เคยได้ค่าผลตรวจเลือดกลับมาบ้าน แอบงงไม่รู้ว่าค่าต่างๆหมายถึงอะไรบ้างหรือไม่ครับ
มักมีคนนำผลเลือดมาให้ดูว่าแล้วถามว่าค่านี้ค่านั้น หมายถึงอะไร ทานอาหารแบบนี้แบบนั้นได้ไหม และหวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกคน อย่างน้อยกลับไปหาคุณหมอคราวหน้า จะได้มีเรื่องชวนคุยกับคุณหมอนะครับ ผมก็ไปค้นคว้าหาคำตอบ มาเรียบเรียงให้ตามตัวอย่างลูกค้าของผมคนหนึ่งนะครับ เป็นการบอกความหมายตามค่าเลือด ไม่ใช่การวิเคราะห์ผลเลือดนะครับ เพราะเขามีค่ามาตรฐานให้เทียบเคียงอยู่แล้ว เราดูแค่ว่าค่าผลเลือดของเราผิดปกติที่ตัวไหนครับ
อันดับแรกเรามาทบทวนวิชาสุขศึกษากันก่อนบางทีเราก็อาจหลงลืมกันไปแล้ว ว่าเลือดนั้นมีความสำคัญต่อร่างกายเรามากแค่ไหน มารู้จักเลือดและส่วนประกอบของเลือดกันก่อนนะครับ เลือดประกอบด้วยสามสิ่งนี้ครับ
- น้ำเลือดเป็นของเหลวในสีเหลืองอ่อน มีน้ำและสารหลายชนิดปนอยู่เช่น สารอาหาร เอนไซม์ ฮอร์โมน แก๊ส ของเสียต่างๆ เป็นต้น
- เซลล์เม็ดเลือดมีสองชนิดคือ เม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง ซึ่งมีลักษณะและหน้าที่ต่างกันคือ
เม็ดเลือดแดง มีลักษณะกลมแบน ภายในเม็ดเลือดแดงมีเฮโมโกลบิน ซึ่งเฮโมโกลบินสามารถจับตัวและแยกตัวกับแก๊สออกชิเจนได้ เม็ดเลือดแดงจึงลำเลียงออกชิเจนไปส่วนต่างๆของร่างกายได้ เม็ดเลือดแดงมีอายุ 100-120วัน จะถูกทำลายที่ตับและม้ามโดยไขกระดูกจะสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่ขึ้นมาทดแทนครับ
เม็ดเลือดขาว ถูกสร้างที่ไขกระดูกและม้าม เม็ดเลือดขาวมีอายุ 2-3วัน เม็ดเลือดขาว มีหลายชนิด บางชนิดทำหน้าที่ จับและทำลายาเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย และบางชนิดทำหน้าที่สร้างแอนติบอดี ทำให้ร่างกาย มีภูมิคุ้มกันต่อโรค - เกล็ดเลือด ไขกระดูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยให้เลือดแข็งตัว และทำให้เลือดหยุดไหลเวลาเกิดบาดแผล
เลือดจะเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของระบบไหลเวียนเลือด ระบบไหลเวียนเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหาร ออกชิเจน ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย และนำของเสียไปยังอวัยวะที่กำจัดของเสียออกร่างกาย ที่อวัยวะตามหน้าที่ (ตับ ไต ม้าม) โดยผ่านหลอดเลือด ในระบบมีอวัยวะส่วนประกอบในการขับเคลื่อนคือ หัวใจ ปอด หลอดเลือด(หลอดเลือดแดง=>หลอดเลือดฝอย=>หลอดเลือดดำ) มาถึงตรงนี้เราพอมองเห็นภาพแล้วว่าเวลาตรวจเลือดเรามองหา จำนวนเม็ดเลือดที่เหมาะสม ขนาดรูปร่างเม็ดเลือดที่ผิดปกติ ส่วนประกอบใดอยู่ในเลือดมากหรือน้อยผิดไปจากค่าเวลาเราเป็นปกติ ก็จะช่วยคุณหมอวินิจฉัยและประเมินการเปลี่ยนแปลงความผิดปกติของอาการป่วยต่างๆได้อย่างแม่นยำครับ
มาดูตัวอย่างค่าผลการตรวจเลือดว่ามีความหมายอะไรบ้างนะครับ
____ค่าที่ได้_____หน่วย____ค่ามาตรฐานปกติ__
Blood Urea Nitrogen 13.19 mg/dL (8 – 20)
