ไทรอยด์กับกษัยกล่อนไฟ

อาการของต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย
- ทนหนาวไม่ได้
- หนาเกินเหตุ
- ท้องผูก
- ประจำเดือนมามากผิดปกติ
- อ่อนเพลีย
- ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
- อ้วนฉุ เฉื่อยชา
- เสียงแหบ
- พูดได้ช้าลง
- ผิวหนังดูหนากว่าปกติ
- ผิวแห้ง ผมแห้ง
- เล็บแตกง่าย
- ใบหน้า รอบดวงตา มือ เท้าบวม โดยเฉพาะเมื่อตื่นนอน
- ซึมเศร้า
- อารมณ์แปรปรวน
- ขี้ลืม
- กลืนลำบาก
กลุ่มอาการ Subclinical Hypothyroidism เป็นภาวะที่พบได้บ่อย เป็นภาวะที่พบว่า TSH สูง โดยที่ค่า T4 T3 มีค่าปกติโดยที่ไม่มีอาการ
อาการผู้ป่วยคอพอกเป็นพิษ
- ผอมลงทั้งๆที่กินจุ
- หัวใจเต้นแรงและเร็ว
- เหงื่อแตก
- ใจสั่นมือสั่น
- เหนื่อยง่าย
- ทนอากาศร้อนไม่ได้
- กล้ามเนื้อแขนและขาลีบ
- อุจจาระบ่อย
- ท้องเสีย
- ประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ
- ผมเปราะ ผมร่วง
- หงุดหงิดง่าย
- กังวลเกินตุ
- อารมณ์แปรปรวน
- อ่อนเพลีย
- นอนไม่หลับ
- คอพอก
- ตาโปน
- ความดันโลหิตสูง
- ตัวร้อนรุมๆ
อาจมีต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม และอาจร่วมกับตาโปนทั้ง ๒ ข้าง เมื่อเกิดจากโรค Grave’s disease อาจมีปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์เกิดจากคอพอกเป็นพิษ หรืออามีต่อมไทรอยด์โตเจ็บ อาจร่วมกับมีไข้ เมื่อเกิดจากต่อมไทรอยด์อักเสบ
กษัยกร่อนไฟ : เกิดแต่สมุฏฐานเตโช (จากศิลาจารึกวัดโพธิ์)
จะกล่าวแต่กษัยอันบังเกิดเพื่อแต่โชธาตุเป็นปฐม กล่าวคือ เพลิงธาตุทั้ง ๔ มิได้เป็นปกติ จึงให้วิปริตแปรปรวนเป็นปต่างๆ บางทีตั้งในภาภีในอก บริโภคอาหารมิได้ บางทีให้จักษุปวดดังจะขาดใจตาย บางทีให้เภโทตกหนักทุกเส้นขน กระทำให้จักษุนั้นแดง ให้รุมเจ็บอยู่ในยอดอก ให้จับเพลาบ่าย แล้วให้บวมหน้า บวมหลัง บวมเท้า ถ้าแล้วทั้ง ๓ ฐาน ดังกล่าวมานี้ แพทย์จะเยียวยามิได้เลย ตามอาจารย์กล่าวไว้ดังนี้ ถาจะแก้ให้แก้ดูตามบุญโดยนัยสรรพคุณยาดังนี้
การวินัจฉัย
