fbpx

ข้อสอบ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


Question 1 of 34.

1. นายสีเทาได้ทำประกันชีวิตไว้จำนวนเงินเอาประกันภัย 5,000 บาท วันที่สัญญาเริ่มมีผลบังคับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2551 นายสีเทา ไปตรวจร่างกายพบว่าตนเป็นมะเร็งและเสียชีวิต ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 กรณีนายสีเทา เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง บริษัทประกันชีวิต จะปฏิเสธไม่จ่ายเงินเอา ประกันภัยแก่ผู้รับประโยชน์ได้หรือไม่

1. ก. ได้ เพราะนายสีเทาชำระเบี้ยยังไม่ถึง 3 ปี
2. ข. ไม่ได้ เพราะนายสีเทา เสียชีวิตเมื่อกรมธรรม์ประกันชีวิต ยังไม่พ้นระยะเวลา 2 ปี
3. ค. ไม่ได้ เพราะนายสีเทา มิได้มีเจตนาปกปิดข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการป่วยเป็น โรคมะเร็งก่อนหรือขณะทำ สัญญาประกันภัย
4. ง. ได้ เพราะนายสีเทา เสียชีวิตด้วยโรคที่มิได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันชีวิต
Question 2 of 34.

2.นายอาทิตย์ ทำประกันชีวิตมาแล้ว 4 ปี และกรมธรรม์ประกันชีวิตยังมีผลบังคับอยู่ ดังนั้นนายอาทิตย์มีสิทธิ์ อะไรบ้าง

1. ก. เวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อขอรับค่าเวนคืนเงินสด
2. ข. กู้เงินจากบริษัทได้เต็มจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
3. ค. บอกเลิกสัญญาและขอรับเบี้ยประกันภัยคืนทั้งหมดได้
4. ง. ขอแปลงกรมธรรม์ประกันภัย เป็นแบบอื่นได้โดยมีวงเงินเอาประกันมากขึ้นกว่าเดิม
Question 3 of 34.

3. นายมานิต ทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ไว้ในจำนวนเงินเอาประกันภัย 500,000 บาท โดยมีสัญญาเพิ่มเติม ประกันอุบัติเหตุแนบท้าย เมื่อครบกำหนดตามสัญญา นายมานิตยังมีชีวิตอยู่ บริษัทจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

1. ก. คุ้มครองให้นายมานิต ต่อไปในกรณีเกิดอุบัติเหตุ
2. ข. จ่ายเงินเอาประกันภัยเต็มจำนวน โดยไม่ให้ความคุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุ
3. ค. ไม่ต้องจ่ายเงินใด ๆ เลย
4. ง. คืนเบี้ยประกันภัยทั้งหมด
Question 4 of 34.

4. นายกิจจา ทำประกันชีวิตไว้ 100,000 บาท โดยปกปิดการเป็นโรคหัวใจของตนเอง โดยซื้อความคุ้มครอง อุบัติเหตุรวมอยู่ด้วย ปรากฏว่าหลังจากทำประกันชีวิตได้ 6เดือน นายกิจจามีโรคหัวใจรุนแรง ญาตินำส่ง โรงพยาบาลแต่ระหว่างทางไปโรงพยาบาล เกิดอุบัติเหตุรถชนกัน คนในรถนายกิจจา เสียชีวิตทั้งหมดรวมทั้งนายกิจจา บริษัทต้องรับผิดชอบอย่างไรหรือไม่ เพราะเหตุใด

1. ก.บริษัทบอกล้างสัญญาประกันชีวิตไม่ได้ เพราะสัญญาประกันชีวิตต้องให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตเสมอ
2. ข. บริษัทบอกล้างสัญญาประกันชีวิตได้ แต่ต้องจ่ายเงินเอาประกันภัยสำหรับ สัญญาเพิ่มเติมประกันอุบัติเหตุ
3. ค. บริษัทบอกล้างสัญญาประกันชีวิตได้ทั้งหมด รวมทั้งสัญญาเพิ่มเติมประกันอุบัติเหตุ
4. ง. ผิดทุกข้อ
Question 5 of 34.

5. สัญญาประกันเกิดขึ้นเมื่อใด

1. ก. ผู้เอาประกันภัยได้รับกรมธรรม์ประกันภัย
2. ข. บริษัทออกกรมธรรม์ประกันภัย ให้
3. ค. ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัย
4. ง. บริษัทตกลงรับประกันภัยและกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย แม้มิได้มีลายลักษณ์ อักษร
Question 6 of 34.