เป็นการวัดปริมาณไนโตรเจนในกระแสเลือด ร่างกายจะย่อยสลายโปรตีนที่ตับ ชั้นต้น สารของเสีย จะอยู่ในรูปของแอมโมเนีย และต่อจากแอมโมเนีย จึงสร้างเป็นสารยูเรีย และจะนำของเสียดังกล่าวนี้ไปกำจัดผ่านไต เพื่อออกเป็นปัสสาวะต่อไป หากเหลือค้างในเลือดมากอาจมองได้ว่าร่างกายขาดน้ำหรือมองอีกมุมได้ว่าไตเริ่มมีปัญหาทำงานได้ไม่เต็มที่ได้ค่า จากค่าที่เห็น 13.19 ถือว่าปกติครับ
Creatinine 0.81 mg/dL (0.6 – 1.20)
ครีอะตินีน เป็นของเสียที่เกิดจากกล้ามเนื้อ จะเกิดขึ้นทุกวัน และมีค่าคงที่ ในปริมาณเท่าๆกันทุกวัน ในแต่ละคน สารนี้จะถูกขับออกจากร่างกายผ่านไต แต่หากไตทำงานผิดปกติ หรือไตเสื่อม สารนี้จะถูกกรองที่ไตและขับออกทางปัสสาวะ หากเหลือค้างในเลือดมาก อาจมองได้ว่าไตทำงานได้ไม่เต็มที่ จากค่าที่เห็น 0.81 ถือว่าปกติครับ
________________________________________________________
Cholesterol 276 H mg/dL (<200)
คอเลสเตอรอล คือไขมันชนิดหนึ่งที่พบได้ในส่วนของผนังเซลล์ทุกเซลล์ของคนเรา รวมทั้งเป็นองค์ประกอบของ น้ำดีอีกด้วย ร่างกายของเราจะได้รับคอเลสเตอรอลจาก อาหารที่รับประทานเข้าไปจากภายนอกโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ จากสัตว์ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่สูง แต่ตับของเรา ก็สามารถสังเคราะห์คอเลสเตอรอลขึ้นเองได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นคอเลสเตอรอลที่รับประทานเข้าไปมากเกินพอจึงกลายเป็นส่วนเกินของร่างกาย
ค่าคอเลสเตอรอล รวม คือไขมันรวมของ HDL + LDL + 0.2(Triglyceride) = 276 ตอนนี้มีค่าไขมันรวมเกินอยู่ครับ
ไขมันเลว LDL วัดโดยตรงจากเลือดได้ในบางโรงพยาบาลเท่านั้น ปกติในคนทั่วไปสูงไม่เกิน 130 เป็นไขมันที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว
ไขมันดี HDL ควรจะไม่ต่ำกว่า 40 เป็นตัวเก็บกลับไขมันส่วนเกินไปยังตับหรือพูดว่าเป็นตัวป้องกันไม่ให้ไขมันที่ไม่ดี คือ LDL และ ไตรกลีเซอไรด์ ไปพอกสะสมในหลอดเลือดแดง
ดังนั้นเราหาค่า LDL โดยประมาณจาก สูตร LDL = ไขมันรวม(276)-((ไขมันดี 40) + (1ใน5ของค่าไตรกรีเซอไรด์ 0.2 x 119=23.8))
ดังนั้น LDL=276-(40+23.8)= 212.2 เทียบกับ 130 ประมาณว่าตอนนี้ไขมันใน LDL ในเลือดเกินนะครับ
จะให้แม่นยำต้องวัดจากค่า LDL และ HDL โดยตรงดีกว่าครับ
Triglyceride 119 mg/dL (<150)
ไตรกลีเซอไรด์ คือ อนุภาคไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เองในตับหรืออาจจะมาจากอาหารต่างๆที่ทานเข้าไปในแต่ละวัน ไตรกลีเซอไรด์ ได้มาจากไขมันจากสัตว์และน้ำมันพืชส่วนใหญ่ที่กินกันเข้าไป ถ้ามีมากส่งผลให้ HDL เก็บไขมันส่วนเกินในเลือดได้ไม่หมด จากค่าที่เห็น 119 ถือว่าปกติครับ
________________________________________________________
AST(SGOT) 61 H U/L (0 – 31)
