำรุงโลหิต และยาเขียวหอม (๒๑.๐๐ น.)

น้ำกระสายยาลดอาการเรอเหม็นเปรี้ยว

สูตรต้นตำรับ น้ำด่างน้ำปูนใส น้ำฝางเสน น้ำซาวข้าว และเกลือ

การเตรียม

๑.น้ำด่าง นำด่างทำขนมจ้าง ๓ รำหัด ละลายในน้ำอุ่น ๑ แก้ว

๒. น้ำปูนใส นำปูนแดงที่ใช้กินับหมาก กึ่งช้อนชา ละลายในน้ำอุ่น ๑ แก้ว

๓. น้ำฝางเสน นำฝางเสนไปต้มในน้ำเดือน แล้วกรอง แบ่งออกมา ๑ แก้ว

๔. น้ำซาวข้าว นำข้าวสาร (ข้าวเจ้า) ไปซาว แล้วรินเอาแต่น้ำ ๑ แก้

 

วิธีทำ      นำน้ำทั้ง ๔ อย่าง ๆ ละ ๑ แก้ว มาผสมรวมกัน ใส่เกลือ ๓ รำหัด ละลายลง

วิธีใช้      ใช้ดื่มครั้งละ ๑ แก้ว เมื่อมีอาการเรอเหม็นเปรี้ยว

 

สูตรน้ำกระสายยาช่วยย่อยขับลม

ขิงแก่ ข่าแก่ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ น้ำมะกรูด น้ำมะนาว น้ำคั้นใบเตย และน้ำเชื่อม

การเตรียม

  • ต้มขิง ข่า ตะไคร้ และในสะระแหน่ ผสมกัน แล้วกรองเอาแต่น้ำทิ้งไว้ในเย็น
  • เติมน้ำมะกรูด น้ำมะนาว น้ำคั้นใบเตยหอม และน้ำเชื่อม ให้ได้รสเปรี้ยวนำรสหวาน

วิธีใช้      ใช้ดื่มครั้งละ ๑ แก้วหลังอาหารทันที

 คำแนะนำสำรับผู้ป่วย

  • ระหว่างรับประทานอาหารไม่ควรดื่มน้ำตาม ประเภทกินข้าวคำน้ำคำ และ/หรือเพิ่งรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ไม่ควรดื่มน้ำเย็น น้ำแข็ง เป็นประจำ การรับประทานน้ำเย็น น้ำแข็ง ขณะรับประทานอาหารหรือเพิ่งรับประทานอาหารเสร็จใหม่เป็นการรบกวนระบบการย่อย เพราะระหว่างนั้น ธาตุไฟย่อยอาหารกำลังทำงานทำให้ธาตุไฟต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อจะย่อยอาหารให้หมด เมื่อถูกใช้งานหนักเป็นประจำจึงทำให้เสื่อมเร็ว(ตับเสื่อม)
  • ไม่ควรรับประทานอาหารที่ย่อยยาก เช่น ของทอด ของมัน เนื้อสัตว์ ต่างๆ เป็นประจำ ทำให้ธาตุไฟ (ตับ)ทำงานหนักจึงเสื่อมเร็ว
  • ไม่ควรรับประทานอาหารเร็วเกินไป การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ทำให้ธาตุไฟ (ตับ) ทำงานหนักจึงเสื่อมเร็ว หลีกเลี่ยงการรับประทานก่อนนอน โดยไม่ควรรับประทานอาหารก่อนเข้านอน 3 ชั่วโมง เพราะจะทำให้โรคกรดไหลย้อนกำเริบ
  • ควบคุมอารมณ์ไม่ควรมีอารมโกรธโมโหเกรี้ยวกราดอยู่เป็นประจำ ทำให้ตับร้อนและเสื่อมเร็ว
  • ไม่ควรใช้สมองครุ่นคิดเรื่องต่างๆหนักมากเกินไป การวิตกกังวล มีภาวะความเครียดเป็นประจำอารมณ์เครียดและวิตกกังวลมีผลกระทบต่อตับ และกระเพาะอาหาร ทำให้รบกวนระบบการย่อย
  • เมื่อรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ ไม่ควรไปนั่งทำงานหรือนอนในทันที
  • งดการสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และน้ำอัดลม
  • ไม่ควรปล่อยท้องผูกเป็นเวลานาน
  • หลีกเลี่ยงอิริยาบถนั่งนานๆ เช่น ขับรถ เล่นเกม นั่งหน้าคอมพิวเตอร์ นอนติดเตียง
  • ระวังไม่ให้น้ำหนักมาก หรืออ้วนมากเกินไปไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดรูป

 

ข้อควรระวัง

ผู้ป่วยที่ทำการรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นและมีอาการดังต่อไปนี้ให้รีบพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที

  • อาเจียนบ่อย หรือมีเลือดปน
  • กลืนติด หรือกลืนลำบาก
  • อุจจาระสีดำ หรือมีเลือดปน
  • อ่อนเพลีย ซีด
  • น้ำหนักลดอย่างไม่มีสาเหตุ
  • รับประทานยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น
เรายินดีที่จะรับฟังความคิดเห็นของคุณ

แสดงความคิดเห็น

Logo
รายการเปรียบเทียบ
  • Total (0)
เปรียบเทียบ
0