6. กรมธรรม์ประกันภัย กฎหมายกำหนดให้มีรายการดังต่อไปนี้เสมอ

1. ก. ราคาแห่งมูลประกันภัย
2. ข. วัตถุที่เอาประกันภัย
3. ค. ชื่อผู้รับประโยชน์
4. ง. ถูกเฉพาะข้อ ข. และ ค.
Question 7 of 34.

7. ในสัญญาประกันชีวิต ถ้าผู้รับประโยชน์ไม่มีส่วนได้เสียในชีวิตของผู้เอาประกันภัย จะมีผลกระทบต่อสัญญา ประกันชีวิตนั้นหรือไม่

1. ก. ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
2. ข. ทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ
3. ค. สัญญาประกันชีวิตไม่มีผลผูกพันคู่สัญญา
4. ง. ไม่ทำให้สัญญาขาดความสมบูรณ์
Question 8 of 34.

8.สามีทำประกันชีวิตภรรยาไว้ ต่อมาสามีได้หย่าขาดกับภรรยา แต่ก็ยังคงชำระเบี้ยประกันภัยจนครบกำหนด สัญญา โดยมิได้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการหย่าล้างให้บริษัททราบ เมื่อบริษัททราบความจริงในภายหลังจะปฏิเสธ การใช้จำนวนเงินตามสัญญาได้หรือไม่

1. ก. ได้ เพราะส่วนได้เสียหมดไปในระหว่างสัญญา
2. ข. ได้ โดยคืนเบี้ยประกันภัยทั้งหมดให้สามี
3. ค. ไม่ได้ เพราะถือว่าสามีมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยขณะทำสัญญา
4. ง. ไม่ได้ เพราะบริษัทละเลยไม่สอบสวนจนเวลาล่วงเลยไปจนครบกำหนดอายุสัญญา
Question 9 of 34.

9. การทำประกันชีวิตบุคคลอื่น ถ้าผู้เอาประกันภัยไม่มีส่วนได้เสียในชีวิตบุคคลนั้น ทำให้สัญญานั้น

1. ก. สัญญาไม่สมบูรณ์ บริษัทสามารถริบเบี้ยประกันภัยได้
2. ข. สัญญาไม่มีผลผูกพัน และไม่สามารถให้สัตยาบันได้
3. ค. สัญญามีผลผูกพันต่อไป เพราะส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยจะพิจารณาในขณะที่ทำสัญญา ประกันภัยเป็นสำคัญ
4. ง.ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข้อ ข
Question 10 of 34.

10. สามีจะเอาประกันชีวิตภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน โดยสามีเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัย และเป็นผู้รับ ประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันชีวิตจะได้หรือไม่

1. ก. ไม่ได้ เพราะสามีไม่มีส่วนได้เสียในชีวิตของภรรยา
2. ข. ไม่ได้ เนื่องจากภรรยาไม่ได้เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัย
3. ค. ไม่ได้ ต้องให้ภรรยาเป็นผู้รับประโยชน์เองจึงจะทำให้สัญญามีผลสมบูรณ์
4. ง. ได้ เพราะสามีมีส่วนได้เสียในชีวิตของภรรยา
Question 11 of 34.

11. เมื่อผู้รับประโยชน์ถึงแก่มรณกรรม ผู้เอาประกันภัยควรทำอย่างไร

1. ก. ไม่ต้องทำอย่างไร เนื่องจากสัญญาประกันชีวิตสิ้นผลบังคับ
2. ข. ผู้เอาประกันภัยควรแจ้งบริษัทขอเปลี่ยนผู้รับประโยชน์ใหม่
3. ค. ไม่ต้องทำอย่างไร เนื่องจากบริษัทมีสิทธิบอกล้างสัญญาได้
4. ง. ผู้เอาประกันภัยขอคืนเบี้ยประกันภัยทั้งหมด
Question 12 of 34.

