fbpx

โรคลมผิดเดือน ภาวะวัยทอง

       สมุฏฐานแห่งโรค 

     ๑. สตรีที่อยู่ในขณะตั้งครรภ์ไปจนถึงคลอดระบบภายในร่างกายจะเสียสมดุลไป เพราะระหว่างการตั้งครรภ์มารดาต้องส่งสารอาหารไปเลี้ยงทารกผ่านสายสะดือ ในระหว่างคลอดบุตรก็ต้องใช้ลมเบ่งและเสียเลือดมากจึงทำให้ร่างกายของสตรีหลังคลอดบุตรอยู่ใน “ภาวะเย็น”(กล่าวคือ อยู่ในภาวะเสมหะกำเริบ ปิตตะ และ วาตะหย่อน) หมอแผนโบราณไทยจึงทำการปรับสมดุลร่างกายโดยเสริมธาตุไฟ และมีข้อห้ามมิให้สตรีคลอดบุตรใหม่กระทบสิ่งเย็นทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อม การบริโภคอาหรและน้ำโดยจะต้องให้ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะร้อนหรือการอบอุ่นตลอดเวลา โดยมีข้อปฏิบัติหรือข้อห้ามให้หญิงคลอดบุตรใหม่ต้องปฏิบัติภายใน 1 เดือนหลังคลอด ที่เรียกว่า “การอยู่เดือน” 

     หากหญิงหลังคลอดไม่ปฏิบัติตามข้อห้ามต่างๆ เช่น ในช่วงหลังคลอดปรับประทานอาหารเย็นหรือดื่มน้ำเย็น รวมทั้งการสูบกลิ่นไอแสลงต่างๆ ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่เรียกว่าโรค “ลมผิดเดือน”โดยมีสาเหตุการเกิดอาการ ๓ ประการ ดังนี้ คือ 

        ๑.๑ การ ”กินผิด” หมายถึง พฤติกรรมการกินของหญิงหลังคลอบุตร ขณะที่อยู่เดือน ได้ละเลยการควบคุมการรับประทานอาหาร โดยรับประทานอาหารแสลงและอาหารที่เย็น หรือยาที่แสลงกับโรค กับธาตุ เช่น ของหมักดอง อาหารที่มีกลิ่นแรง เช่น น้ำปูปลาร้า กะปิ เนื้อสัตว์ เนื้อวัว เนื้อควาย เป็นต้น ทำให้เกิดอาการผิดสำแดง (อาการแพ้) ในลักษณะต่าง ๆ เช่น วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดตามข้อ กล้ามเนื้อในรายที่เป็นรุนแรงอาจเป็นอัมพาตได้ 

        ๑.๒ การ “สาบผิด” หมายถึง สภาวะที่ร่างกายของหญิงหลังคลอดบุตรยังไม่แข็งแรงเนื่องจากเลือดลมที่ไม่ปกติ จึงทำให้มีภูมิต้านทานของร่างกายน้อยเมื่อได้รับกลิ่นหรือสูบดม กลิ่นไอควันที่เป็นพิษที่แสลงกับเลือดลม เช่น กลิ่นเผาขยะ กลิ่นควันรถยนต์ กลิ่นน้ำหอม กลิ่นสารเคมี เป็นต้น ทำให้กิอาการแพ้กลิ่นทันที เช่น วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะอย่างแรง ปวดตามข้อ กล้ามเนื้อ หน้ามืดตาลาย แน่นหน้าอก ผื่นขึ้นบวมบริเวณใบหน้า ในรายที่เป็นรุนแรงอาจชักสลบ ลิ้นกระด้างคางแข็ง 

        ๑.๓ การ “อยู่ผิด” หมายถึง อาการแพ้ที่เกิดจากการที่หญิงหลังคลอดบุตรไปอาบน้ำเย็นหรือถูกน้ำเย็นซึ่งสภาวะร่างกายยังอ่อนแอ และไม่สามารถปรับอุณหภูมิในร่างกายให้มีความต้านทานความเย็นของน้ำและส่งแวดล้อมภายนอก จึงทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น หนาวสั่นผิดปกติ ปวด ตามกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย ในข้อในกระดูก เมื่ออาการเย็นจัดจะทำให้มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง มือ เท้าเย็นอยู่ตลอดเวลา โดยอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการที่เลือดลม ภายในร่างกายแปรปรวนทำให้เกิดการติดขัดข้องของลมภายในร่างกายตามพื้นที่ว่างในกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น 