เอนไซม์ Aspartate transaminase (AST) เป็นเอนไซม์ที่ใช้ช่วยตรวจวินิจฉัยภาวะโรคตับ และภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหัวใจ โดยเอนไซม์ AST พบได้มากที่ตับ และกล้ามเนื้อหัวใจ หากมีอาการตับอักเสบจากการติดเชื้อหรือจากการดื่มแอลกอฮอล์มาก หรือไขมันพอกตับ ตับจะหลั่งเอนไซม์ ASTออกมาในเลือดมากกว่าปกติ ได้ค่า 61 ดูค่า ALTด้านล่างร่วมด้วยถือว่าตอนนี้ตับมีปัญหาครับ
ALT (SGPT) 65 H U/L (0 – 34)
เอนไซม์ Alanine transaminase (ALT) คือเอนไซม์ที่ล่องลอยอยู่ในกระแสเลือดซึ่งอาจเกิดจากความเสียหายของอวัยวะใด ๆก็ได้ เอนไซม์จะทำหน้าที่ย่อยโปรตีนอยู่ในตับจะไม่ออกมาอยู่ในเลือด เมื่อตับมีปัญหาตับจะหลั่งเอนไซม์ ALT ออกมาในเลือดมากกว่าปกติ ได้ค่า 65 ถือว่าเกินเยอะเกือบสองเท่าถือว่าตอนนี้มีอะไรบางอย่างขัดขวางการทำงานของตับทำให้ตับมีปัญหาครับ
________________________________________________________
Uric acid 5.3 mg/dL (2.6 – 6.0)
กรดยูริกนี้ใช้เป็นตัวชี้วัดโรคเก๊าท์ หากเกินมากก็อาจบอกได้ว่าเสี่ยงเป็นโรคโรคเก๊าท์ ได้ค่า 5.3 ถือว่าปกติครับ
________________________________________________________
Hemoglobin A1C (HbA1C) 5.3 mg/ dL (<5.7)
HbA1C (Hemoglobin A1C) คือระน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดง เฉลี่ยตามอายุเม็ดเลือดแดงคือ 90วัน ใช้บอกภาวะเบาหวานให้ความแม่นยำสูงค่าที่ได้ 5.3 ใกล้ค่าสูงสุดตามมาตรฐานแล้วให้ระวังโรคเบาหวานนะครับ
บางโรงพยาบาล ใช้ค่า FBS ตรวจน้ำตาลในเลือด ไม่ใช่น้ำตาลสะสมที่เม็ดเลือดแดงจึงมีความแปรผันตามอาหารที่ทานก่อนมาตรวจให้ความแม่นยำน้อยกว่า
Red Blood Cells 4.53 *10^3/mm3 (4.00 – 5.50)
จำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นตัวนำพาออกชิเจนและถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์ให้เซลล์ต่างๆในร่างกาย มีน้อยไปเซลล์ต่างๆ ก็อาจขาดออกชิเจนทำให้เหนื่อยง่าย ได้ค่า 4.53 ถือว่าปกติครับ
Hemoglobin(Hb) 13.2 g/dL (12.2 – 16.2)
เป็นน้ำหนักรวมของเฮโมโกลบินซึ่งเป็นส่วนประกอบในเม็ดเลือดแดงทำหน้าที่จับและปล่อยออกซิเจน ได้ค่า 13.2 ถือว่าเป็นปกติ
Hematocrit (HCT) 40.1 % (37.7 – 48.0)
ฮีมาโทคริต คือเปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดแดงต่อปริมาณเลือดทั้งหมดได้ค่า 40.1% ถือว่าปกติครับ
Mean Cell Hemoglobin (MCH) 29.1 pq (27.0 – 32.0)
Mean Cell Hemoglobin คือ ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักฮีโมโกลบินที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดงได้ค่า 29.1 ถือว่าปกติครับ
Mean corpuscular hemoglobin concentration
(MCHC) 32.9 g/dL (32.0 – 36.0)
Mean Corpuscular Hemoglobin Concentration (MCHC) คือ ค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้ค่า 32.9 ถือว่าปกติครับ
Red Blood Cell distribution width
(RCDW) 13.7 % (9.0 – 15.0)
Red Blood Cell Distribution Width (RCDW) เป็นการวัดความกว้างของการกระจายของขนาดเม็ดเลือดแดงได้ค่า 13.7% ถือว่าปกติครับ