อาการ พัทธะปิตตะ (ตับ ม้าม ระบบไฟย่อย )เป็นเหตุให้ไฟกำเดาทั้ง ๔ มิได้เป็นปกติ และส่งผลต่ออพัทธะปิตตะ (มีนิ่วยูริค, พิษไข้, พิษกาฬ จับเอาที่พัทธะปิตตะ) ทำให้มีอาการวิปริตแปรปรวนเป็นไปต่างๆ เช่น แน่นท้อง จุกอก บริโภคอาหารไม่ได้ ลมร้อนตีขึ้นบนเพราะตับร้อนเนื่องจากเกิดการอักเสบภายในตับ เลือดวิ่งเข้าตับมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นที่ตา ทำให้มีภาวะปวดตา ตาแดง มึนตึงในศีรษะ ลมร้อนตีลงล่าง มีผลให้ คูถเสมหะคือไตทำงานเสียสมดุล ปัสสาวะอุจจาระขัด มีนิ่วยูริคจับที่กรวยไต ถ้าอักเสบเรื้อรังนำไปสู่ภาวะไตวายได้ ระบบขับย้ำของร้างกายเสียสมดุลก็จะไปกระทบระบบปอด และระบบหัวใจหลอดเลือด ทำให้มีอาการแน่นในอก และมีอาการปวดหน้า ปวดหลัง บวมเท้า วิ่งเข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรัง อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ เป็น (ลักษณะของไทรอยด์อักเสบแบบ Hypothyroid)
กษัยกร่อนไฟ (จากแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์)
อันว่ากษัยเพลิงนั้น มันเกิดด้วยกร่อนไฟ ด้วยธาตุไฟอันชื่อ อัคคีมุขคะ คือธาตุไฟพัดไม่ตลอด (ติดขัด) ดังอยู่เพียงที่อันนั้นและมันก็ให้วิปริตแปรปรวนไปต่างๆ บางทีมันตั้งขึ้นในทรวงอก (กระทำให้แน่นหน้าอก บริโภคอาหารมิได้ ) แล้วมันให้จุกขึ้นไปดังจะขาดใจตาย ให้รอนท้องร้อนหลัง (ปริณามัคคีพิการ , มีกรดในกระเพาะมาก) มันให้ร้อนดังไฟ (สันตัปปัคคีพิการ) ให้เหงื่อไหลตกทุกเส้นขน (ปริทัยหัคคีพิการ)
การวินิจฉัย
อาการ เป็นอาการของภาวะไทรอยด์เป็นพิษสืบเนื่องมาจากการเป็นกษัยที่เกี่ยวข้องกบระบบการย่อยอาหาร เช่น กษัยจุก กษัยลัน กษัยราก และเข้าสู่กษัยไฟจนเข้ากองกษัยกร่อนไฟ โดยไม่รีบรักษาให้หายเสียแต่แรกเริ่ม จึงส่งผลให้โลหิตเป็นพิษ และพิษโลหิต เป็นภาวะอักเสบเรื้อรัง และมีผลกระทบทำให้เกิดภาวะไตอักเสบเรื้อรัง ตึงส่งผลกระทบต่อหัวใจ หลอดเลือด และระบบหายใจ คือปวดทำงานหนัก ทำให้เกิดอาการวิปริตต่างๆ ในร่างกายที่เลือดไปหล่อเลี้ยง การอักเสบเรื้อรังภายในตับ และระบบพัทธิตตะมาจากนิ่มยูริค และส่งผลต่ออัคคีมุขคะซึ่งคือไฟที่คอ คือ อพัทธะปิตตะพิการ เกี่ยวข้องกับระบบฮอร์โมน Thyroxin ซึ่งผลิตจากต่อม Thyroid
สมุฏฐาน (ปิตตะ) เกิดแต่เพลิงธาตุทั้ง 4 มิปกติ
- ธาตุจุติ (เดือน ๔ , ๕, ๖ หรือเกิดในเดือน ๑, ๒, ๓) ธาตุไฟเป็นเจ้าเรือน
- อุตุ อยู่ในที่เย็นจัด, ร้อนจัดเป็นเวลานาน
- อายุ มัชฌิมวัย และปัจฉิมวัย (ช่วงมัชฌิมวัยเข้าวัยปัจฉิมวัย)วัยที่ต้องรับผิดชอบสูง เครียด
- กาล ช่วงปิตตะ (๑๐.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. )และ (๒๒.๐๐-๐๒.๐๐ น.)
