fbpx

ข้อสอบ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกันชีวิต


Question 1 of 37.

1.บริษัทประกันชีวิตใช้วิธีการใดในการกระจายความเสี่ยงภัยจากการรับประกันชีวิต

1. ก. เรียกเก็บเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยเพิ่มขึ้น
2. ข. รับประกันชีวิตเป็นจำนวนน้อยเพื่อจะได้ลดความเสี่ยงภัยจากการรับประกันชีวิต
3. ค. รับประกันชีวิตเป็นจำนวนมากเพื่อจะได้เฉลี่ยภัยที่จะเกิดขึ้นจากการรับประกันชีวิต
4. ง. รับประกันชีวิตเป็นจำนวนน้อยและเก็บเบี้ยประกันภัยสูง
Question 2 of 37.

2.การประกันชีวิตประเภทกลุ่มมีลักษณะเป็นอย่างไร

1. ก. บริษัทจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้กับสมาชิกคนละกรมธรรม์
2. ข. บริษัทจะออกใบสำคัญในการประกันชีวิตให้สมาชิกทุกคนภายใต้กรมธรรม์หลัก
3. ค. บริษัทออกกรมธรรม์หลักให้สมาชิกและออกใบสำคัญประกันชีวิตให้นายจ้าง
4. ง. ข้อ ก. และ ค. ถูก
Question 3 of 37.

3.การประกันชีวิตชนิดมีเงินปันผล และชนิดไม่มีเงินปันผล มีลักษณะที่แตกต่างกันคือ

1. ก. ระยะเวลาของการชำระเบี้ยแตกต่างกัน
2. ข. ระยะเวลาคุ้มครองแตกต่างกัน
3. ค. จำนวนเงินเอาประกันภัยแตกต่างกัน
4. ง. อัตราเบี้ยประกันภัยแตกต่างกัน
Question 4 of 37.

4.นาย ก. ต้องการควบคุ้มครองรายได้ที่แน่นอน เพื่อเลี้ยงชีพไปตลอดชีวิตในวัยชรา และไม่ต้องการเป้นภาระแก่ ลูกหลาน ท่านควรแนะนำให้นาย ก. ทำประกันชีวิตแบบใด

1. ก. แบบตลอดชีพ
2. ข. แบบชั่วระยะ
3. ค. แบบเงินได้ประจำ
4. ง. แบบสะสมทรัพย์
Question 5 of 37.

5.ข้อใดต่อไปนี้เป็นประโยชน์ของการประกันชีวิตแบบตลอดชีพ

1. ก. มีสิทธิกู้เงินได้หลังจากกรมธรรม์มีมูลค่าเงินสด
2. ข. มีอัตราเบี้ยประกันภัยตํ่ากว่าแบบสะสมทรัพย์
3. ค. เป็นการให้ความคุ้มครองระยะยาว
4. ง. ถูกทุกข้อ
Question 6 of 37.

6 .ผู้เอาประกันภัยซื้อการประกันชีวิตพร้อมด้วยสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองเฉพาะการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ เมื่อผู้เอา ประกันภัยประสบอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บแต่มิได้เสีย ผู้เอาประกันภัยจะได้รับเงินจำนวนเงิน

1. ก. ได้เต็มจำนวนเงินเอาประกันภัยอุบัติเหตุ
2. ข. ได้เท่าจำนวนที่จ่ายจริงเพื่อการศึกษา แต่ต้องไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยอุบัติเหตุ
3. ค. ได้สองเท่าของจำนวนเงินเอาประกันภัย
4. ง. ไม่ได้จำนวนเงินเอาประกันภัยเลย เพราะมิได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
Question 7 of 37.

7.บุคคลดังต่อไปนี้ ผู้ใดเป็นผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการพิจารณารับประกันชีวิตเบื้องต้น

1. ก. แพทย์
2. ข. นักคณิตศาสตร์ประกันภัย
3. ค. ตัวแทนประกันชีวิต
4. ง. พนักงานของบริษัท
Question 8 of 37.

8.ในการประกันชีวิตประเภทอุสาหกรรมบุคคลที่มีความสำคัญมากที่สุดในการพิจารณารับประกันชีวิต คือ

1. ก. แพทย์ผู้ตรวจสุขภาพผู้ขอเอาประกันภัย
2. ข. ผู้ขอเอาประกันภัย
3. ค. ตัวแทนประกันชีวิต
4. ง. ถูกทุกข้อ
Question 9 of 37.

