fbpx

โรคปวดประจำเดือน

สมุฏฐานการเกิดโรค

          การปวดประจำเดือนหรือมีอาการผิดปกติก่อนประจำเดือนมา จะถือว่าเป็นอาการป่วยก็ได้ ไม่ป่วยก็ได้เป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่าประจำเดือนจะมา ต่อเมื่อประจำเดือนมาแล้วอาการเหล่านี้ก็จะลดลงและหายไป บางคนเมื่อประจำเดือนมาอาการปวดท้องก็หายไป บางคนปวดต่อเนื่องอีก 1-2 วัน เมื่อประจำเดือนหยุดอาการเหล่านี้ก็หายไป อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเหมือนเดิมทุกครั้งที่ประจำเดือนมา อาการผิดปกติที่เกิดก่อนฤดูมานี้เกิดเพราะกองธาตุมิได้บริบูรณ์ แล้วโลหิตก็มิได้งามบริบูรณ์ขึ้นได้ 

โลหิตฤดูเกิดจาก 

   1.  โลหิตเกิดมาแต่หัวใจ เมื่อฤดูมานั้นให้คลั่งเพ้อไปเจรจาด้วยผี ให้นอนสะดุ้งหวาดมักขึ้งมักโกรธไปต่างๆ ครั้นฤดูออกมาก็หาย 
   2.  โลหิตอันเกิดแต่ขั้วดี เมื่อฤดูมานั้นให้คลั่งไคล้ละเมอเพ้อเจรจาด้วยผีให้นอนสะดุ้งหวาดไปครั้นมีฤดูออกมาก็หาย 
   3.  โลหิตอันเกิดแต่ผิวเนื้อนั้น ให้นอนร้อนผิวเนื้อผิวหนัง ให้แดงดุจผลตำลึงสุก ลางทีก็ให้ผุดขึ้นทั้งตัวดุจออกหัดแลฟกเป็นดังไข้ลากสาด เป็นไปถึง 2 วัน 3 วัน ครั้นมีฤดูออกมาแล้วออกมาแล้วก็คลาย 
   4.  โลหิตอันบังเกิดมาแต่เส้นเอ็นทั้งปวง เมื่อจะใกล้มีฤดูมาให้เป็นประดุจดังจับไข้ ให้สะบัดร้อนสะบัดหนาว ปวดศีรษะเป็นกำลัง ครั้นมีฤดูออกมาแล้วก็หาย 
   5.  โลหิตอันเกิดมาแต่กระดูกนั้น เมื่อจะใกล้มีฤดูมา ให้เมื่อยให้ขบทุกข้อดังจะขาดกัน ให้เจ็บบั้นเอวสันหลังยิ่งนัก นักบิดเบี้ยวบ่อยๆ ครั้นเมื่อฤดูนั้นออกมาแล้วก็หาย 

     อันว่าโลหิตฤดูนี้เป็นธรรมชาติของสตรี ลมกองใดที่เคยกำเริบก่อนมีโลหิตฤดู ลมกองนั้นจะกำเริบขึ้นทุกเดือนครั้ง จึงเรียกโลหิตปรกติโทษ ถ้าถึงกำหนดฤดูมา อาการแปลกไปอย่างอื่นลมกองอื่นทำ จัดได้ชื่อว่าทุจริตโทษ อาการโลหิตปรกติโทษใช่จะมีแต่ 5 ประการที่กล่าวมา อาไศรยธาตุสมุฏฐาน และฤดูสมุฏฐานเป็นเหตุให้เกิดก็ได้ 

สาเหตุของอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน

เช่น ปวดท้องน้อย ท้องพอง ไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อย ปวดหัว หงุดหงิดง่าย เป็นต้น 

