Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the woocommerce domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/u636349088/domains/jintawanherb.com/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the broken-link-checker domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/u636349088/domains/jintawanherb.com/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the content-egg domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/u636349088/domains/jintawanherb.com/public_html/wp-includes/functions.php on line 6114
การดูค่าผลเลือด -

การดูค่าผลเลือด

          เคยได้ค่าผลตรวจเลือดกลับมาบ้าน แอบงงไม่รู้ว่าค่าต่างๆหมายถึงอะไรบ้างหรือไม่ครับ

        มักมีคนนำผลเลือดมาให้ดูว่าแล้วถามว่าค่านี้ค่านั้น หมายถึงอะไร ทานอาหารแบบนี้แบบนั้นได้ไหม และหวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกคน อย่างน้อยกลับไปหาคุณหมอคราวหน้า จะได้มีเรื่องชวนคุยกับคุณหมอนะครับ ผมก็ไปค้นคว้าหาคำตอบ มาเรียบเรียงให้ตามตัวอย่างลูกค้าของผมคนหนึ่งนะครับ เป็นการบอกความหมายตามค่าเลือด ไม่ใช่การวิเคราะห์ผลเลือดนะครับ เพราะเขามีค่ามาตรฐานให้เทียบเคียงอยู่แล้ว เราดูแค่ว่าค่าผลเลือดของเราผิดปกติที่ตัวไหนครับ

     อันดับแรกเรามาทบทวนวิชาสุขศึกษากันก่อนบางทีเราก็อาจหลงลืมกันไปแล้ว ว่าเลือดนั้นมีความสำคัญต่อร่างกายเรามากแค่ไหน มารู้จักเลือดและส่วนประกอบของเลือดกันก่อนนะครับ เลือดประกอบด้วยสามสิ่งนี้ครับ

  1. น้ำเลือดเป็นของเหลวในสีเหลืองอ่อน มีน้ำและสารหลายชนิดปนอยู่เช่น สารอาหาร เอนไซม์ ฮอร์โมน แก๊ส ของเสียต่างๆ เป็นต้น
  2. เซลล์เม็ดเลือดมีสองชนิดคือ เม็ดเลือดขาว และเม็ดเลือดแดง ซึ่งมีลักษณะและหน้าที่ต่างกันคือ
    เม็ดเลือดแดง มีลักษณะกลมแบน ภายในเม็ดเลือดแดงมีเฮโมโกลบิน ซึ่งเฮโมโกลบินสามารถจับตัวและแยกตัวกับแก๊สออกชิเจนได้ เม็ดเลือดแดงจึงลำเลียงออกชิเจนไปส่วนต่างๆของร่างกายได้ เม็ดเลือดแดงมีอายุ 100-120วัน จะถูกทำลายที่ตับและม้ามโดยไขกระดูกจะสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่ขึ้นมาทดแทนครับ
    เม็ดเลือดขาว ถูกสร้างที่ไขกระดูกและม้าม เม็ดเลือดขาวมีอายุ 2-3วัน เม็ดเลือดขาว มีหลายชนิด บางชนิดทำหน้าที่ จับและทำลายาเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย และบางชนิดทำหน้าที่สร้างแอนติบอดี ทำให้ร่างกาย มีภูมิคุ้มกันต่อโรค
  3. เกล็ดเลือด ไขกระดูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยให้เลือดแข็งตัว และทำให้เลือดหยุดไหลเวลาเกิดบาดแผล

❣ เลือดจะเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของระบบไหลเวียนเลือด ระบบไหลเวียนเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหาร ออกชิเจน ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย และนำของเสียไปยังอวัยวะที่กำจัดของเสียออกร่างกาย ที่อวัยวะตามหน้าที่ (ตับ ไต ม้าม) โดยผ่านหลอดเลือด ในระบบมีอวัยวะส่วนประกอบในการขับเคลื่อนคือ หัวใจ ปอด หลอดเลือด(หลอดเลือดแดง=>หลอดเลือดฝอย=>หลอดเลือดดำ) มาถึงตรงนี้เราพอมองเห็นภาพแล้วว่าเวลาตรวจเลือดเรามองหา จำนวนเม็ดเลือดที่เหมาะสม ขนาดรูปร่างเม็ดเลือดที่ผิดปกติ ส่วนประกอบใดอยู่ในเลือดมากหรือน้อยผิดไปจากค่าเวลาเราเป็นปกติ ก็จะช่วยคุณหมอวินิจฉัยและประเมินการเปลี่ยนแปลงความผิดปกติของอาการป่วยต่างๆได้อย่างแม่นยำครับ ❣