9.โดยปกติการทำประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรม ไม่มีการตรวจสุขภาพผู้ขอเอาประกันภัย เพราะ

1. ก. เพื่อลดค่าใช้จ่ายของบริษัทประกันชีวิต
2. ข. มีระยะเวลารอคอย
3. ค. จำนวนเงินเอาประกันภัยตํ่าและชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายเดือน
4. ง. ถูกทุกข้อ
Question 10 of 37.

10.ข้อใดไม่ใช่ความหมายของเบี้ยประกัน

1. ก. จำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยได้จ่ายให้แก่บริษัทประกันชีวิตเพื่อชำระหนี้
2. ข. ราคาของการประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันภัยต้องจ่ายล่วงหน้า ณ ต้นปีของสัญญาประกันชีวิต เพื่อความ คุ้มครองที่จะได้รับในอนาคต
3. ค. จำนวนเงินที่บริษัทประกันชีวิตเรียกเก็บจากผู้เอาประกันภัยสำหรับการออกกรมธรรม์เพื่อให้ความคุ้มครอง
4. ง. ถูกทุกข้อ
Question 11 of 37.

11.ข้อใดไม่ใช่ความหมายของเงินสำรองประกันภัย

1. ก. หนี้สินหรือพันธะผูกพันที่บริษัทมีต่อผู้ถือกรมธรรม์
2. ข. จำนวนเงินที่บริษัทจัดสรรไว้ตามความผูกพันของกรมธรรม์
3. ค. จำนวนเงินที่บริษัทจัดสรรไว้ให้ผู้ถือกรมธรรม์เพื่อจ่ายผลประโยชน์ตามเงื่อนไขกรมธรรม์
4. ง. จำนวนเงินที่บริษัทสำรองไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานแต่ละปี
Question 12 of 37.

12. นาย ก. ทำประกันชีวิตแบบตลอดชีพ ชำระเบี้ยประกันมาแล้ว5ปี จำนวนเงินเอาประกันภัย100,000 บาท จำนวนเงินเอาประกันอุบัติเหตุ 100,000 บาท เมืjอกรมธรรม์ครบ5 ปี นาย ก. มาขอ เวนคืนกรมธรรม์และ หลังจากนั้นเพียง 3 วัน นาย ก. ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ทายาทของนาย ก. จะได้รับ

1. ก. ค่าสินไหมมรณกรรม 200,000 บาท
2. ข. ค่าสินไหมมรณกรรม 100,000 บาท
3. ค. ไม่ได้รับเงิน
4. ง. ได้รับเงินเท่ากับมูลค่าเวนคืน
Question 13 of 37.

13.นาย ก. ทำประกันชีวิตประเภทอุสาหกรรม 15/15 จำนวนเงินเอาประกัน 50,000 บาท เริ่มทำประกันชีวิตเมื่อ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2540 ต่อมาวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2541 นายก.ขอยกเลิกกรมธรรม์ เพื่อรับเงินสดได้หรือไม่

1. ก. ไม่ได้ เพราะนายก. ยังไม่ได้เสียค่าประกัน
2. ข. ได้เงินคืนเท่ากับเบี้ยประกันชีวิต
3. ค. ไม่ได้ เพราะกรมธรรม์ ของนายก. ยังไม่มีมูลค่าเวนคืนเงินสด
4. ง. ได้เงินคืนเท่ากับเบี้ยประกันชีวิตหักค่าใช่จ่ายของบริษัท
Question 14 of 37.

14. นาย ก. ทำประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรม 20/20 ในขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับมา 14 ปี ข้อใดไม่ใช่ สิทธิของ นาย ก

1. ก. กู้เงินจากการใช้มูลค่าเวนคืนเงินสด
2. ข. เปลี่ยนเป็นกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ
3. ค. ยกเลิกกรมธรรม์เพื่อขอรับมูลค่าเวนคืนเงินสด
4. ง. แปลงกรมธรรม์เป็นการประกันภัยแบบขยายเวลา
Question 15 of 37.