   1. แหล่งที่เกิดของประจำเดือนมี 5 แหล่ง หัวใจ ขั้วดี ผิวเนื้อ เส้นเอ็น กระดุก จึงเกิดอาการที่ไม่เหมือนกันในแต่ละคนก่อนมีประจำเดือน อาการเหล่านี้จะเกิดเหมือนกันทุกๆ เดือน การจะลดลงหรือหายไปเมื่อประจำเดือนมา 
   2. ในระบบโลหิตจะมีธาตุลมพัดพาโลหิตไปทั่วร่างกาย ดังนั้นลม 6 ย่อมกระทบเลือดประจำเดือนด้วยลมกองใดที่เคยกำเริบทุกเดือน 
   3. ลมจะทำให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัวเพื่อขับเลือดเสียออก การกินน้ำเย็น กินอาการจืดเย็นเป็นประจำโดยเฉพาะในช่วงใกล้มีประจำเดือน ทำให้เลือดไหลช้า จึงต้องใช้กำลังลมมากในการขับเลือดออก มดลูกก็ต้องบีบตัวมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการปวดประจำเดือน 
   4. ฤดูสมุฏฐาน ฤดูหนาวธาตุจะพิการดังนั้น เลือดจะหนืดข้นกว่าปกติ มดลุกจึงต้องบีบตัวมากกว่าปกติอาจเป็นสาเหตุให้มีอาการปวดประจำเดือนได้ 

ลักษณะอาการของโรค

     ปวดประจำเดือน หมายถึง อาการปวดท้องขณะมีประจำเดือน พบได้ประมาณร้อยละ 70 ของผู้หญิงในวัยที่มีประจำเดือน ส่วนใหญ่จะปวดไม่มากและสามารถทำงานได้ตามปกติ ส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจปวดรุนแรงจนต้องพักงาน

     อาการปวดประจำเดือน แบ่งได้เป็น ชนิดปฐมภูมิ (หรือไม่ทราบสาเหตุ) ซึ่งพบเป็นส่วนมากกับชนิดทุติยภูมิ (หรือมีสาเหตุ) ซึ่งพบส่วนน้อย 

     ปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea ) จะพบในเด็กสาว ส่วนมากจะเริ่มมีอาการตั้งแต่มีประจำเดือนครั้งแรก หรือไม่ก็เกิดขึ้นภายใน 3 ปีหลังมีประจำเดือนครั้งแรก จะมีอาการมากที่สุดในช่วงอายุ 15-25 ปี หลังจากวัยนี้อาการจะค่อยๆ ลดลงบางรายอาจหายปวดหลังแต่งงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังมีบุตรแล้ว จะมีสวนน้อยที่ยังอาจมีอาการตลอดไปจนถึงวัยหมดประจำเดือน

     ปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ ( Secondary Dysmenorrhea ) จะมีอาการปวดครั้งแรกเมื่อมีอายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป โดยก่อนหน้านี้จะไม่ค่อยมีอาการปวดประจำเดือนเลย

     สาเหตุปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ จะไม่มีความผิดปกติของมดลูกและรังไข่แต่อย่างไร ปัจจุบันนี้เชื่อว่าสาเหตุมาจากเปลี่ยนปลงของฮอร์โมนระหว่างมีประจำเดือน และมีการหลั่งสารพรอสตาแกลนดิน (prostsglandins) มากผิดปกติ ทำให้มดลูกมีการบีบเกร็งตัวเกิดอาการปวดที่บริเวณท้องน้อย

      สาเหตุปวดประจำเดือนชนิดทุติยภูมิ มักมีความผิดปกติของมดลุกหรือรังไข่ เช่น เยื่อบุมดลูกงอกผิดปกติที่เนื้องอกมดลูก มดลูกย้อยไปด้านหลังมาก ปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น เชื่อว่าอารมณ์มีส่วนเสริมความรุนแรงของอาการปวดประจำเดือนทั้ง 2 ชนิด เช่น พบว่าคมที่มีอารมณ์อ่อนไหวง่ายหรือมีความเครียดมีอาการปวดรุนแรงกว่าคนที่มีอารมณ์ดี 