12. สัญญาประกันชีวิตที่ระบุให้บุคคลภายนอกเป็นผู้รับประโยชน์ และบุคคลภายนอกผู้รับประโยชน์ ได้รับมอบ กรมธรรม์ประกันชีวิตไว้แล้ว พร้อมทั้งได้บอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้รับประกันภัยว่า ตนจำนงจะถือเอาประโยชน์ แห่งสัญญาประกันชีวิตนั้น ในกรณีผู้เอาประกันภัยมีสิทธิที่จะโอนประโยชน์แห่งสัญญาประกันชีวิตนั้นให้แก่บุคคล อื่นอีกได้หรือไม่

1. ก. โอนได้ เพราะผู้เอาประกันภัยย่อมมีสิทธิเสมอที่จะโอนประโยชน์แห่งสัญญาประกันชีวิตให้แก่ใครก็ได้
2. ข. โอนได้ แต่ต้องให้ผู้รับประโยชน์ทราบก่อน
3. ค. โอนไม่ได้ เพราะผู้รับประโยชน์ได้แสดงความจำนงถือเอาประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิตแล้ว
4. ง. โอนได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้รับประกันภัยเสียก่อน
Question 13 of 34.

13. นางสาวแก้วใจ ตกลงจะเอาประกันชีวิตไว้กับบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง แต่เนื่องจากนางสาวแก้วใจไม่มีญาติ พี่น้องเลยจึงประสงค์จะให้สภากาชาดไทยเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิต ดังนี้จะทำได้หรือไม่

1. ก. ทำได้ โดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบหรือยินยอมจากผู้ใด
2. ข. ทำได้ แต่ต้องให้สภากาชาดไทยยินยอมก่อน
3. ค. ทำได้ โดยต้องให้กระทรวงมหาดไทยอนุญาตก่อน
4. ง. ทำไม่ได้ เพราะสภากาชาดไทยมิใช่บุคคลธรรมดาแต่เป็นนิติบุคคล
Question 14 of 34.

14. นายกุ้ง ทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ครบกำหนด 10 ปี โดยระบุให้นางแก้ว ซึ่งเป็นน้องสาวเป็นผู้รับ ประโยชน์ แต่เมื่อถึงปีที่กรมธรรม์ประกันชีวิต ครบกำหนด นายกุ้ง ไม่ได้เสียชีวิต นายกุ้ง จึงรับซึ่งเอาประกันภัย เสียเอง เช่นนี้ นายกุ้ง มีสิทธิทำได้หรือไม่

1. ก. มีสิทธิทำได้
2. ข. ไม่มีสิทธิ
3. ค. มีสิทธิทำได้ ถ้าผู้รับประโยชน์ยินยอม
4. ง. ไม่มีสิทธิ เงินเอาประกันภัยต้องตกแก่ผู้รับประโยชน์เท่านั้น
Question 15 of 34.

15. ด.ช. ธนัท เป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันชีวิตของนายเกรียงไกร หากนายเกรียงไกร เสียชีวิตก่อนที่ ด.ช. ธนัท บรรลุนิติภาวะ บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างไร

1. ก. จ่ายแก่ ด.ช.ธนัท
2. ข. จ่ายแก่ผู้แทนโดยชอบธรรมของ ด.ช.ธนัท ตามที่นายเกรียงไกร ระบุไว้หรือตามคำสั่งศาล
3. ค. รอจนกว่า ด.ช.ธนัท จะบรรลุนิติภาวะ
4. ง. จ่ายให้ ด.ช.ธนัท และผู้แทนโดยชอบธรรมคนละครึ่ง
Question 16 of 34.

16. ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของสัญญาประกันชีวิต คืออะไร

1. ก. การใช้จำนวนเงินย่อมอาศัยฐานะของผู้เอาประกันภัย
2. ข. การใช้จำนวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของผู้เอาประกันภัย
3. ค. การใช้จำนวนเงินย่อมอาศัยสาเหตุของการตาย หรือลักษณะของบาดแผลเป็นสำคัญ
4. ง. การใช้จำนวนเงินย่อมอาศัยความเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ต่อกัน
Question 17 of 34.

17. สัญญาประกันชีวิตเป็นสัญญาซึ่งมีลักษณะอย่างไร

1. ก. ผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ตามแต่ผู้รับ ประกันภัยจะเห็นสมควร
2. ข. ผู้รับประกันภัยตกลงจะใช้เงินจำนวนแน่นอนตามจำนวนเงินซึ่งเอาประกันภัยไว้ให้กับผู้เอาประกันภัย หรือผู้รับประโยชน์ แล้วแต่กรณี
3. ค. คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างก็สิทธิบอกเลิกสัญญาซึ่งกันและกันได้
4. ง. ผู้รับประกันภัยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้แต่เพียงฝ่ายเดียว
Question 18 of 34.

18. สัญญาประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยยกเอาภัยใดโดยเฉพาะเป็นข้อพิจารณาเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้น หากภัยนั้น หมดไปแล้ว ผลของสัญญาประกันภัยจะเป็นเช่นไร

1. ก. ผู้เอาประกันภัยชอบที่จะได้ลดเบี้ยประกันภัยส่วนที่เพิ่มนั้นลงมาอยู่ในอัตราปกติ
2. ข. ผู้เอาประกันภัยจะได้ลดเบี้ยประกันภัยต่อเมื่อบริษัทยินยอม
3. ค. ผู้เอาประกันภัยไม่มีสิทธิได้ลดเบี้ยประกันภัยเลย
4. ง. สัญญาประกันภัยย่อมสิ้นผลบังคับ
Question 19 of 34.

19.สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาที่ต้องอาศัยความซื่อสัตย์สุจริตใจต่อกันอย่างยิ่ง กรณีใดบ้างที่ถือว่าขาดความ สุจริตใจต่อกันอย่างยิ่ง

1. ก. ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่เปิดเผยข้อความจริงเกี่ยวกับสุขภาพผู้เอาประกันภัย
2. ข. ตัวแทนประกันชีวิตไม่แถลงข้อความจริงให้บริษัททราบ
3. ค. ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยแถลงข้อความเท็จซึ่งเป็นสาระสำคัญของสัญญา
4. ง. ผู้เอาประกันภัยแถลงข้อความเท็จซึ่งเป็นสาระสำคัญของสัญญา
Question 20 of 34.

20. ถ้าบริษัทไม่ได้บอกล้างโมฆียกรรมตามมาตรา 865 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ภายในกำหนด หนึ่งเดือนนับแต่วันที่บริษัททราบมูลอันจะบอกล้างได้ สัญญาประกันชีวิตจะมีผลอย่างไร

1. ก. สัญญาตกเป็นโมฆียะ
2. ข. สัญญาสมบูรณ์สิทธิบอกล้างของบริษัทยอมระงับไป
3. ค. บริษัทจะบอกล้างเมื่อใดก็ได้ เพราะสัญญาตกเป็นโมฆียะแล้ว
4. ง. บริษัทใช้สิทธิบอกล้างไม่ได้ แต่ผู้เอาประกันชีวิตหรือผู้รับ ประโยชน์บอกล้างได้
Question 21 of 34.

21. กรมธรรม์ประกันภัยนั้น กฎหมายบัญญัติว่าต้องลงลายมือชื่อของบุคคลใดที่ผู้เอาประกันภัยจะสามารถ ฟ้องร้องบังคับคดีได้

1. ก. ผู้รับประโยชน์
2. ข. ผู้เอาประกันภัย
3. ค. ผู้รับประกันภัย
4. ง. ผู้รับประกันภัยร่วมกับผู้เอาประกันภัย
Question 22 of 34.

22. ในกรมธรรม์ประกันชีวิตจะต้องระบุอะไรไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยเสมอไป

1. ก. ระบุเพียงวันที่ได้ทำกรมธรรม์ประกันชีวิต
2. ข. ระบุเพียงสถานที่ก็พอ
3. ค. ระบุสถานที่และวันที่ได้ทำกรมธรรม์ประกันชีวิต
4. ง. ระบุชื่อผู้รับประโยชน์เสมอ
Question 23 of 34.

23. กรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้รับประกันภัยต้องส่งมอบให้กับผู้เอาประกันภัยนั้นจะต้องมีเนื้อความอย่างไร

1. ก. ต้องมีเนื้อความต้องตามสัญญา
2. ข. ไม่จำเป็นต้องมีเนื้อความต้องตามสัญญา
3. ค. จะมีเนื้อความต้องตามสัญญาหรือไม่ก็ได้
4. ง. จะมีเนื้อความอย่างไรก็ได้ ทั้งนี้ แล้วแต่ผู้รับประกันภัยจะเห็นสมควร
Question 24 of 34.

24. นางสาวสุขใจ ได้ขอทำประกันชีวิตและปกปิดความจริงในเรื่องอายุไว้ โดยขณะทำสัญญาแถลงว่าอายุเพียง 35 ปี ซึ่งความจริงอายุ 40 ปี ในกรณีนี้ผลของสัญญาจะเป็นอย่างไร

1. ก. สัญญามีผลสมบูรณ์ หากอายุที่แท้จริงยังอยู่ในจำกัดอัตราทางการค้าปกติของบริษัท
2. ข. สัญญามีผลสมบูรณ์ หากผู้เอาประกันชีวิตได้แจ้งความจริงให้บริษัททราบ ภายหลัง
3. ค. สัญญาตกเป็นโมฆียะและผู้เอาประกันชีวิตขอลดเบี้ยประกันภัยได้
4. ง. สัญญาตกเป็นโมฆะ
Question 25 of 34.