_________________________________________________________
White Blood Cell ค่า % คือค่าเม็ดเลือดขาวทุกชนิดรวมกัน คือ 100%
Neutrophil 39.6 L % (46.5 – 75.0)
2020 /mm3 (2000 – 7500)
นิวโตรฟิลเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดที่มีมากที่สุด ทำหน้าที่ในการป้องกันการติดเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา พิษจากสารต่าง หรือต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง ได้ค่า 39.6% และ 2020 ถือว่าค่อนไปทางน้อยไปนะครับ
Lymphocyte 47.6 H % (12.0 – 44.0)
2428 /mm3 (1500 – 4000)
เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ โดยเม็ดเลือดขาวชนิดนี้ทำหน้าที่ต่อสู้กับการติดเชื้อ และป้องกันการติดเชื้อในครั้งต่อไป ได้ค่า 47.6% ถือว่ามากแต่เป็นเพราะนิวโตรฟิลต่ำคิดเป็นอัตราส่วนจึงเหมือนเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์มากเกิน แต่ถ้าเกินมากๆ อาจเป็นเพราะมีภาวะติดเชื้อไวรัสครับ
Monocyte 6.3 % (0.0 – 11.2)
321 /mm3 (200 – 1000)
เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดที่ทำหน้าที่กำจัดจุลินทรีย์ สิ่งแปลกปลอม และเซลล์ที่ตายแล้วได้ค่า 6.3% และ 321 ถือว่าปกติครับ
Eosinophil 5.5 % (0.0 – 9.5)
281 /mm3 (40 – 700)
เม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิล เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อต่อสู้และป้องกันการติดเชื้อ ปรสิต และทำหน้าที่ควบคุมอาการให้เกิดอาการแพ้และโรคหอบหืดได้ค่า 5.5% และ 281 ถือว่าปกติครับ
______________________________________________________
Basophil 1.0 % (0.0 – 2.5)
51 /mm3 (0 – 200 )
เบโซฟิล เป็นตัวสร้างสารป้องกันมิให้เลือดในร่างกายแข็งตัว สร้างสารช่วยขยายผนังของหลอดเลือดได้ค่า 1% และ 51 ถือว่าปกติครับ
______________________________________________________
Platelet count 275 *10^3/mm3 (150 – 450)
เป็นการนับจำนวนเกล็ดเลือด บอกถึงจำนวนเกล็ดเลือด มีน้อยเกินเวลามีบาดแผลเลือดจะหยุดไหลช้า ถ้ามีมากเกินไป เกล็ดเลือดก็จะจับเป็นลิ่มเลือดในหลอดเลือดและอาจเป็นสาเหตุของหลอดเลือดตีบตันได้ได้ค่า 275 ถือว่าปกติครับ
Mean platelet volume (MPV) 11.7 fL (6.0 – 12.0)
บอกถึงค่าปริมาตรของเกล็ดเลือดเมื่อเทียบกับปริมาตรของเลือด ได้ค่า11.7 ถือว่าปกติครับ
______________________________________________________
อ้างอิงข้อมูลบางส่วน
จาก ตัวอย่างค่าผลเลือดจากลูกค้าจินตะวันเฮิร์บ
บทความการอ่านค่าเลือดของมูลนิธิหมอชาวบ้าน
ตำราเรียนสุขศึกษา ป. 6 – สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
เรียบเรียงแปลความโดย นายณัฐวัทส์ บ่างศรีวงษ์
จินตะวันเฮิร์บ สนับสนุนให้ทานอาหารเป็นยาดีกว่าทานยาเป็นอาหาร ขอให้ทานมีความสุข และสุขภาพแข็งแรงกันทุกคนครับ
ติดตามเราได้ที่ @jintawan
หรือคลิ๊ก https://line.me/R/ti/p/%40jintawan