การรักษาโรค

  1. รักษาด้วยการใช้ยา

ยาที่ใช้ในการรักษาโรค 

      1. ยาประสะไพล บรรเทาอาการปวดประจำเดือน ระดูมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติขับน้ำคาวปลาในหญิงหลังคลอดบุตร ควรกินก่อนมีประจำเดือน ประมาณ 15 วัน หยุดกินเมื่อประจำเดือนมา 

     ขนาดและวิธีใช้      กรณีระดูมาไม่สม่ำเสมอ หรือมาน้อยกว่าปกติ 
     ชนิดผง รับประทานครั้งละ 1 กรัม ละลายน้ำสุก วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารเป็นเวลา 3-5 วัน เมื่อระดูมา ให้หยุดรับประทาน 
     ชนิดแคปซูล ชนิดเม็ด ชนิดลูกกลอน รับประทานครั้งละ 1กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารเป็นเวลา 3-5วัน เมื่อระดูมา ให้หยุดรับประทาน 
     กรณีปวดประจำเดือนเป็นประจำเดือนเป็นประจำ ให้รับประทานยาก่อนมีประจำเดือน 2-3 วันไปจนถึงวันแรกและวันที่สองที่มีประจำเดือน 
     ชนิดผง รับประทานครั้งละ 1 กรัม ละลายน้ำสุก วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร 
     ชนิดแคปซูล ชนิดเม็ด ชนิดลูกกลอน รับประทานครั้งละ 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร 

ข้อห้ามใช้

  • ห้ามใช้ในหญิงตกเลือดหลังคลอด หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้
  • ห้ามรับประทานในหญิงที่มีระดูมากกว่าปกติ เพราะจะทำให้มีการขับระดูออดมามากขึ้น

ข้อควรระวัง

  • ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผดปกติของ ตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูร และเกิดพิษได้
  • กรณีระดูมาไม่สม่ำเสมอ หรือมาน้อยกว่าปกติ ไม่ควรใช้ติดต่อกันนานเกิน 1 เดือน
  1. ยาเลือดงามบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด 

         ขนาดและวิธีใช้ 
         ชนิดผง รับประทานครั้งละ 1 – 2 กรัม ละลายน้ำสุก วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร 
         ชนิดแคปซูล รับประทานครั้งละ 1-2 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร 
         ข้อห้ามใช้ ห้ามใช้ในหญิงตกเลือดหลังคลอด หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้ 
         ข้อควรระวัง ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของ ตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูร และเกิดพิษได้ 

    2.รักษาด้วยการกดนวด แก้อาการปวดประจำเดือน โดย พท.ป ธีรชัย ปิ่นทอง แพทย์แผนไทยประยุกต์ 

          2.1 นวดแนวเส้นต้นขาด้านหน้า เปิดลม 
          2.2 นวดแนวเส้นขาด้านหลัง เส้น 1, 2 พิเศษ 
          2.3 นวดแนวหลังเส้น 1 แล้วนวดกดจุดแนวจุดท้าวสะเอว และกดจุดสัญญาณ 2 หลังกด 3-4 รอบ เปลี่ยนข้าง ทำเหมือนกับ ข้อง 2.2.1 2.2.2 2.2.3 
          2.4 นอนหงายกดนวดท้องท่า แหวก นาบ กดจุดเหนือหัวเหน่า ต่ำจากสะดือ 4 นิ้วมือกดนิ่ง 10 วินาที กดจุดท่าฝืนมดลูก กรณีตรวจพบก้อนลมที่เหนือมุมหัวตะคาก กึ่งกลางระหว่างสะดือ ฝืนขึ้นกด 4-5 ครั้ง ช่วยในเรื่องปัสสาวะไม่สุดได้ กดเส้นปัตคาด รัตคาด สัณฑคาด 