     ๒. ตามภูมิปัญญาแต่โบราณกล่าวว่าเมื่อเข้าหน้าร้อน แต่ลมฝนมา แต่ลมหนาวมา ลมมาผิดเดือน โบราณหมายเปรียบกับอาการหมดประจำเดือน ที่เป็นทั้งหญิงและชายถึงแม้จะไม่มีระบบประจำเดือน เช่นหญิงก็ตามหมอไทยกล่าวไว้ว่า มีเชื้อเพศหญิงสถิตในหญิง มีเชื้อเพศชายสถิตอยู่ในชายและยังกล่าวอีกว่าในความเป็นชายก็มี ความเป็นหญิงแทรกอยู่ ในความเป็นหญิงก็มีความเป็นชายแทรกอยู่ เนื่องแต่เรามาจากพ่อและแม่ ปัจจุบันคือเรื่องของฮอร์โมนเพศนั่นเอง ลมผิดเดือนโดยปกติมักเกิดขึ้นกับปัจฉิมวัย (วันสุดท้าย) โดยเริ่มนับแต่อายุ ๓๒ จนสิ้นอายุขัย เป็นวัยที่ลมกำเริบได้ง่าย รวมถึงลมผิดเดือนด้วย แต่จะเกิดขึ้นในช่วงอายุเท่าใด จะเกิดขึ้นเมื่อใด จะเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ 

     ๓. ในหญิงที่มีภาวะมดลูกเคลื่อน มดลูกตะแคง มดลูกลอยออกจากอู่ของมดลูก ทำให้การขับเลือดเสียไม่เกลี้ยงเกลาตกค้าง และกลับย้อนไปมีผลต่อสุขภาพภายหลังอีกทำให้รังไข่ทำงานผลิตฮอร์โมนไม่ปกติเพราะมดลูกเคลื่อนจากอู่ ทำให้เส้นเอ็นที่ยึดกับรังไข่ถูกดึงรั้งไปด้วย ซึ่งมักมาจากมดลูกบวมพอง ปากมดลูกพองทำให้ปากมดลูกปิดไม่สนิท มีการติดเชื้อง่าย 

     ๔. หญิงระหว่างมีประดำเดือนและไม่ระมัดระวังเรื่องอาหารการกินโดยชอบกินน้ำเย็น ของเย็นจัดน้ำแข็งหรือน้ำมะพร้าว ทำให้เลือดหยุดได้ เกิดการตกค้างของเลือดนำไปสู่ไข้ทับฤดู ระดูทับไข้และนำไปสู่โรคลมผิดเดือนได้ในที่สุด เหตุเพราะเลือดเดินไม่สะดวกเลือดเสียย้อนกลับเข้ามีผลต่อลมปกติ 

     ๕. พันธุกรรม หญิงชายที่มีบิดา มารดามีภาวะวัยทองหรือมารดามีภาวะลมผิดเดือน หรือหญิงใดมีพันธุกรรมโรคกษัย เช่น มีอาการทางกษัยตัวตัวหนึ่ง โดยเฉพาะกับปลาดุก กษัยไฟ กษัยกร่อนไฟ(ไทรอยด์) จะมีโอกาสมีภาวะวัยทองหรือลมผิดเดือนมากกว่าคนอื่นๆ และคนในกลุ่มนี้มักมีโรคกษัยเรื้อรังนำมาก่อน 

     ๖. ความเครียด เป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้ธาตุทั้ง ๔ ตรีสมุฏฐานเสียสมกุล ทำให้อพัทธะปิตตะ (ฮอร์โมนแห่งความสุข) ที่ศอเสมหะ ลดลง และเป็นเหตุให้อพัทธะปิตตะที่อุระและคูถเสมหะลดลง จึงก่อให้เกิดอาการกำเริบทางเลือดลม 

     ลักษณะอาการของโรค

  • วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เป็นลมแน่นในท้อง ปวดตามร่างกาย ในข้อในกระดูก หนาวสั่นร่างกายอ่อนเพลีย ซูบผอม เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ในรายการที่มีอาการ รุนแรงอาจถึงขั้นเสียสติ เป็นบ้าได้
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • ร้อนๆหนาวๆ เหงื่อแตก ใจสั่น เนื่องแต่กำระส่ำระส่ายกำเริบ
  • บางทีตัวรุมๆ เหมือนจะมีไข้ เนื่องแต่กำเดาอุ่นกายกำเริบ
  • ท้องอืดพอง อาหารไม่ย่อย กินได้น้อยลง เนื่องแต่กำเดาย่อยหย่อน
  • ผิวแห้งเหี่ยวไม่สดใสแต่งตึง เนื่องจากกำเดาเสื่อมโทรม
  • เส้นผมหยาบ แห้งบางลง หลุดร่วงง่าย
  • ไม่สบายเนื้อสบายตัว อึดอัดบอกไม่ถูก หงุดหงิดง่าย จู้จี้ผิดปกตินิสัย
  • ใจร้อน ใจเร็วขึ้นกว่าผิดปกติมาก
  • ชีพจรเส้นไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวเร็ว เดี๋ยวช้า ความดันขึ้นๆ ลงๆไม่ค่อยเสถียร
  • วิงเวียนหน้ามืด ตาลาย ทรงตัวไม่อยู่
  • กลัดกลุ้มคิดมาก คิดเองคนเดียว วิตกกังวลสูง หลงลืมง่าย ซึมเศร้า
  • นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย พลิกไปพลิกมา
  • ในเพศชายอาจเสื่อมสมรรถนะทางเพศชั่วคราว