มาดูตัวอย่างค่าผลการตรวจเลือดว่ามีความหมายอะไรบ้างนะครับ
____ค่าที่ได้_____หน่วย____ค่ามาตรฐานปกติ__

Blood Urea Nitrogen 13.19 mg/dL (8 – 20) 
          เป็นการวัดปริมาณไนโตรเจนในกระแสเลือด ร่างกายจะย่อยสลายโปรตีนที่ตับ ชั้นต้น สารของเสีย จะอยู่ในรูปของแอมโมเนีย และต่อจากแอมโมเนีย จึงสร้างเป็นสารยูเรีย และจะนำของเสียดังกล่าวนี้ไปกำจัดผ่านไต เพื่อออกเป็นปัสสาวะต่อไป  หากเหลือค้างในเลือดมากอาจมองได้ว่าร่างกายขาดน้ำหรือมองอีกมุมได้ว่าไตเริ่มมีปัญหาทำงานได้ไม่เต็มที่ได้ค่า จากค่าที่เห็น 13.19 ถือว่าปกติครับ

Creatinine 0.81 mg/dL (0.6 – 1.20)
          ครีอะตินีน เป็นของเสียที่เกิดจากกล้ามเนื้อ จะเกิดขึ้นทุกวัน และมีค่าคงที่ ในปริมาณเท่าๆกันทุกวัน ในแต่ละคน สารนี้จะถูกขับออกจากร่างกายผ่านไต  แต่หากไตทำงานผิดปกติ หรือไตเสื่อม สารนี้จะถูกกรองที่ไตและขับออกทางปัสสาวะ หากเหลือค้างในเลือดมาก อาจมองได้ว่าไตทำงานได้ไม่เต็มที่ จากค่าที่เห็น 0.81 ถือว่าปกติครับ
________________________________________________________

Cholesterol 276 H mg/dL (<200)
         คอเลสเตอรอล คือไขมันชนิดหนึ่งที่พบได้ในส่วนของผนังเซลล์ทุกเซลล์ของคนเรา รวมทั้งเป็นองค์ประกอบของ น้ำดีอีกด้วย ร่างกายของเราจะได้รับคอเลสเตอรอลจาก อาหารที่รับประทานเข้าไปจากภายนอกโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ จากสัตว์ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่สูง แต่ตับของเรา ก็สามารถสังเคราะห์คอเลสเตอรอลขึ้นเองได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นคอเลสเตอรอลที่รับประทานเข้าไปมากเกินพอจึงกลายเป็นส่วนเกินของร่างกาย

ค่าคอเลสเตอรอล รวม คือไขมันรวมของ HDL + LDL + 0.2(Triglyceride) = 276 ตอนนี้มีค่าไขมันรวมเกินอยู่ครับ
         ไขมันเลว LDL วัดโดยตรงจากเลือดได้ในบางโรงพยาบาลเท่านั้น ปกติในคนทั่วไปสูงไม่เกิน 130 เป็นไขมันที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว
          ไขมันดี HDL ควรจะไม่ต่ำกว่า 40 เป็นตัวเก็บกลับไขมันส่วนเกินไปยังตับหรือพูดว่าเป็นตัวป้องกันไม่ให้ไขมันที่ไม่ดี คือ LDL และ ไตรกลีเซอไรด์ ไปพอกสะสมในหลอดเลือดแดง 
     ดังนั้นเราหาค่า LDL โดยประมาณจาก สูตร LDL = ไขมันรวม(276)-((ไขมันดี 40) + (1ใน5ของค่าไตรกรีเซอไรด์ 0.2 x 119=23.8)) 
     ดังนั้น LDL=276-(40+23.8)= 212.2 เทียบกับ 130 ประมาณว่าตอนนี้ไขมันใน LDL ในเลือดเกินนะครับ
จะให้แม่นยำต้องวัดจากค่า LDL และ HDL โดยตรงดีกว่าครับ

