ระบบการทำงานของร่างกายการทำงานของร่างกายตามแนวทางแพทย์แผนไทย
ตามทฤษฎีการแพทย์ไทย กล่าวว่า คนเราเกิดมาในร่างกายประกอบด้วยธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งในแต่ละคนจะมีธาตุหลักเป็นธาตุประจำตัว เรียกว่า “ธาตุเจ้าเรือน” ซึ่งธาตุเจ้าเรือนนี้มี 2 ลักษณะ คือ ธาตุเจ้าเรือนเกิด ซึ่งจะเป็นไปตาม วันเดือนปีเกิด และธาตุเจ้าเรือนปัจจุบัน ที่พิจารณาจากบุคลิกลักษณะ อุปนิสัยและภาวะด้านสุขภาพ
เมื่อร่างกายเราประกอบด้วยธาตุสี่ธาตุ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ได้มารวมกันแล้ว ยังจะเกิดช่องว่างอยู่ระหว่างการรวมตัวของธาตุทั้งสี่นั่นคืออากาศธาตุ ซึ่งเป็นธาตุที่มีไม่มีความหนาแน่น (อากาศธาตุเป็นปลายทางของพลังงานเพราะไม่มีศักย์ใดๆ) มาดูกันครับว่าแต่ละธาตุทำหน้าที่อะไรกันบ้าง
ธาตุดิน (สมุนไพรประจำกำลังธาตุคือผลดีปลี) คือ องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะมีความคงรูป เช่น อวัยวะต่าง ๆ ธาตุดิน มี 20 ประการ ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เส้นเอ็น กระดูก เนื้อเยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังพืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย เยื่อในสมอง อาหารใหม่ อาหารเก่า (อาหารใหม่คือลมหายใจและสารอาหาร หมายถึงสิ่งที่ร่างกายมนุษย์จำเป็นต้องใช้ ต้องได้รับ ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่จนคลอดออกมา เพื่อการมีชีวิตอยู่ อาหารเก่าหมายถึงอาหารใหม่ที่ถูกย่อยและจำแนกว่าเป็นของไม่มีประโยชน์แล้ว หรือ เป็นสารพิษเพื่อทำการทำลายและขับถ่ายต่อไป) ดินจะคงอยู่ ให้พลังงาน ไฟ และ ลม ผลักดันผ่านตัวกลางคือ น้ำ เป็นตัวนำพาไปสู่ขบวนการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายและการหมุนเวียนสิ่งที่ดีและไม่ดีเข้าออกร่างกาย เพื่อนำไปสู่การมีชีวิตอยู่อย่างปกติสุข
ธาตุน้ำ(สมุนไพรประจำกำลังธาตุคือรากช้าพลู) คือองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเป็นน้ำ เป็นของเหลว มีคุณสมบัติ ไหลไปไหลมา ซึมซับไปในร่างกาย อาศัยธาตุดินเพื่อการคงอยู่ อาศัยธาตุลมเพื่อการเลื่อนไหล ธาตุน้ำภายในมี 12 ประการ ได้แก่ น้ำดี เสลด น้ำหนอง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำปัสสาวะ (ระบบไหลเวียนต่างๆในร่างกาย)
ธาตุลม(สมุนไพรประจำกำลังธาตุคือเถาสะค้าน) คือองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตที่มีความเบา มีลักษณะเคลื่อนไหวได้ ธาตุลมอาศัยธาตุไฟและธาตุน้ำ เป็นเครื่องนำพาพลังให้เกิดความเคลื่อนไหว ขณะเดียวกันธาตุลม ก็ช่วยพยุงธาตุดิน ทำให้เคลื่อนไหวไปมาได้ (ระบบควบคุมหรือระบบประสาท) เช่น การยืน เดิน นั่ง นอน ธาตุลมมี 6 ประการ(แบ่งเป็นลมละเอียดที่ใช้ควบคุมและลมหยาบที่เกิดขึ้นจากระบบหายใจหรือลมในลำไส้)
-
- ลมพัดจากเบื้อล่างสู่เบื้องบน (อุทธังคมาวาตา) รับรู้ความรู้สึกส่งไปยังสมอง
-
- ลมพัดจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง (อโธคมาวาตา) สมองรับความรู้สึกและสั่งการ
-
- ลมพัดอยู่ในท้องนอกลำไส้ (กุจฉิสยาวาตา) ลมที่ใช้บีบรัดผนังท่อลำไส้ ลำเลียงอาหารใหม่-เก่า และท่อกรวยไตบีบรินน้ำเสียไปยัง กระเพาะปัสสาวะ
- ลมพัดในกระเพราะอาหารและลำไส้ (โกฎฐาสยาวาตา) ลมที่เกิดจากการย่อยอาหารไม่สมบูรณ์ เกิดของเสียในไส้
- ลมพัดทั่วร่างกาย (อังคะมังคานุสารีวาตา) ลมที่ไปสู่ทุกส่วนของร่างกาย
- ลมหายใจเข้าออก (อัสสาสะปัสสาสะวาตา) ลมที่รับเข้าทางหลอดลม(ลมเข้าคืออาหารใหม่เพื่อรับอ๊อกชิเจนO2)ออกทางหลอดลม(ลมออกคืออาหารเก่าเพื่อระบายคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ CO2)