25. นายศักดิ์ ทำสัญญาประกันชีวิตโดยกรอกในใบคำขอเอาประกันภัยว่าในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาก่อนขอเอาประกัน ชีวิตตนไม่เคยเข้ารับการรักษาพยาบาลที่ใดมาก่อน ซึ่งความจริงนายศักดิ์เคยเข้ารับการรักษาพยาบาลที่ โรงพยาบาลตำรวจเพราะถูกมีดบาด ซึ่งไม่กระทบกระเทือนต่อความเสี่ยงภัยของนายศักดิ์แต่อย่างใด เมื่อบริษัท ทราบความจริง บริษัทจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้หรือไม่

1. ก. บอกเลิกสัญญากับนายศักดิ์ได้ โดยไม่ต้องคืนเงินใดๆ ให้นายศักดิ์
2. ข. บอกเลิกสัญญาประกันชีวิตกับนายศักดิ์ โดยต้องคืนเบี้ยประกันภัยให้นายศักดิ์
3. ค. บอกเลิกสัญญาประกันชีวิตกับนายศักดิ์ โดยต้องคืนเบี้ยประกันภัยพร้อมดอกเบี้ยให้นายศักดิ์
4. ง. ไม่มีสิทธิใดๆ เพราะการปกปิดความจริงหรือแถลงเท็จดังกล่าวไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อความเสี่ยงภัย ใดๆ เลย
Question 26 of 34.

26. กรณีผู้ขอเอาประกันภัยได้เสนอขอเอาประกันภัยด้วยวาจา แต่ผู้รับประกันภัยตกลงสนองรับคำเสนอและออก กรมธรรม์ประกันภัยพร้อมลงลายมือชื่อตัวแทนของผู้รับประกันภัยให้ไว้เป็นหลักฐาน ต่อมาผู้เอาประกันภัยไม่จ่าย ค่าเบี้ยประกันภัยตามวัน เวลาที่กำหนด ผู้รับประกันภัยจะฟ้องร้องขอบังคับให้จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยได้หรือไม่

1. ก. ได้ เพราะมีกรมธรรม์ประกันภัยเป็นหลักฐานและมีการลงลายมือชื่อเรียบร้อยแล้ว
2. ข. ได้ เพราะเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่แต่ละฝ่ายต้องมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อกัน
3. ค. ไม่ได้ เพราะยังไม่มีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
4. ง. ไม่ได้ เพราะผู้รับประกันภัยยังไม่มีหนังสือทวงถามไปยังผู้เอาประกันภัย
Question 27 of 34.

27. การนับระยะเวลาที่อาจลอกล้างสัญญาประกันภัยนั้นจะเริ่มนับตั้งแต่เมื่อใด

1. ก. 1 เดือนนับแต่วันที่ทราบมูลอันจะบอกล้าง
2. ข. 1 เดือนนับแต่วันที่ทราบความจริงอันจะบอกล้าง
3. ค. 2 เดือนนับแต่วันที่ทราบมูลอันจะบอกล้าง
4. ง. 2 เดือนนับแต่วันที่ทราบความจริงอันจะบอกล้าง
Question 28 of 34.

28. นายต้น มีอาการเจ็บที่ชายโครงขวาเป็นประจำ แพทย์วินิจฉัยว่า กล้ามเนื้ออักเสบเล็กน้อย ต่อมานายต้นไป ทำสัญญาประกันชีวิตโดยกรอกแบบคำขอว่ามีสุขภาพสมบูรณ์ หลังจากทำสัญญาได้ 1 ปี นายต้นได้ไปตรวจ สุขภาพพบว่าตนเป็นโรคหัวใจ และเสียชีวิตหลังการตรวจสุขภาพ 1 เดือน ดังนี้บริษัทจะบอกล้างสัญญาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

1. ก. บอกล้างได้ เนื่องจากอยู่ในระยะเวลาแห่งการบอกล้าง
2. ข. บอกล้างได้ เนื่องจากโรคหัวใจถือว่าเป็นโรคร้ายแรงและเป็นสาระสำคัญ
3. ค. บอกล้างไม่ได้ เนื่องนายต้นไม่ทราบว่าตนป่วยเป็นโรคหัวใจมาก่อนทำสัญญาประกันชีวิต
4. ง. บอกล้างไม่ได้ เนื่องจากบริษัทไม่มีเงื่อนไขระบุให้ผู้เอาประกันภัยต้องตรวจสุขภาพก่อนทำสัญญา
Question 29 of 34.