     ในอาการทั้งหมดไม่จำเป็นต้องเป็นทุกอาการตามกล่าว แต่ละคนจะมีอาการต่างๆกันไป และในการบำบัดรักษานั้น หมอไทยรักษาทั้งกายและทาใจตามอาการที่ต่างกันนั้น 
ทางกาย ให้ทำกิจกรรมมากขึ้น เช่น เรียนที่น่าสนใจเพิ่มเติม ให้เข้ากลุ่มทางสังคม เช่น ไปเยี่ยมเพื่อนวัยเดียวกันบ่อยๆ ให้ปฏิบัติสงบใจด้วยตนเอง 
ลมผิดเดือนเป็นเพียงอาการชั่วครั้งชั่วคราว ไม่ได้เจ็บป่วย หายได้ และจะกลับเป็นใหม่ สลับไปมาหมั่นดูแลรักษากายใจและเมื่อมาตั้งสติให้มั่น พบแพทย์ถ้าอาการไม่ดีต่อเนื่อง หรือลองทำน้ำกระสายยากินดูเมื่อลมผิดเดือนเข้าดังนี้ 

     การรักษาโรค 

   หลักการวางยาแก้ลมผิดเดือน หรือาวะวัยทอง

  • รุ : รุกำเดาอุ่นกาย (ยากล่อมนางนอน ยาเขียวหอม ยาประสะจันทร์แดง) รุเถาดานในช่องท้อง รุเลือดให้สะอาด (ยาถ่ายสามัญ) รุอารมณ์ให้สงบ (ยาหอมเย็น น้ำกระสายยา ที่ช่วยสงบ เช่น ชุมเห็ดเทศ เม็ดชุมเห็ดไทย ใบมะกล่ำตาช้าง)
  • ล้อม : ล้อมกองหทัยาวตะ (ยาหอมเทพจิต) ล้อมลมสูงให้ลงล่างล้อมลมในช่องท้อง (ยาหอมนวโกศ ยาหอมอินทร์จักร)
  • รักษา : รักษาเชื้อเพศที่พร่องให้เพิ่มขึ้น (น้ำกระสายยาวัยทองตามเพศ) รักษาบำรุงเลือดให้บริบูรณ์ (ยาบำรุงโลหิต, ยาฟ้าชมจันทร์, ยาลมผิดเดือน, ยาแสงจันทร์งาม) รักษาให้กินได้นอนหลับสบายใจ


หลักการวางยาแก้โรคโลหิตสตรี ตามคัมภีร์มหาโชตรัตน์

  • ยาพรหมภักตร์ : รุ ประจุโลหิต ผายโลหิต ฟอกโลหิต ถ่ายโลหิตอันพิการออกสิ้น
  • ยาบำรุงไฟธาตุ : ล้อม ลมในช่องท้อง เปิดทางเดินเลือดลม บำรุงธาตุไฟหาตุทั้ง ๔บริบูรณ์
  • ยาบำรุงโลลหิต : รักษา บำรุงเลือดให้บริบูรณ์
  • ยาสังข์วิไชย : แก้โลหิตทำพิษต่างๆ แก้ลมทั้งปวง


   หมายเหตุ

  • ให้นำตำรับยาแก้ลมเกิดในพัทธปิตตะ ๔ จำพวก วางล้อมตามกลุ่มอาการ
  • ลมหทัยวาตะ (น้ำดีพิการ ส่งผลต่อจิตใจ Mental)
  • ลมสัตถวาตะ (ลมเกิดเพื่อสัณฑฆาต ระบบประสาท)
  • ลมอัษฎากาศ (ลมเกิดแต่อนันตจักรวรรดิ ระบบสมอง)
  • ลมสุมนาวาตะ (ลมเกิดแต่กองอัมพฤกษ์ ระบบประสาทรับรู้ และสั่งการ)
  • ถ้าผู้ป่วยมีภาวะไทรอยด์ร่วม ให้นำยาในกษัยกร่อนไฟมาใช้ร่วมกับการรักษาด้วยและให้แยกว่าเป็นแบบปิตตะหย่อน (Hypothyroid) หรือปิตตะกำเริบ (Hyperthyroid) และให้วางยาล้อมไปตามอาการ



Cr.คู่มือปฏิบัติแพทย์แผนไทยสำนักงานสาธารณสุขเชียงใหม่

เรายินดีที่จะรับฟังความคิดเห็นของคุณ

แสดงความคิดเห็น

Logo
รายการเปรียบเทียบ
  • Total (0)
เปรียบเทียบ
0