15. ข้อต่อไปนี้ข้อใดที่บริษัทสามารถนำมาเป็นข้อโต้แย้ง หรือคัดค้านความไม่สมบูรณ์ของสัญญาประกันภัย

1. ก. ผู้เอาประกันภัยแถลงอายุคลาดเคลื่อน
2. ข. ผู้เอาประกันภัยปกปิดความจริงที่เคยผ่าตัดไส้ติ่ง
3. ค. ผู้เอาประกันภัยปกปิดความจริงที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
4. ง. ผู้เอาประกันภัยไม่แถลงความจริงเกี่ยวกับรายได้
Question 16 of 37.

16.หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาผ่อนผัน

1. ก. บริษัทไม่จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย เพราะถือว่ากรมธรรม์ขาดอายุ
2. ข. บริษัทจะจ่ายครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินเอาประกันภัย
3. ค. บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย
4. ง. บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินซึ่งบริษัทจะชดใช้ตามกรมธรรม์หักด้วยเบี้ยประกันภัยที่ ค้างชำระออก
Question 17 of 37.

17.การต่ออายุกรมธรรม์จะมีผลบังคับสมบูรณ์เมื่อใด

1. ก. ผู้เอาประกันภัยได้ทำหนังสือไปยังบริษัทแล้ว
2. ข. เมื่อแสดงหลักฐานเกี่ยวกับสุขภาพแล้ว
3. ค. โทรศัพท์แจ้งให้ตัวแทนประกันชีวิต หรือนายประกันชีวิตทราบแล้ว
4. ง. เมื่อได้รับอนุมัติจากบริษัทแล้ว
Question 18 of 37.

18.กรมธรรม์ประกันภัยประเภทสามัญ ถ้ามีมูลค่าเงินสดเกิดขึ้นแล้ว ผู้เอาประกันภัยมีสิทธิขอกู้เงินจากบริษัทหรือ กรณีผู้เอาประกันภัยไม่ชำระเบี้ยประกันภัยจนเลยระยะเวลาผ่อนผันบริษัทจะกู้เงินจากมูลค่าเงินสดชำระเบี้ย ประกันภัยโดยอัตโนมัติ โดยบริษัทจะคิดอัตราดอกเบี้ย ทั้งสองกรณีอย่างไร

1. ก. คิดอัตราดอกเบี้ยกรณีผู้เอาประกันภัยขอกู้เองสูงกว่า กรณีบริษัทกู้ชำระเบี้ยชำระเบี้ยประกันภัยโดย อัตโนมัติ
2. ข. คิดอัตราดอกเบี้ยทั้งสองกรณีเท่ากัน
3. ค. คิดอัตราดอกเบี้ยกรณีผู้เอาประกันภัยขอกู้เองตํ่ากว่า กรณีบริษัทกู้ชำระเบี้ยประกันภัยโดยอัตโนมัติ
4. ง. คิดอัตราดอกเบี้ยเฉพาะกรณีผู้เอาประกันภัยขอกู้เอง ส่วนกรณีบริษัทกู้ชำระเบี้ยประกันภัยโดย อัตโนมัติ บริษัทไม่คิดดอกเบี้ย
Question 19 of 37.

19.ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยกู้เงินโดยมีกรมธรรม์เป็นประกันโดยชำระเบี้ยประกันภัยและดอกเบี้ยเงินกู้สมํ่าเสมอ ถ้าผู้เอาประกันเสียชีวิต ผู้รับผลประโยชน์จะ

1. ก. ไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ
2. ข. ได้รับเงินเท่ากับจำนวนเอาประกันภัย หักด้วยหนี้สินที่ผูกพันตามกรมธรรม์นั้น
3. ค. ได้รับเงินเท่ากับจำนวนเงินที่กู้ไป
4. ง. ได้เงินเท่ากับจำนวนเงินที่กู้ไป หักด้วยดอกเบี้ย
Question 20 of 37.

20.เมื่อผู้เอาประกันภัยใช้สิทธิในการกู้เงินโดยมีกรมธรรม์เป็นประกัน ผลที่มีต่อกรมธรรม์นั้น คือ

1. ก. กรมธรรม์นั้นไม่มีผลบังคับชั่วขณะ จนกว่าผู้เอาประกันภัยจะได้ชำระหนี้สินพร้อมดอกเบี้ยครบถ้วน
2. ข. ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องชำระเบี้ยประกันภัย เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระ
3. ค. กรมธรรม์นั้นยังมีผลบังคับอยู่ จนกว่าหนี้สินรวมกับดอกเบี้ยที่คงค้างกับบริษัททั้งสิ้น ณ เวลาใด มีจำนวนเท่ากับหรือมากกว่าเงินค่าเวนคืนในขณะนั้น และมิได้ชำระเบี้ยประกันภัยงวดที่ถึงกำหนด
4. ง. ไม่มีข้อใดถูก
Question 21 of 37.