29. ผู้รับประโยชน์ หมายถึงบุคคลใด

1. ก. บุคคลที่ต้องมีความเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัยหรือวัตถุที่เอาประกันภัยอย่างหนึ่งอย่างใด
2. ข. บุคคลที่เป็นคู่สัญญาโดยตรงในสัญญาประกันภัย
3. ค. บุคคลที่พึงจะได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือจำนวนเงินใช้ให้
4. ง. ถูกทุกข้อ
Question 30 of 34.

30. นายว่านได้ทำประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาชำระเบี้ยรายปีมาแล้ว 4 ปี หากนายว่านต้องการบอกเลิกสัญญา ประกันชีวิต นายว่านจะต้องดำเนินการอย่างไร

1. ก. แจ้งแก่นายหน้าประกันชีวิต
2. ข. แจ้งแก่ตัวแทนประกันชีวิต
3. ค. งดส่งเบี้ยประกันภัย
4. ง. โทรศัพท์แจ้ง call center ของบริษัทประกันชีวิต
Question 31 of 34.

31. กรณีผู้เอาประกันชีวิตมีสิทธิได้รับเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประชีวิตหรือรับกรมธรรม์ประชีวิตใช้เงินสำเร็จจาก ผู้รับประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

1. ก.ได้เอาประกันชีวิตกับบริษัทประกันชีวิตเดียวกันนั้นเกินกว่า 2 กรมธรรม์
2. ข. ได้ส่งเบี้ยประกันชีวิตมาแล้วจนกรมธรรม์ประกันภัยมีมูลค่ากรมธรรม์
3. ค. มีภูมิลำเนาในประเทศไทย
4. ง. ไม่เคยผิดนัดการชำระเบี้ยประกันชีวิต
Question 32 of 34.

32. ราคาแห่งมูลประกันภัยหมายความว่าอย่างไร และจำเป็นต้องมีระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยทุกฉบับหรือไม่

1. ก. ราคาของส่วนได้เสีย และจะกำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่การตกลงกัน
2. ข. ราคาของส่วนได้เสีย และจะต้องกำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยเสมอ
3. ค. ราคาของวัตถุที่เอาประกันภัย และจะกำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ ก็ได้แล้วแต่การตกลงกัน
4. ง. ราคาของวัตถุที่เอาประกันภัยและจะต้องไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยเสมอ
Question 33 of 34.

33. การเอาประกันภัยในเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วสามารถเอาประกันภัยได้หรือไม่

1. ก. สามารถเอาประกันภัยได้ แต่ผู้เอาประกันภัยจะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพียงกึ่งหนึ่ง
2. ข. สามารถเอาประกันภัยได้ แต่ผู้เอาประกันภัยจะต้องชำระค่าเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น
3. ค. ไม่สามารถเอาประกันภัยได้ เพราะสัญญาประกันภัยต้องเป็นการเอาประกันภัยในเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งไม่แน่นอน
4. ง. ไม่มีข้อถูก
Question 34 of 34.

34. ผู้เอาประกันชีวิตสามารถบอกเลิกสัญญาประกันชีวิตได้หรือไม่ อย่างไร

1. ก. สามารถบอกเลิกได้ โดยความยินยอมทั้งผู้เอาประกันภัยและบริษัท
2. ข. สามารถบอกเลิกได้ แต่ต้องมีหนังสือให้ความยินยอมจากบริษัทก่อน
3. ค. สามารถบอกเลิกได้ แต่ต้องทำสัญญาประกันชีวิตมาแล้วไม่ตํ่ากว่า 2 ปี
4. ง. สามารถบอกเลิกได้ โดยงดเบี้ยประกันภัย

Next question 1 of 34

All 34 questions completed!


ข้อสอบ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

Want more stuff like this?

Get the best viral stories straight into your inbox!
Don`t worry, we don`t spam

เรายินดีที่จะรับฟังความคิดเห็นของคุณ

แสดงความคิดเห็น

Logo
รายการเปรียบเทียบ
  • Total (0)
เปรียบเทียบ
0