ธาตุไฟ (สมุนไพรประจำกำลังธาตุคือรากเจตมูลเพลิง) คือ องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต มีลักษณะที่เป็นความร้อน มีคุณสมบัติ เผาผลาญให้แหลกสลาย ธาตุไฟทำให้ลมและน้ำในร่างกายเคลื่อนที่ด้วยพลังความร้อนอันพอเหมาะ ไฟทำให้ดินอุ่น คืออวัยวะต่างๆไม่เน่า ธาตุไฟมี 4 ประการคือ ไฟที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น (สันตัปปัคคี) ปกติร่างกายอุณหภูมิ 37องศาเซลเซียส
- ไฟที่ทำให้ระส่ำระสาย (ปริทัยหัคคี) ชื่อเรียกไฟที่มากมากเกินหรือน้อยเกิน อุณหภูมิแวดล้อมต่ำมากนี้ระบบลมอัตโนมัติ(ประสาท)จะสั่นกล้ามเนื้อ(เวลาหนาวเราจะตัวสั่น)ให้ร่างกายอุ่นขึ้น ตรงข้ามหากอุณหภูมิร่างกายสูงเช่นขณะตอนเล่นกีฬาออกกำลังกายไฟมากเกินอุณหภูมิร่างกายสูง ระบบลม อัตโนมัติ (ประสาท)จะระบายความร้อนด้วยน้ำเหงื่อ ผ่านรูขมขน
- ไฟที่ทำให้ร่างกายเหี่ยวแห้งทรุดโทรม (ชิรณัคคี) หากอยู่ในวัยเด็กไฟนี้จะทำให้เรากลายเป็นหนุ่มสาว
- ไฟย่อยอาหาร (ปริณามัคคี) ที่ตั้งอยู่ที่ตับ ไปทำงานที่ กระเพาะ ลำไส้
ธาตุอากาศ(สมุนไพรประจำกำลังธาตุคือเหง้าขิง) คือช่องว่างของการรวมกันของธาตุต่างๆ ที่มีขนาดใหญ่สุดที่เรามองเห็นได้ สำหรับผู้ชาย ก็คือ ทวารทั้ง 9 สำหรับผู้หญิง ก็คือ ทวารทั้ง 10 นั้นเอง
การมี พลังงานใดมากเกินไป เราจะเรียกว่า กำเริบ และ พลังงานใด น้อยเกินไปจะเรียกว่า หย่อน ก็จะแสดงอาการต่างๆหากปล่อยให้ดำเนินไปไม่แก้ไขปรับเปลี่ยนรักษา ให้เกิดสมดุลธาตุ ในที่สุดก็จะป่วยเป็นโรคต่างๆถึงตรงนี้เราเรียกว่า พิการ และโรคกระทำต่อธาตุดินแต่ส่วนใดพิการ ก็ได้ชื่อโรค ตามแต่ตำราหรือคัมภีร์ ได้สมมุติชื่อขึ้น
การรักษาสุขภาพร่างกายให้สมดุลขณะที่ร่างกายเข้าสู่วัยเสื่อมถอย นั้นทำได้ดังนี้
1) กินอาหารหลากหลายกินสมดุลลดส่วนเกินที่จะเป็นโทษต่อร่างกาย (เสริมธาตุดินให้แข็งแรง)
2) เพิ่มทานผัก ผลไม้เพื่อช่วยย่อยได้ง่ายและขับถ่ายของเสียออกตามทวาร(อากาศธาตุช่องว่างของร่างกาย)ได้ดีขึ้น
3) ลดอาหารหวานมันเค็มเพื่อลดภาระการทำงานของไฟธาตุ ตับและไต(ตับที่ตั้งของธาตุไฟที่ใหญ่ที่สุด) ที่อ่อนกำลังตามอายุที่มากขึ้น
4) ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอให้เหมาะกับวัยเพื่อให้หัวใจแข็งแรงกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและน้ำเหลือง เสมหะ(ให้ธาตุลมผลักดันธาตุน้ำลื่นไหลไปส่งสารอาหารทั่วร่างกายและน้ำเหลืองไปกำจัดเชื้อโรค)ไหลเวียนดี
5) ทำใจคิดบวกเพื่อลดความเครียดและลดการทำงานของหัวใจ ให้ควบคุมหทัยวาตะ (ฝึกระบบควบคุมของร่างกาย ธาตุลม) ทำงานอย่างปกติ
6) พักผ่อนให้เพียงพอนอนก่อนสี่ทุ่มให้ร่างกายได้ซ่อมแซม และเวลาพักผ่อนคือเวลาให้ร่างการได้พื้นและกระตุ้นขบวนกาทำงานระบบต่างๆของร่างกาย
ทั้งหมดเพื่อให้ ปิตตะ(ไฟ) วาตะ(ลม) เสมหะ(น้ำ) ทำอยู่ร่วมกัน ควบคุมกัน ส่งเสริมกัน ทำงานไปด้วยกันได้ดี ตามธรรมชาติ เพื่อชะลอความเสื่อมของร่างกายและลดโรคในกลุ่ม NCD (Non Communicable Diseases) โรคความดันสูง โรคเบาหวาน เส้นเลือดอุดตัน หัวใจขาดเลือดและ โรคอ้วน
เรียบเรียงและแปลความโดย นายณัฐวัทส์ บ่างศรีวงษ์
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจากหนังสือ ตำราแพทย์แผนโบราณสาขาเวชกรรม โดย กองการประกอบโรคศิลปะกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
#จินตะวัน ขอให้มีสุขภาพแข็งแรงมีความสุขทั่วหน้าครับ
สอบถามเพิ่มเติมได้เรื่อง ธาตุเจ้าเรือนของท่านที่ได้ติดตัวมาแต่เกิด เทียบกับสมดุลธาตุปัจจุบันของท่านเพื่อวิเคราะห์จุดอ่อนสุขภาพได้โดย
ติดตาม จินตะวัน เฮิร์บ ติดตามเราได้ที่ line: @jintawan
https://line.me/R/ti/p/%40jintawan
Facebook page: https://www.facebook.com/JINTAWANHERB/
โทรศัพท์ 096-678-9911/ 096-693-9944 / 088-251-9641