21.นาย ก. ต้องการแจ้งเปลี่ยนแปลงอาชีพ การแก้ไขนั้นจะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อ

1. ก. ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน
2. ข. บริษัทตกลงรับการแก้ไขนั้น โดยกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทลงนาม
3. ค. ได้รับการประทับตราของบริษัทโดยสมบูรณ์
4. ง. ข้อ ข. และ ข้อ ค. ประกอบกัน
Question 22 of 37.

22.การกู้ยืมเงินโดยมีกรมธรรม์เป็นประกัน บริษัทประกันชีวิตคิดอัตราดอกเบี้ยอย่างไร

1. ก. คิดอัตราดอกเบี้ยสำหรับกรมธรรม์ประเภทสามัญตํ่ากว่ากรมธรรม์ประเภทอุตสาหกรรม
2. ข. คิดอัตราดอกเบี้ยสำหรับกรมธรรม์ประเภทสามัญสูงกว่ากรมธรรม์ประเภทอุตสาหกรรม
3. ค. ไม่คิดดอกเบี้ย ถ้ากรมธรรม์นั้นเป็นแบบมีเงินปันผล
4. ง. ไม่คิดดอกเบี้ย ถ้ากรมธรรม์นั้นเป็นแบบมีเงินจ่ายคืน
Question 23 of 37.

23.การเลิกสัญญาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยสามารถทำได้เมื่อ

1. ก. เมื่อใดก็ได้
2. ข. ขึ้นกับความยินยอมของบริษัท
3. ค. ไม่สามารถทำได้
4. ง. เมื่อได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน
Question 24 of 37.

24.การใช้สิทธิในกรมธรรม์ หากไม่มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนแล้วให้ถือว่าเป็นของใคร

1. ก. ผู้รับประโยชน์
2. ข. เจ้าหนี้ของผู้เอาประกันภัย
3. ค. ผู้เอาประกันภัย
4. ง. ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ค.
Question 25 of 37.

25. สัญญาประกันชีวิตที่ระบุให้เจ้าหนี้เป็นผู้รับประโยชน์ และเจ้าหนี้ได้รับมอบกรมธรรม์จาก ผู้เอาประกันภัย แล้วและได้บอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้งให้บริษัททราบว่าตนจำนงจะถือเอาประโยชน์แห่งสัญญาประกันชีวิตนั้น หากผู้เอาประกันภัยต้องการโอนประโยชน์แห่งสัญญาประกันชีวิตนั้นให้แก่ภรรยาที่เพิ่งแต่งงานจะได้หรือไม่

1. ก. โอนได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากบริษัทที่รับประกันภัยก่อน
2. ข. โอนได้ แต่ต้องไม่ต้องรับความยินยอมจากใคร
3. ค. โอนได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับประโยชน์ก่อน
4. ง. โอนไม่ได้
Question 26 of 37.

26.ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยทำประกันชีวิตประเภทสามัญเสียชีวิตในระหว่างการชำระเบี้ยประกันภัยบริษัทต้องจ่าย จำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการชำระเบี้ยประกันภัยและการจ่ายจำนวนเงินเอา ประกันภัย

1. ก. การชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายงวดที่น้อยกวารายปี บริษัทต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับ ประโยชน์ ครบตามจำนวนเงินเอาประกันภัยนั้น
2. ข. การชำระเบี้ยประกันภัยเป็นงวดรายปี หรือรายงวดที่น้อยกว่ารายปี บริษัทต้องจ่ายจำนวนเงินเอา ประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามจำนวนเงินเอาประกันภัยหักด้วยมูลค่าใช้เงินสำเร็จ
3. ค. การชำระเบี้ยประกันภัยที่แบ่งเป็นรายงวดที่น้อยกว่ารายปี บริษัทต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยที่หัก ด้วยจำนวนเงินเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ครบกำหนดงวดรายปี
4. ง. การชำระเบี้ยประกันภัยที่แบ่งเป็นรายงวดที่น้อยกว่ารายปี จะต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยที่หักด้วย จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ครบกำหนดงวดรายปี พร้อมด้วยดอกเบี้ยซึ่งถือว่าเป็นหนี้สินที่บริษัท จะต้องหักออกด้วย
Question 27 of 37.

27. ท่านจะแนะนำให้ผู้เอาประกันภัยตรวจสอบความถูกต้องของชื่อผู้เอาประกันภัย ชื่อผู้รับประโยชน์จำนวนเงิน เอาประกันภัย เบี้ยประกันภัย ฯลฯ ได้ที่ส่วนใดของกรมธรรม์

1. ก. หน้าแรกของกรมธรรม์
2. ข. หน้าผลประโยชน์ของกรมธรรม์
3. ค. หน้าเงื่อนไขทั่วไป
4. ง. ด้านหลังกรมธรรม์ก่อนตารางมูลค่ากรมธรรม์
Question 28 of 37.

28.ข้อต่อไปนี้ข้อใดไม่มีความจำเป็นต้องกรอกในใบคำขอเอาประกันชีวิต

1. ก. ข้อกำหนดการจ่ายเงินผลประโยชน์
2. ข. ตารางมูลค่ากรมธรรม์
3. ค. สิทธิและการใช้สิทธิในกรมธรรม์
4. ง. ใบเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
Question 29 of 37.

29.คำถามในใบคำขอเอาประกันชีวิตต่อไปนี้ ข้อใดสำคัญที่สุด

1. ก. ประวัติการทำประกันชีวิตของผู้เอาประกันภัย
2. ข. อาชีพของบิดามารดา
3. ค. สถานที่เกิดของผู้เอาประกันภัย
4. ง. สัญชาติของผู้เอาประกันภัย
Question 30 of 37.

30.การกำหนดอัตราเบี้ยประกันชีวิตเป็นหน้าที่ของ

1. ก.เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
2. ข. นักคณิตศาสตร์ประกันภัย
3. ค. ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย
4. ง. นายทะเบียน
Question 31 of 37.

31.นาย ก. ซื้อสัญญาเพิ่มเติมค่ารักษาพยาบาล และศัลยกรรมแนบกับสัญญาประกันชีวิต โดยซื้อผลประโยชน์ค่า ห้องและค่าอาหาร 1,000 บาทต่อวัน (สูงสุดไม่เกิน 45 วัน) ต่อมา นาย ก. เจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัวใน โรงพยาบาลในฐานะคนไข้ด้วยโรคไขข้ออักเสบเป็นระยะเวลา 30 วัน หลังจากนั้น 30 วัน นาย ก. ก็เข้ามารักษาตัวใน โรงพยาบาลด้วยโรคปอดและอยู่อีก 25 วัน ในกรณีเช่นนี้บริษัทจะจ่ายเงินค่าห้องและค่าอาหารให้แก่ นาย ก. ท้งั สอง ครั้งรวมเป็นจำนวนเท่าใด

1. ก. 25,000 บาท
2. ข. 40,000 บาท
3. ค. 55,000 บาท
4. ง. ระหว่าง 25,000 บาท ถึง 55,000 บาท ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบริษัท
Question 32 of 37.

32. นาย ก. ทำประกันชีวิตประเภทสามัญ แบบสะสมทรัพย์ 21/21 จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท จำนวนเงินเอาประกันภัยอุบัติเหตุ 100,000 บาท มูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 3 เท่ากับ 150 บาท ต่อจำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000 บาท มูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 4 เท่ากับ 225 บาท ต่อจำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000 บาท นาย ก. เวนคืนกรมธรรม์ในปีที่ 3 อยากทราบว่าถ้า นาย ก. ต้องการเวนคืนกรมธรรม์เพื่อขอรับเป็นเงินสด นาย ก. จะได้รับจำนวนเงินเท่าใด

1. ก. เท่ากับ 15,000 บาท
2. ข. น้อยกว่า 15,000 บาท
3. ค. มากกว่า 15,000 บาท
4. ง. ไม่มีข้อใดถูก
Question 33 of 37.