Triglyceride 119 mg/dL (<150) 
          ไตรกลีเซอไรด์ คือ อนุภาคไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เองในตับหรืออาจจะมาจากอาหารต่างๆที่ทานเข้าไปในแต่ละวัน  ไตรกลีเซอไรด์ ได้มาจากไขมันจากสัตว์และน้ำมันพืชส่วนใหญ่ที่กินกันเข้าไป ถ้ามีมากส่งผลให้ HDL เก็บไขมันส่วนเกินในเลือดได้ไม่หมด จากค่าที่เห็น 119  ถือว่าปกติครับ

________________________________________________________

AST(SGOT) 61 H U/L (0 – 31)
           เอนไซม์ Aspartate transaminase (AST) เป็นเอนไซม์ที่ใช้ช่วยตรวจวินิจฉัยภาวะโรคตับ และภาวะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหัวใจ โดยเอนไซม์ AST พบได้มากที่ตับ และกล้ามเนื้อหัวใจ   หากมีอาการตับอักเสบจากการติดเชื้อหรือจากการดื่มแอลกอฮอล์มาก หรือไขมันพอกตับ ตับจะหลั่งเอนไซม์ ASTออกมาในเลือดมากกว่าปกติ ได้ค่า 61 ดูค่า ALTด้านล่างร่วมด้วยถือว่าตอนนี้ตับมีปัญหาครับ

ALT (SGPT) 65 H U/L (0 – 34)
          เอนไซม์ Alanine transaminase (ALT) คือเอนไซม์ที่ล่องลอยอยู่ในกระแสเลือดซึ่งอาจเกิดจากความเสียหายของอวัยวะใด ๆก็ได้ เอนไซม์จะทำหน้าที่ย่อยโปรตีนอยู่ในตับจะไม่ออกมาอยู่ในเลือด เมื่อตับมีปัญหาตับจะหลั่งเอนไซม์ ALT ออกมาในเลือดมากกว่าปกติ ได้ค่า 65 ถือว่าเกินเยอะเกือบสองเท่าถือว่าตอนนี้มีอะไรบางอย่างขัดขวางการทำงานของตับทำให้ตับมีปัญหาครับ

________________________________________________________

Uric acid 5.3 mg/dL (2.6 – 6.0)
          กรดยูริกนี้ใช้เป็นตัวชี้วัดโรคเก๊าท์ หากเกินมากก็อาจบอกได้ว่าเสี่ยงเป็นโรคโรคเก๊าท์ ได้ค่า 5.3 ถือว่าปกติครับ

________________________________________________________
Hemoglobin A1C (HbA1C) 5.3 mg/ dL (<5.7)
          HbA1C (Hemoglobin A1C) คือระน้ำตาลสะสมในเม็ดเลือดแดง เฉลี่ยตามอายุเม็ดเลือดแดงคือ 90วัน ใช้บอกภาวะเบาหวานให้ความแม่นยำสูงค่าที่ได้ 5.3 ใกล้ค่าสูงสุดตามมาตรฐานแล้วให้ระวังโรคเบาหวานนะครับ
บางโรงพยาบาล ใช้ค่า FBS ตรวจน้ำตาลในเลือด ไม่ใช่น้ำตาลสะสมที่เม็ดเลือดแดงจึงมีความแปรผันตามอาหารที่ทานก่อนมาตรวจให้ความแม่นยำน้อยกว่า

Red Blood Cells 4.53 *10^3/mm3 (4.00 – 5.50)
         จำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นตัวนำพาออกชิเจนและถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์ให้เซลล์ต่างๆในร่างกาย มีน้อยไปเซลล์ต่างๆ ก็อาจขาดออกชิเจนทำให้เหนื่อยง่าย ได้ค่า 4.53 ถือว่าปกติครับ

Hemoglobin(Hb) 13.2 g/dL (12.2 – 16.2)
          เป็นน้ำหนักรวมของเฮโมโกลบินซึ่งเป็นส่วนประกอบในเม็ดเลือดแดงทำหน้าที่จับและปล่อยออกซิเจน ได้ค่า 13.2 ถือว่าเป็นปกติ

Hematocrit (HCT) 40.1 % (37.7 – 48.0) 
          ฮีมาโทคริต คือเปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดแดงต่อปริมาณเลือดทั้งหมดได้ค่า 40.1% ถือว่าปกติครับ

Mean Cell Hemoglobin (MCH) 29.1 pq (27.0 – 32.0)
          Mean Cell Hemoglobin คือ ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักฮีโมโกลบินที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดงได้ค่า 29.1 ถือว่าปกติครับ

