fbpx

โรคไข้หวัด

        สมุฏฐานการเกิดโรค

  •  เกิดจากการเปลี่ยนของฤดู

        ๑.๑. สมุฏฐานฤดู

คิมหันตะฤดู (ฤดูร้อน) เป็นพิกัดแห่งปิตตะสมุฏฐาน

วัสสานะฤดู (ฤดูฝน) เป็นพิกัดแห่งวาตะสมุฏฐาน

เหมันตะฤดู (ฤดูหนาว) เป็นพิกัดแห่งเสมหะสมุฏฐาน

         ๑.๒.เกิดจากการเปลี่ยนผ่านจากฤดูหนึ่งเข้าสู่อีกฤดูหนึ่งร่างกายต้องปรับธาตุเตโช วาโย อาโปเพื่อให้สมดุลกับฤดูกาลใหม่ และในฤดูนั้นมิได้มีสมุฏฐานเดียวจะมีสมุฏฐานของฤดูข้างเคียงมาเจือกระทบ

               ๑.๒.๑.  การเปลี่ยนฤดูหนาวเข้าฤดูร้อน  ฤดูร้อนเป็นพิกัดแห่งปิตตะสมุฏฐานแต่ช่วงต้นฤดูจะมีเสมหะสมุฏฐานเจือกระทบ เมื่อสิ้นฤดูหนาวคงมีแต่ฤดูร้อนจึงเป็นพิกัดแห่งปิตตะสมุฏฐาน ปลายฤดูร้อนเคลื่อนเข้าฤดูฝนจะมีพิกัดแห่งวาตะสมุฏฐานเจือกระทบเช่นกัน

               ๑.๒.๒. การเปลี่ยนฤดูร้อนเข้าฤดูฝน ฤดูฝนเป็นพิกัดแห่งวาตะสมุฏฐานแต่ช่วงต้นฤดูจะมีปิตตะสมุฏฐานเจือกระทบ เมื่อสิ้นฤดูร้อนคงมีแต่ฤดูฝนจึงเป็นพิกัดแห่งวาตะสมุฏฐานปลายฤดูฝนเคลื่อนเข้าฤดูหนาวจะมีพอกัดแห่งสมุฏฐานเจือกระทบเช่นนั้น

               ๑.๒.๓. การเปลี่ยนฤดูฝนเข้าฤดูหนาว ฤดูหนาวเป็นพิกัดแห่งเสมหะสมุฏฐาน แต่ช่วงต้นฤดูจะมีวาตะสมุฏฐานเจือกระทบ เมื่อสิ้นฤดูฝนคงมีแต่ฤดูหนาวจึงเป็นพิกัดแห่งเสมหะสมุฏฐาน ปลายฤดูหนาวเคลื่อนเข้าฤดูร้อนจะมีปิตตะสมุฏฐานเจือกระทบเช่นกัน ดังนั้นเหตุแห่งการเกิดโรคเนื่องจากการเปลี่ยนของฤดูมีสามสาเหตุระคนกัน ปิตตะ วาตะ เสมหะ

ลักษณะอาการของโรค

  • ไข้หวัดน้อย (Common cold / Upper respiratory tract infection / URI)

     มีไข้ตัวร้อนเป็นช่วงๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย ปวดหนักศีรษะเล็กน้อย เป็นหวัดคัดจมูก น้ำมูกใสๆไอจาม คอแห้ง อาจเจ็บคอเล็กน้อย หรือมีเสมหะสีขาวเล็กน้อย อาจรู้สึกเจ็บแถวลิ้นปี่เวลาไอ ในผู้ใหญ่อาจไม่มีไข้ ในเด็กมักจับไข้ขึ้นมาทันทีทันใด  อาจมีไข้สูงและชัก ท้องเดินอาจมีมุก ถ้าเป็นอยู่เกิน 4 วัน อาจมีน้ำมูกข้นเหลืองหรือเขียว หรือไอมีเสมหะเป็นเหลือเขียว และอาจมีอาการอื่นๆ แทรกซ้อนตามมาเมื่อตรวจจะพบว่า มีไข้ไม่สูงมาก มีน้ำมุก เยื่อจมูกบวมและแดง คอแดงเล็กน้อย ในเด็กอาจพบต่อมทอนซิลอักเสบ

  • ไข้หวัดใหญ่ (Influenza / Flu)

     มีอาการไข้สูงหนาวๆ ร้อนๆ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณกระเบนเหน็บและต้นแขนต้นขา ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ขมในคอ อาจมีเจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกใส ไอแห้งๆ จุกแน่นท้อง บางรายอาจไม่มีอาการคัดจมูกหรือ เป็นหวัด มักเป็นไข้อยู่ 2-4 วัน แล้วค่อยๆ ลดลง บางคนเมื่อหายแล้วอาจมีอาการวิงเวียน เมื่อตรวจจะพบว่า มีไข้ 39.5-40 องศาเซลเซียส หน้าแดง เปลือกตาแดง อาจมีน้ำมูกใสคอแดงเล็กน้อยหรือไม่แดงเลย

การรักษาโรค

  • ปรุงยาแก้อาการตามสมุฏฐานโรค โดยหลักเภสัชกรรมไทย

– ไข้เพื่อเสมหะใช้ยารสสุขุม ได้แก่โกศต่างๆ เทียนต่างๆ กฤษณา กระลำพัก ชะลูด ขอนดอก หญ้าฝรั่น

– ไข้เพื่อปิตตะ ใช้ยารสเย็น ได้แก่ ใบไม้ที่มีรสเย็น เกสรดอกไม้ที่ไม่ร้อน

  ไอ ใช้ยารสเปรี้ยวกัดเสมหะ เช่น มะขามป้อม

  • ใช้ยาในบัญชีหลักแห่งชาติ

๒.๑. ผู้ป่วยมีอาการไข้สูง กระหายน้ำ ไม่มีเสมหะ ตาแดง ตัวร้อนปากขม

วินิจฉัย  ไข้เพื่อกำเดา ยาที่ใช้ 2 ประเภท ยาบรรเทาอาการไข้ ได้แก่ ยาเขียวหอม และจันทลีลาตรีผลาใช้เพื่อปรับธาตุทั้งสี่ให้สมดุล

ยาที่ใช้ในการรักษาโรค

  • ยาเขียวหอมบรรเทาอาการไข้ ร้อนในระหายน้ำ
  • ยาจันทลีลา บรรเทาอาการไข่ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู
  • ยาตรีผลา ยาประจำฤดูร้อน ช่วยปรับธาตุเตโช วาโย อาโปให้สมดุลกับฤดูร้อน

๒.๒. ผู้ป่วยมีอาการไข้ เจ็บคอ ตัวร้อน

วินิจฉัย  ไข้กำเดามีการติดเชื้อ ยาที่ใช้ ๒ ประเภท ฟ้าทะลายโจร และตรีผลายาที่ใช้ในการรักษาโรค

ยาที่ใช้ในการรักษาโรค

  • ฟ้าทะลายโจร
  • ตรีผลา

        ๒.๓. ผู้ป่วยมีอาการไข้ ร้อนๆหนาวๆ กระหายน้ำ วิงเวียน เหงื่อออกขนลุกอาเจียน มีน้ำมูก ไอ   ไม่อยากอาหาร ปวดเมื่อยทั่วตัว

วินิจฉัย  ตรีโทษยาที่ใช้ 3 ประเภท ยาบรรเทาอาการไข้ ยาหอม และยาแก้ไข้ ยาหอม และยาแก้ไอ

ยาที่ใช้ในการรักษาโรค

  • ยาจันทลีลา
  • ยาหอมทิพโอสถ
  • ยาหอมเทพจิตร
  • ยาแก้ไอผสมกานพลู
  • ยาแก้ไอมะขามป้อม

คำแนะนำการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย

  • กินอาหารตามธาตุเจ้าเรือน
  • นอนพักมากๆ ห้ามทำงานหนักหรือออกกำลังกายมากเกินไป
  • สวมเสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่น อย่าถูกในหรือถูกอากาศเย็นจัด และอย่าอาบน้ำเย็น
  • ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยลดอาการไข้และทดแทนน้ำที่เสียไปเนื่องจากไข้สูง
  • ควรกินอาหารอ่อน น้ำข้าว น้ำหวาน หรือเครื่องดื่มร้อนๆ
  • ระวังอย่าให้เกิดแผล ห้ามนวด อบ ประคบ
  • ใช้ผ้าชุบน้ำ (ควรใช้น้ำอุ่นหรือน้ำก๊อกธรรมดา อย่าใช้น้ำเย็นจัดหรือน้ำแข็ง) เช็ดตัวเวลาที่มีไข้สูง

ข้อควรระวัง

  • กรณีที่ผู้ป่วย มีอาการหอบหายใจขัดมาก ไอหรืออาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือดไม่ว่าสีแดงสดหรือดำ ท้องอืดมากตับหย่อน ซัก ผิวซีดเหี่ยว กินอาหารไม่ได้ ตาลอยไม่ได้สติ คอแข็งก้มหรือเอียงไม่ได้ มีจ้ำเลือดตามผิวหนัง หรือมีไข้สูงนานเกิน 7 วัน หรือเมื่อให้นาแล้วไข้ไม่ลด ต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลทันที
  • กรณีที่ผู้ป่วย มีอาการไข้สูง ปวดเมื่อยและไม่มีอาการอื่นๆ ชัดเจน อาจมีสาเหตุจากโรคอื่นๆ ในระยะเริ่มแรกก็ได้ เช่น ไข้รากสาดน้อย ตับอักเสบจากไวรัส ไข้เลือดออก หัด จึงควรสังเกต อาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชัด ถ้ามีอาการอื่นๆ ปรากฏให้เห็นควรให้การรักษาตามโรคนั้นๆ ผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดมักมีไข้ ไม่เกิน 7 วัน
เรายินดีที่จะรับฟังความคิดเห็นของคุณ

แสดงความคิดเห็น

Logo
รายการเปรียบเทียบ
  • Total (0)
เปรียบเทียบ
0