33.การทำวิธีการใดต่อไปนี้ ที่ทำให้กรมธรรม์ไม่มีผลบังคับ

1. ก. ขอต่ออายุกรมธรรม์ภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้ากรมธรรม์ขาดอายุ
2. ข. ถ้ากรมธรรม์มีเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยเกิดขึ้นแล้ว บริษัทจะชำระเบี้ยประกันภัยโดยอัตโนมัติ
3. ค. ถ้ากรมธรรม์มีเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยเกิดขึ้นแล้ว ผู้เอาประกันภัยขอใช้สิทธิเปลี่ยนเป็น กรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ หรือแบบขยายเวลา
4. ง. ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัย เมื่อเลยกำหนดระยะเวลาผ่อนผันแล้ว
Question 34 of 37.

34.นาย ก. ทำประกันชีวิตประเภทสามัญ แบบสะสมทรัพย์ จำนวนเงินเอาประกันภัย 200,000 บาท ชำระเบี้ย ประกันภัยราย 3 เดือน งวดละ 10,000 บาท โดยเริ่มสัญญาวันที่ 14 เมษายน 2551 ซึ่งนาย ก. ได้ชำระเบี้ย ประกันภัยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2551 ต่อมาในวันที่ 23 ตุลาคม 2551 นาย ก. ถูกลูกหลงจาก เหตุการณ์นักเรียนยิงกันจนเสียชีวิต บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายผลประโยชน์ให้ผู้รับประโยชน์เป็นจำนวนเท่าใด

1. ก. 200,000 บาท
2. ข. 190,000 บาท
3. ค. 180,000 บาท
4. ง. 170,000 บาท
Question 35 of 37.

35.บิดาทำประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา คุ้มครอง 25 ปี ชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียว ให้ลูกชาย โดยบิดา เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยให้ เป็นเงิน 120,000 บาท อยากทราบว่าบิดาสามารถนำค่าเบี้ยประกันภัยนี้ไปหัก ลดหย่อนเงินได้พึงประเมิน เพื่อคำนวณภาษีได้หรือไม่ หากได้จะหักได้เป็นเงินเท่าไร

1. ก. ไม่ได้
2. ข. ได้ เป็นเงิน 100,000 บาท
3. ค. ได้ เป็นเงิน 120,000 บาท
4. ง. ได้ เป็นเงิน 50,000 บาท
Question 36 of 37.

36.เบี้ยประกันภัยของการประกันชีวิตแบบใดที่ตัวผู้เอาประกันภัยเองสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้

1. ก. ของสัญญาเพิ่มเพิ่มเติมคุ้มครองยกเว้นเบี้ยประกันภัย ที่มีระยะเวลาเอาประกันภัย 10 ปี ขึ้นไป
2. ข. ของสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุและสุขภาพ
3. ค. ของสัญญาเพิ่มเติมแบบชั่วระยะเวลา ที่มีระยะเวลาเอาประกันภัย 10 ปี ขึ้นไป
4. ง. ผิดทุกข้อ
Question 37 of 37.

37.ข้อใดต่อไปนี้ กล่าวไม่ถูกต้องกรณี การนำเบี้ยประกันภัยของการประกันภัยสุขภาพของบิดามารดามาหักลดหย่อน ภาษี

1. ก. เบี้ยประกันภัยที่จะนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ต้องเป็นเบี้ยประกันภัยจากการประกันสุขภาพบิดาหรือ มารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรสที่อยู่ในอุปการะเลี้ยงดู
2. ข. บิดาหรือมารดาของผู้มีเงินได้ ที่จะนำเบี้ยประกันภัยไปหักลดหย่อนภาษีต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
3. ค. ผู้มีเงินได้ ที่จะนำเบี้ยประกันภัยไปหักลดหย่อนภาษีต้องต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย(รวมทั้งบุตรบุญธรรมด้วย)
4. ง. ผู้มีเงินได้ สามารถนำเบี้ยประกันภัยไปหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริงและไม่เกิน 15,000 บาท

Next question 1 of 37

All 37 questions completed!


ข้อสอบ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประกันชีวิต

Want more stuff like this?

Get the best viral stories straight into your inbox!
Don`t worry, we don`t spam

เรายินดีที่จะรับฟังความคิดเห็นของคุณ

แสดงความคิดเห็น

Logo
รายการเปรียบเทียบ
  • Total (0)
เปรียบเทียบ
0