Mean corpuscular hemoglobin concentration
(MCHC) 32.9 g/dL (32.0 – 36.0) 
          Mean Corpuscular Hemoglobin Concentration (MCHC) คือ ค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้ค่า 32.9 ถือว่าปกติครับ

Red Blood Cell distribution width
(RCDW) 13.7 % (9.0 – 15.0) 
          Red Blood Cell Distribution Width (RCDW) เป็นการวัดความกว้างของการกระจายของขนาดเม็ดเลือดแดงได้ค่า 13.7% ถือว่าปกติครับ

_________________________________________________________

White Blood Cell ค่า % คือค่าเม็ดเลือดขาวทุกชนิดรวมกัน คือ 100%
Neutrophil 39.6 L % (46.5 – 75.0) 
2020 /mm3 (2000 – 7500)
          นิวโตรฟิลเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดที่มีมากที่สุด ทำหน้าที่ในการป้องกันการติดเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา พิษจากสารต่าง หรือต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง ได้ค่า 39.6% และ 2020 ถือว่าค่อนไปทางน้อยไปนะครับ

Lymphocyte 47.6 H % (12.0 – 44.0) 
2428 /mm3 (1500 – 4000)
          เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ โดยเม็ดเลือดขาวชนิดนี้ทำหน้าที่ต่อสู้กับการติดเชื้อ และป้องกันการติดเชื้อในครั้งต่อไป ได้ค่า 47.6% ถือว่ามากแต่เป็นเพราะนิวโตรฟิลต่ำคิดเป็นอัตราส่วนจึงเหมือนเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์มากเกิน แต่ถ้าเกินมากๆ อาจเป็นเพราะมีภาวะติดเชื้อไวรัสครับ  

Monocyte 6.3 % (0.0 – 11.2) 
321 /mm3 (200 – 1000)
          เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดที่ทำหน้าที่กำจัดจุลินทรีย์ สิ่งแปลกปลอม และเซลล์ที่ตายแล้วได้ค่า 6.3% และ 321 ถือว่าปกติครับ

Eosinophil 5.5 % (0.0 – 9.5) 
281 /mm3 (40 – 700)
          เม็ดเลือดขาวชนิดอีโอซิโนฟิล เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อต่อสู้และป้องกันการติดเชื้อ ปรสิต และทำหน้าที่ควบคุมอาการให้เกิดอาการแพ้และโรคหอบหืดได้ค่า 5.5% และ 281 ถือว่าปกติครับ

______________________________________________________

Basophil 1.0 % (0.0 – 2.5) 
51 /mm3 (0 – 200 )
          เบโซฟิล เป็นตัวสร้างสารป้องกันมิให้เลือดในร่างกายแข็งตัว สร้างสารช่วยขยายผนังของหลอดเลือดได้ค่า 1% และ 51 ถือว่าปกติครับ

______________________________________________________

Platelet count 275 *10^3/mm3 (150 – 450) 
          เป็นการนับจำนวนเกล็ดเลือด บอกถึงจำนวนเกล็ดเลือด มีน้อยเกินเวลามีบาดแผลเลือดจะหยุดไหลช้า ถ้ามีมากเกินไป เกล็ดเลือดก็จะจับเป็นลิ่มเลือดในหลอดเลือดและอาจเป็นสาเหตุของหลอดเลือดตีบตันได้ได้ค่า 275 ถือว่าปกติครับ

Mean platelet volume (MPV) 11.7 fL (6.0 – 12.0) 
          บอกถึงค่าปริมาตรของเกล็ดเลือดเมื่อเทียบกับปริมาตรของเลือด ได้ค่า11.7 ถือว่าปกติครับ

______________________________________________________

อ้างอิงข้อมูลบางส่วน

จาก ตัวอย่างค่าผลเลือดจากลูกค้าจินตะวันเฮิร์บ
บทความการอ่านค่าเลือดของมูลนิธิหมอชาวบ้าน
ตำราเรียนสุขศึกษา ป. 6 – สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
เรียบเรียงแปลความโดย นายณัฐวัทส์ บ่างศรีวงษ์
จินตะวันเฮิร์บ สนับสนุนให้ทานอาหารเป็นยาดีกว่าทานยาเป็นอาหาร ขอให้ทานมีความสุข และสุขภาพแข็งแรงกันทุกคนครับ🙏
ติดตามเราได้ที่ @jintawan 
หรือคลิ๊ก https://line.me/R/ti/p/%40jintawan

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *