โรคไมเกรน ลมปะกัง

สมุฎฐานการเกิดโรค
ลมปังกัง หรือลมตะกัง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า ชื่อโรคลมชนิดหนึ่งตามตำราแพทย์โบราณว่า ทำให้มีอาการปวดหัวเวลาเช้าๆ ปวดกระบอกตาเมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น
- ลมปะกังเข้าแนวอิทา กล่าวไว้ว่าอาการตัวรอน วิงเวียนปวดหัวมาก
- ส่วนเส้นปิงคลากล่าวไว้ว่าหน้าตาแดง ปวดหัวแต่เช้าถึงเที่ยง ปวดหัวมาก ชักปากเอียง คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม เจ็บน้ำตาไหล
- สหัสรังสี มีลมจักขุนิวาตประจำเส้น มีอาการเจ็บประบอกตา วิงเวียนตาพร่า ลืมตาไม่ได้
- ในพระคัมภีร์ชวดารกล่าวถึงลมชนิด หนึ่ง:ชื่อว่า “ลมดำเดา” โทษจากลมระคนกำเดา มีอาการวิงเวียนหน้ามืด ตาลาย ตามืด ตาพร่า หนักศีรษะ เจ็บศีรษะ เจ็บตา
- ส่วนไมเกรนในวิกีพีเดียกล่าวว่า โรคไมเกรนหรือโรคปวดหัวข้างเดียว (อังกฤษ : migraine ) เป็นความผิดปกติทางปราสาทเรื้อรังอย่างหนึ่ง ลักษณะเด่นคือปวดศีรษะปานกลางถึงรุนแรงเป็นซ้ำ
- มักสัมพันธ์กับอาการทางระบบประสาทอิสระจำนวนหนึ่งตรงแบบ อาการปวดศีรษะมีผลต่อศีรษะครึ่งซีก มีสภาพปวดตามจังหวะ (หัวใจเต้น) กินเวลาตั้งแต่ ๒ ถึง ๗๒ ชั่วโมง
- อาการทีสัมพันธ์อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน และไวต่อแสง เสียงหรือกลิ่น
- โดยทั่วไปความเจ็บปวดรุนแรงขึ้นจากกิจกรรมทางกาย
- ผู้ป่วยไมเกรนถึงหนึ่งนามมีสัญญาณบอเหตุ (aura) คือ การรบกวนภาพ การรับความรู้สึกภาษาหรือการสั่งการร่างกายซึ่งบ่งบอกว่าจะเกิดปวดศีรษะในไม่ช้า
- บางครั้งสัญญาณบอกเหตุเกิดได้โดยมีการปวดศีรษะตามมาน้อยหรือไม่ปวดเลย
- ไมเกรนมีสาเหตุจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรมผสมกัน
- ผู้ป่วยประมาณสองในสามเป็นในครอบครัว
- การเปลี่ยนระดับฮอร์โมนผสมกัน เพราะไมเกรนมีผลต่อเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อยก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ แต่ในผู้ใหญ่ แต่ในผู้ใหญ่ หญิงเป็นมากกว่าชายประมาณสองถึงสามเท่า
- ความเสี่ยงของไมเกรนปกติลดลงระหว่างการตั้งครรภ์
- ยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัดของไมเกรน แต่เชื่อว่าเป็นความผิดปกติของระบบปราสาทควบคุมหลอดเลือด
ทฤษฎีหลักสัมพันธ์กับการเร้าได้ (excitability) ทีเพิ่มขึ้นของเปลือกสมองและการควบคุมผิดปกติของเซลล์ประสาทรับความเจ็บปวดในนิวเคลียสของประสาทไทรเจมินัลในการสมอง หากอ่านโดยพิจารณาแต่ต้นพบว่า ลมปะกัง กับการไมเกรน เป็นคนละอาการกันในแพทย์แผนไทยนั้นไม่มีอาการปวดหัวข้างเดียวมีเพียงปวดหัวเท่านั้น แลลมปะกังเกิดแต่วาตะเป็นอาการปลายปิตะเป็นอาการต้น ส่วนไมเกรนคืออาการผิดปรกติไปของธาตุดินเกี่ยวกับมัตเก (ระบบสมอง) มัตถลุง (ระบบประสาท) แผนตะวันออกนั้นมุ่งที่ตรีธาตุ แต่แผนตะวันตกมุ่งที่ธาตุดิน หลักคิดนั้นต่างกัน จึงนำมาเทียบอาการให้สมกันมิได้ลมปะกังคือลมปะกัง ไมเกรนคือไมกรน ลมปะกังมิใช่ไมเกรน ไมเกรนก็มิใช่ลมปะกัง แต่หากเป็นไมเกรนให้ใช้วิธีบำบัดแบบลมปะกังด้วยหลักการผันไปแห่งตรีธาตุไม่ใช่ธาตุดิน หากตรีธาตุปรกติธาตุดินจึงคืนกลับเดิม
คำอธิบายว่าด้วยธาตุไฟกับอาการไมเกรน
– ไฟอุ่นกาย คือเหตุที่เกิด ผลคือกำเดาอุ่นกาย
– ไฟย่อย คือเหตุที่เกิด ผลคือกำเดาย่อย
– ไฟระส่ำระส่าย คือเหตุที่เกิด ผลคือกำเดาระส่ำระส่าย
– ไฟเสื่อมไป คือเหตุที่เกิด ผลคือกำเดาเสื่อมไป
คำอธิบายว่าธาตุลมกับไมเกรน
– ลมมวลหยาบกับกำเดาอุ่นกาย
– ลมมวลละเอียดกับกำเดาอุ่นกาย
– ลมในไส้ คือเหตุที่เกิด ผลคือลมพัดขึ้นบน
– ลมนอกไส้ คือเหตุที่เกิด ผลคือลมพัดขึ้นบน
ลักษณะอาการของโรค
ลักษณะอาการของโรคไมเกรนแยกตามกองธาตุ
จากกองไฟ
1. ดวงตาร้อนผ่าวๆ สู้แสจ้ามิได้จากไฟอุ่นกาย
2. กายอุ่นขึ้นจับสะบัดร้อนสะบัดหนาวจากไฟระส่ำระส่าย
3. มือเท้าเย็นแต่แกนกลางลำตัวร้อนขึ้นถึงบนจากไฟอุ่นกาย
4. กองชีพจรเต้นแรงขึ้นไม่สม่ำเสมอจากไฟระส่ำระส่าย
5. ธาตุดินกองอันตัง กองอันตคุณัง กองยกนัง กำเริบจากไฟย่อย
6. ธาตุดินกองหทยัง กำเริบจากไฟระส่ำระส่าย
cr.คู่มือเวชปฎิบัติแพทย์แผนไทย
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ สมาพันธ์การแพทย์แผนไทยล้านนา