- ประเทศร้อน อยู่ในที่ราบสูง
- อาหารรสเป็ดร้อน รสจัด รสหวาน ของหมักดอง ผงชูรส สารกันบูด สารกันรา สุรา เบียร์ สารเคมีต่างๆ ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง (DDT) เครื่องดื่มรสเย็นจัด อาหารที่มีฮอร์โมนเพศสูง เช่น ถั่วเหลือง
- อารมณ์ เครียด โกรธ มุ่งมั่น นำไปสู่ไฟสุมทรวง
- ออกกำลังกายมากเกินไป ทำงานมากเกินไป พักผ่อนน้อย ทำงานเป็นกะ
- นอนไม่หลับ นอนดึก หลับไม่ลึก (สารสุขที่ใช้ดูแลร่างกายไม่หลั่ง)
- เสพกามคุณมากเกินไป
- พันธุกรรม โรคกษัย นิ่ว เก๊า ทาลาสซีเมีย พาหะทาลาสซีเมีย
- อุจจาระขัด
- พัทธะปิตตะพิการ ส่งผลให้อพัทธะปิตตะพิการ เช่น โรคตับอักเสบ จากสุรา rirus (ไข้พิษกาฬ) จากนิ่วยูริ จาสารพิษต่างๆ
- กินยาบางชนิด เช่น ยาสมุนไพรลดความอ้วนที่ผสม Thyroxin Hormone
- อาโป : ดื่มน้ำน้อย ดื่มน้ำเย็นน้ำแข็ง
การปฏิบัติตัวในผู้ป่วยไทรอยด์
- เลี่ยงอาหารที่แสลง เช่น ของหมัก ของดอง หน่อไม้ เครื่องในสัตว์ วัว ควาย เป็ด ไก่ หรืออาหารแสลงต่อโรคเก๊า โรคกษัย ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ผงชูรส สารกันบูด สารกันร สารเร่ง เกลือสังเคราะห์ สุรา เบียร์ สารเคมีต่างๆ ยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลง (DDT)
- สมุนไพรล้างพิษ : รางจืด ผักบุ้งแดง เถาตำลึง ย่านาง ยอดต้นอ่อนผัก กระเฉด ยอดผักหวาน นำมาต้มดื่มต่างน้ำอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่า ๑ อย่างก็ได้
- อาหารสำหรับโรคไทรอยด์ : แกงผักเชียงดากับปลาแห้ง แกงแคใบชะพลู ใบโกสน ใบเล็บครุฑ และดอกงิ้ว แกงคั่วผักชะครามปูทะเล แกงส้มหรือผัดน้ำมัน หอยผกกะชับ (ผักขี้อ้น , หญ้าผมยุ่ง) แกงส้มผักกระเฉดหรือผัดไฟแดง ผักบุ้งไฟแดง ไข่ทอดดอกมะรุม ยอดมะรุมลวกจิ้มน้ำพริก แกงส้มดอกมะรุม แงเลียงหัวปลี ส้มตำลุกยอ ห่อหมกใบยอ ใบยอผัดผักบุ้งไฟแดง แกงดอกขี้เหล็ก สะเดาน้ำปลาหวานแกงส้มกุ้งยอดมะขาม น้ำมันรำข้าวกินก่อนนอน
- เครื่องดื่มสำหรับโรคไทรอยด์ : น้ำต้มตะไคร้ + รางจืด + ใบเตย น้ำคั้นระชาย + โหระพา + ใบบัวบก น้ำต้มลูกมะตูมอ่อนปิ้งไฟ หรือน้ำต้มลูกยอคั่ว ๑๐๐ mg มะตูมแหง ๕๐ mg หัวแห้วหมูคั่ว ๕๐ mg ต่อน้ำ ๑ ลิตร ต้มดื่มต่างน้ำ หรือก่อนอาหารและก่อนนอน เม็ดบัว + ลูกเดือยสุกปั่นกินช่วง ๑๘.๐๐-๒๑.๐๐ น.