    ข้อแนะนำ

  • ควรนวดเพื่อลดอาการปวดประจำเดือน ก่อนประจำเดือนมาประมาณ 7 วัน และหลังประจำเดือน 7 วัน แล้วหมั่นใช้น้ำร้อนประคบตรงที่ปวด หมั่นนอนพัก และดื่มน้ำอุ่น
  • กรณีมีประจำเดือนมาแล้ว หากต้องการคลายกล้ามเนื้อหลังและท้องน้อย ให้ใช้เฉพาะฝ่ามือคลึงกดเบาๆ นวดได้เฉพาะท่านอนหงาย ละท่าคว่ำด้วยฝ่ามือเต็มๆมือสำหรับท่าคว่ำเวลากดที่บั้นเอวและบริเวณอุ้งเชิงกราน จะทำให้รู้สึกสบายประจำเดือนจากมามากในคืนนั้น และระยะเวลาประจำเดือนที่มารอบนั้นสั้นลง
  • งดอาหารแสลงต่างๆ

ท่ายืนบริหาร


      ท่าที่ 1 ยืนตรง ยกแขนขึ้น โน้มตัวลงมาให้ปลายนิ้วมือแตะปลายเท้า แล้วยกแขนขึ้นตรงๆ แอ่นตัวไปด้านหลังให้มากที่สุด 
      ท่าที่ 2 เอามือจับเอวทั้งสองข้าง ขาเหยียดตรง กางขาออกเล็กน้อย บิดเอวไปทีละข้าง ซ้าย – ขวา 


ท่านอนนวดตนเอง

  • นอนหงาย ชันเข่าทั้งสองข้างขึ้นจากนั้นใช้มือทั้งสองกดลงบนสะดือ 
  • เขย่ามือทั้งสองขึ้นลงประมาณ 5 นาที จากนั้นผ่อนมือมาดไว้ที่สะดือตามเดิม
  • ใช้ฝ่ามือทั้งสองลูบท้องตั้งแต่ใต้สะดือวนไปทางซ้าย 10-20 รอบทุกวัน จะทำให้ถ่ายสะดวกขึ้น

 

แนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย

  1. ดื่มน้ำเย็นเพียงบางครั้ง
  2.  ระหว่างมีประจำเดือนห้ามกินน้ำมะพร้าวอ่อน
  3.  กินอาหารให้เหมาะกับธาตุเจ้าเรือน
  4.  ระหว่างมีประจำเดือนกินอาหาร และดื่มน้ำสมุนไพร รสเผ็ดร้อน เช่นน้ำขิง น้ำตะไคร้ น้ำกระเพรา น้ำกระชาย แกงส้ม ต้มยำ ผัดขิง น้ำพริก เป็นต้น

การติดตามประเมินผลการรักษา

     นัดหมายให้ผู้ป่วยมาตรวจเพิ่มติดตามอาการและประเมินผลการรักษา เมื่อครบรอบเดือน 

ข้อควรระวัง 
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการ ดังนี้ 

     1. ปวดประจำเดือนมากขึ้นเรื่อยๆ ๙งอาจจะเป็นที่มาของการเกิดโรค เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกของกล้ามเนื้อมดลูก และปีกมดลูกอักเสบ 
     2. ประจำเดือนมีจำนวนมากกว่าปกติ และหรือ มีช่วงวันที่เป็นประจำเดือนผิดปกติ (ปกติ อยู่ในช่วง 3-7 วัน) 
     3. ประจำเดือนมาแนบกะปริบกะปรอย คือมาครั้งละ 2-3 วัน แล้วหยุด และเป็นอีกมากกว่า 1 ครั้ง ในแต่ละเดือน ซึ่งอาจเป็นการตั้งครรภ์หรือ โรคทางนรีเวช ให้ส่งต่อไปผู้ไปตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจอย่างละเอียดต่อไป 

เรายินดีที่จะรับฟังความคิดเห็นของคุณ

แสดงความคิดเห็น

Logo
รายการเปรียบเทียบ
  • Total (0)
เปรียบเทียบ
0