- พืชผักผลไม้ที่ดีต่อโรคไทรอยด์ : กล้วยน้ำว้าสุก มะม่วงสุก มะม่วงกวน ลูกมะม่วงหาวสุก ลูกยอปิ้งไฟ มะตูมอ่อนปิ้งไฟ ทุกส่วนของมะรุม ทุกส่วนของักกระชับ ผักเสี้ยนผี ผักเสี้ยนกิน กระเทียม ข่าอ่อน ขิงอ่อน ไพล กะเม็ง ใบพิลังกาสา สมอไทย มะขามป้อม ถั่วเขียว ใบปอ ผักฮ้วนหมู
- (กระทุงหมาบ้า) ฟักข้าว ย่านาง น้ำต้มเถากระทกรก ชาชงใบมะกล่ำตาช้าง
- มีสติอู่กับกาย อิริยาบถ ลมหายใจ สวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ ฝึกลมหายใจ เข้าสบาย ออกสบาย อย่างน้อย ๒๐ นาที (ฮอร์โมนหนุ่มสาวจะหลั่งออกมาดูแลร่างกาย)
- นอนหลับก่อน ๔ ทุ่ม หรือ ๕ ทุ่ม ในที่ไม่มีแสงไฟ และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (ฮอร์โมนหนุ่มสาวจะหลั่ง)
- ออกกำลังกายเบาๆ ต่อเนื่อง เช่น เดินเร็ว ทำไท้เก๊ก ให้ได้ ๓๐ นาทีขึ้นไป (ฮอร์โมนหนุ่มสาวจะหลั่ง) ไม่ออกกำลังกายหรือทำงานมากเกินกำลังตน
- ล้างพิษด้วยสมุนไพรอาทิตย์ละครั้ง เช่น น้ำต้มผักบุ้งแดง ย่านาง รางจืด
- ดูแลโรคเรื้อรังนี้ให้หาย เช่น โรคตับอักเสบ กรดไหลย้อน โรคกระเพาะ โรคไต โรคนิ่วในไต นิ่วถุงน้ำดี โรคโลหิตจาง
- ยาพอก : เอาใบมะขามมากๆต้มเคี่ยว กรองเอาแต่น้ำ เคี่ยวต่อไปจนงวดข้น แต่อย่าให้ไหม้ แล้วเอายาดำเท่าๆกัน เคี่ยวลงไปด้วย พอกที่คอซึ่งบวมหรือโตหลายๆวันก็จะยุบ แก้คอพอกหรือคอโต
- ใช้รากและต้นผักขมหนามสด ๖๐ กรัม (อาจใช้น้ำตาลกรวด ๑๕ กรัม แทนได้ นำไปต้มแล้วทานตอนอุ่นๆ หลังอาหาร เช้า-เย็น ติดต่อกันอย่างน้อย ๑๐ วันขึ้นไป)
- ให้รับประทานใบมะรุมเป็นประจำ (หรือครั้งละ ๓ กรัม ก่อนอาหารเย็นหรือก่อนนอน วันละครั้ง) ในหญิง ๗๐% หายจากไทรอยด์เป็นพิษได้จากกรกินใบมะรุม
- รากกล้วยตีบนำมาล้างให้สะอาดตากแดดให้แห้งฉีกเป็นเส้นเล็กๆ คั่วไฟให้หอมนำมาดื่มเป็นชาต่างน้ำ หรือใช้ก้านของเครือกล้วยนำมาฉีกเป็นเส้นเล็กๆ ตากแห้งคั่วให้หอมมาทาชงมาทำชาชงดื่มต่างน้ำ
- เหง้าและต้นตะไคร้เก็บทางทิศตะวันออก ๓ กอๆ ละ ๑ ต้น นำมาฝนกับน้ำทั้งกินทั้งทา ทาลงอย่างเดียวกันทุกวันจนหาย (ทาที่คอที่ต่อมไทรอยด์)
- คอพอกให้เก็บตะไคร้ ๓ กอๆละ ๑ ต้น ทางทิศตะวันออกในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ, แรม ๑๕ ค่ำ , ขึ้น ๑ ค่ำ ทั้งกินทั้งทา ครั้งละ ๓ วันติดต่อกัน ถ้ายังไม่หายเอาข้าวปั้นกลม ๒ ก้อนพอกกับดินหม้อ ไปถูคอก่อนนอน